ชม “เครื่องพิมพ์โน้ตคีตัน” เครื่องพิมพ์ดีดสุดแปลกของนักดนตรีแห่งศตวรรษที่ 20

เป็นเรื่องที่ทราบกันว่า “โน้ตดนตรี” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเหล่านักดนตรีมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่อารยธรรมแรกๆ ของโลก ก่อนที่จะพัฒนามาอย่างปัจจุบัน

ว่าแต่เพื่อนๆ เคยสงสัยไหมว่าเจ้าโน้ตดนตรีซึ่งมีรูปร่างที่แปลกๆ แถมยังต้องพิมพ์ในระดับความสูงที่แตกต่างนี้ ในอดีตเขาพิมพ์มันลงไปบนกระดาษได้อย่างไรกัน

 

 

แน่นอนว่าในสมัยก่อนนั้นการเขียนตัวโน้ตลงในกระดาษมักจะต้องเขียนกันด้วยมือ อย่างไรก็ตามเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 การพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างเครื่องพิมพ์ดีดก็เริ่มที่จะแพร่หลายขึ้น และมีการใช้งานในชีวิตประจำวันของคนในแทบทุกสายงานอาชีพ

ในช่วงเวลาที่ Robert H. Keaton ได้ทำการคิดค้นเครื่องพิมพ์ดีดแบบใหม่ขึ้น เพื่อให้นักดนตรีสามารถเขียนโน้ตดนตรีลงบนกระดาษได้ง่ายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

 

 

นี่คือเครื่องพิมพ์ดีดแบบพิเศษที่มีชื่อว่า “The Keaton Music Typewriter” หรือ “เครื่องพิมพ์โน้ตคีตัน” อุปกรณ์หน้าตาสุดแปลกที่มีการออกแบบมาเพื่อพิมพ์โน้ตดนตรีอย่างรวดเร็วและชัดเจน ซึ่งใช้งานกับครั้งแรกในปี 1936

เครื่องพิมพ์โน้ตคีตันในช่วงแรกๆ เป็นเครื่องพิมพ์ดีดที่มีสัญลักษณ์ต่างๆ เกี่ยวกับดนตรี 14 แบบ ก่อนที่จะมีการเพิ่มสัญลักษณ์ที่พิมพ์ได้เป็น 33 แบบ และพัฒนาระบบใหม่จนสมบูรณ์ในปี 1953

 

เครื่องพิมพ์โน้ตคีตันรุ่นแรกๆ

 

ในช่วงเวลานั้นเครื่องพิมพ์โน้ตคีตันถูกออกแบบมาเพื่อให้พิมพ์ตัวโน๊ตได้อย่างชัดเจนและแม่นยำที่สุดดังนั้นมันจึงถูกออกแบบมาให้เป็นรูปวงกลม ซึ่งต่างไปจากรูปร่างของเครื่องพิมพ์ดีดทั่วๆ ไปเป็นอย่างยิ่ง

ในปี 1953 เครื่องพิมพ์โน้ตคีตันถูกวางขายในราคาราวๆ 255 เหรียญสหรัฐ (ราวๆ 76,000 บาทเมื่อเทียบเป็นค่าเงินในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างแพง ทำให้นักแต่งเพลงหลายคนในช่วงนี้ยังคงใช้วิธีเขียนตัวโน๊ตด้วยมือกันต่อไป

 

 

นั่นทำให้เป้าหมายหลักของเครื่องพิมพ์เปลี่ยนไปอยู่ที่กลุ่มสำนักพิมพ์ ครูอาจารย์ และนักดนตรีที่ต้องการความแม่นยำของตัวโน้ตสูง

น่าเสียดายที่เราไม่อาจจะทราบได้ว่าในท้ายที่สุด เครื่องพิมพ์นี้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์หรือไม่ แต่ด้วยความแปลกประหลาดของมัน เครื่องพิมพ์โน้ตคีตันในปัจจุบันก็กลายเป็นอุปกรณ์ที่นักสะสมตามหากันจนทำให้ราคาในการประมูลพุ่งขึ้นไปถึง 190,000-380,000 บาทเลย

 

วิดีโอการใช้งานเครื่องพิมพ์โน้ตคีตัน โดยช่อง pbuttner

ที่มา boredpandamusicprintinghistory

Comments

Leave a Reply