ในช่วงยุควิกตอเรีย การที่นโปเลียนบุกไปถึงอียิปต์ได้ทำให้ชาวยุโรปได้มีโอกาสพบกับวัฒนธรรมที่ยาวนานของอียิปต์ในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ถึงอย่างนั้นมัมมี่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศนี้กลับมักจะไม่ได้รับความเคารพจากชาวยุโรปเท่าที่ควรเลย
นั่นเป็นเหตุผลที่ในช่วงเวลานี้ เราจะสามารถเห็นมัมมี่ถูกนำไปขายข้างถนนราวกับเป็นของฝากอยู่เสมอ และส่งผลให้จำนวนมัมมี่ของอียิปต์ลดลงไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วงศตวรรษที่ 18-19
การขายมัมมี่ข้างถนน 1865
เหตุผลที่ชาวยุโรปซื้อมัมมี่ไปนั้นมีอยู่หากหลายตั้งแต่การใช้ในงานปาร์ตี้สุดแปลกที่ชื่อ “Mummy Unwrapping Parties” หรืองานเลี้ยงแกะผ้าห่อมัมมี่ ซึ่งก็แน่นอนว่ามีการแกะผ้าห่อศพของมัมมี่โชว์สมชื่องาน
นอกจากนี้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในยุโรปยังมีความเชื่อสุดแปลกเกิดขึ้น โดยคนในสมัยนั้นจะนำร่างของมัมมี่ที่ได้มาไปบดจนเป็นผง และใช้บริโภคเป็นยา แถมยังเป็นที่นิยมเอามากๆ จนมีการทำมัมมี่ปลอมที่ทำจากคนจนหรือคนไร้บ้านที่ตายบนถนน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการเลย (ซึ่งคงไม่ต้องพูดขึ้นเรื่องสุขอนามัย)
ภาพวาดงานเลี้ยงแกะผ้าห่อมัมมี่
วิธีการทำมัมมี่ปลอมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละที่แต่โดยมากแล้วจะทำโดยการเอาศพไปฝังในทรายหรือไม่ก็ยัดบิทูเมน (ยางมะตอย) ก่อนที่จะปล่อยตากแดดเอาไว้
ต่อมาเมื่อทางยุโรปเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม แทนที่จะเอาไปบดทาน มัมมี่ของอียิปต์ก็ถูกนำไปใช้งานอย่างอื่นแทน โดยในช่วงเวลานี้ ร่างของมัมมี่จะถูกบดส่งไปยังอังกฤษและเยอรมนีเพื่อให้เป็นปุ๋ย หรือไม่ก็ทำเป็นผงสีที่ชื่อ “น้ำตาลมัมมี่” แถมในอียิปต์เองก็มีข่าวลือว่ามัมมี่ถูกเผาเป็นเชื้อเพลิงหัวรถจักรด้วย
นับว่าโชคดีมากที่หลังจากนั้นไม่นานมัมมี่ก็เริ่มถูกเห็นค่าในฐานะของแสดงและสะสมจนมีนักสะสมจำนวนมากซื้อเก็บไว้ในราคาสูง จนการทำลายมัมมี่มีน้อยลงกว่าที่เคยเป็น
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าคนทุกคนจะสามารถซื้อมัมมี่ทั้งร่างได้ในยุคนี้ตลาดมืดจึงมักจะหั่นร่างของมัมมี่เพื่อแยกขายซึ่งก็นับว่าเป็นการทำลายวัตถุโบราณอยู่ดี
และแม้ว่าในปัจจุบันมัมมี่จะได้รับการคุ้มครองที่ดีขึ้นมากก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าการหั่นมัมมี่ขายในตลาดมืดนั้นก็ยังคงมีให้เห็นอยู่เป็นช่วงๆ อยู่ดี
การแอบขนชิ้นส่วนมัมมี่ในปี 2019
ที่มา rarehistoricalphotos, atlasobscura และ allthatsinteresting
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.