“สามอเมริกัน” ภาพถ่ายชิ้นแรก ที่เผยแพร่ความตายของทหารสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลก

ในช่วงเวลาที่สหรัฐฯ เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองใหม่ๆ ทางประเทศได้มีการขอความร่วมมือไม่ให้นักข่าวสงครามนำภาพความตายของทหารสหรัฐฯ กลับไปเผยแพร่ในประเทศ เนื่องจากความกลัวว่าประชาชนจะไม่สนับสนุนสงครามอีกต่อไป

อย่างไรก็ตามในยุทธการที่กัวดัลคะแนล บนหาดบูนาได้มีช่างภาพคนหนึ่งตัดสินใจถ่ายภาพความโหดร้ายของสงครามกลับไปเผยแพร่ในประเทศจนได้ และในเวลาต่อมา ภาพของเขามันก็จะกลายเป็นตำนานไป

 

 

นี่คือภาพ “ชาวอเมริกันสามคนเสียชีวิตบนชายหาดบูนา” (Three dead Americans lie on the beach at Buna) หรือ “สามอเมริกัน” (Three Americans) ภาพที่มีชื่อง่ายๆ ตรงๆ ของทหารไม่ทราบนามสามนาย ที่เสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติการ และนอนแน่นิ่งอยู่บนหาดอย่างน่าปวดใจ

ภาพที่ว่านี้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในนิตยสาร Life เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1943 ซึ่งถูกเก็บภาพไว้โดยช่างภาพชื่อ George Strock

แต่แม้ว่าภาพนี้จะมีชื่อง่ายๆ ก็ตามแต่กว่าที่มันจะออกมาสู่สายตาประชาชนได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะทางคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์ (กองเซนเซอร์) ของสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ได้มีการสั่งยับยั้งการตีพิมพ์ภาพดังกล่าวในหนังสืออย่างเด็ดขาด

 

การรบที่หาดบูนานั้น มีทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งจากฝั่งสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จนที่แห่งนี้ได้ชื่อเล่นว่า “หาดนอน” โดยทหารฝั่งสัมพันธมิตรเลย

 

ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการโต้เถียงกับระหว่างสื่อและภาครัฐขึ้นจนเรื่องที่เกิดขึ้นถูกส่งเข้าทำเนียบขาวเพื่อทำการตัดสินเลย และก็เป็นประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ นั่นเองที่ลงนามอนุญาตให้ภาพดังกล่าวนี้ได้ตีพิมพ์

แน่นอนว่าเช่นเดียวกับที่สื่อกับภาครัฐเห็นไม่ตรงกัน ในตอนที่ภาพนี้ถูกเผยแพร่ออกไปเองความเห็นอย่างประชาชนก็แบ่งเป็นสองฝ่ายเช่นกัน โดยมีทั้งฝั่งที่รับไม่ได้ที่ต้องเห็นภาพเหล่านี้ และฝั่งที่เชื่อว่านี่เป็นความจริงของสงครามที่คนควรจะได้เห็น

 

 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามทางสื่อก็ออกมายืนยันว่าภาพนี่คือสิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจได้ดีที่สุดว่าเราต้องเสียอะไรไปบ้างเพื่อให้ได้ชัยชนะมา และแม้ว่าภาพลักษณ์ของกองทัพจะเสียไปบ้างก็ตาม แต่ยอดคนซื้อธนบัตรสนับสนุนกองทัพหลังจากภาพนี้ออกมาเองก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยเช่นกัน

และที่สำคัญ นี่คือภาพที่ช่วยให้ประชาชนได้เห็นความเลวร้ายของสงครามที่หลายๆ คนพยายามจะไม่นึกถึงได้เป็นอย่างดี และเป็นภาพที่ทำให้การปิดกั้นข้อมูลความสูญเสียของสงครามหายไปในเวลาเดียวกัน

 

ที่มา vintag และ rarehistoricalphotos

Comments

Leave a Reply