ประชาชนตื่น หลังมีข่าวนักวิทย์ย้อนเวลาอนุภาคในควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ MIT แย้ง “ไม่จริง”

เพื่อนๆ คิดว่ามนุษย์เรานั้นจะในอนาคตจะสามารถสร้างเครื่องมือย้อนเวลาหรือ “ไทม์แมชชีน” ขึ้นมาได้ไหม และหากสร้างขึ้นได้ เราจะสร้างมันขึ้นมาได้เมื่อไหร่กัน

 

 

เพราะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมานี้เองได้มีข่าวที่ว่านักวิทยาศาสตร์ของทางสถาบันฟิสิกส์และเทคโนโลยีแห่งมอสโก (หรือ “MIPT”)

สามารถทำการย้อนเวลา “อนุภาค” ภายในควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “Qubits” ได้สำเร็จ และถูกประกาศออกมาโดยสื่อหลายแห่งในต่างประเทศ

 

มันคืออะไรกันนะ!?

นี่เป็นการทดลองที่เกิดขึ้นโดยการจำลองอนุภาคอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถกระจายตัวไปได้ในรูปแบบที่หลากหลาย

ก่อนที่จะใช้ “ปัจจัยภายนอก” ในการทำให้อนุภาคเหล่านั้นกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยใช้กลุ่มข้อมูลที่อาจจะแสดงผลเป็นเลข “หนึ่ง” เลข “ศูนย์” หรือตัวเลขที่ผสมกัน

ทางสื่อต่างประเทศอธิบายว่า การทดลองนี้ก็คล้ายกับการแทงสนุกเกอร์ไปอยู่ในตำแหน่งมั่วๆ ในการแทงครั้งแรก และทำให้ลูกสนุกกลับไปอยู่ที่เดิมโดยการกลิ้งย้อนกลับโดยไม่ใช้มือจับ

 

 

โดยทางนักวิจัยได้ออกมาอ้างว่าหากมี Qubits สองหน่วยพวกเขาจะสามารถ “ย้อนเวลา” ได้สำเร็จถึง 85%  แต่หากมี Qubits สามหน่วยความผิดพลาดจะมากขึ้นทำให้พวกเขาย้อนเวลาสำเร็จเพียง 50%

แน่นอนว่าเมื่อผลการทดลองนี้ถูกนำเสนอไปก็มีประชาชนที่ให้ความสนใจกับผลการทดลองที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามทางนิตยสาร MIT Technology Review ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ได้ออกมาบอกว่างานวิจัยชิ้นนี้นั้นไม่สามารถนำมาอ้างว่าทำการย้อนเวลาได้จริงๆ เลย

 

 

นั่นเพราะอย่างที่บอกไปว่างานวิจัยในครั้งนี้เป็นเพียงการจำลองด้วยกลุ่มข้อมูลตัวเลขเท่านั้น แถมยังทำการทดลองในสื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต่างไปจากบนโลกจริงๆ

และแม้ว่าจะน่าสนใจในฐานะระบบทดสอบควอนตัมโปรแกรม แต่ก็ไม่ใช่ไทม์แมชชีนจริงๆ อย่างแน่นอน

 

เพราะหากจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆ การทดลองในครั้งนี้ก็จริงๆ แล้วไม่ได้คล้ายกับการแทงสนุกเกอร์ แต่เป็นเพียงการสุ่มตัวเลขกลุ่มหนึ่ง และทำให้ตัวเลขกลับไปเป็นเลขกลุ่มเดิมหลังจากปล่อยให้เลขสุ่มไปมั่วๆ ด้วยโปรแกรมก็เท่านั้น

(ซึ่งเอาจริงๆ เรื่องนี้ในงานวิจัยของ MIPT เองก็ระบุไว้เช่นกัน)

 

 

ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงไม่สามารถต่อยอดไปเป็นไทม์แมชชีน หรือทฤษฎีเกี่ยวกับการย้อนเวลาได้จริงๆ เป็นแน่ และความหวังที่จะได้เห็นการย้อนเวลาในสักวันก็คงเป็นสิ่งที่พวกเราต้องรอกันต่อไป

 

ที่มา dailymaillivescience และ technologyreview

Comments

Leave a Reply