ย้อนรอย “เข็มกลัดทารา” งานฝีมือแห่งไอร์แลนด์ที่แม้แต่ราชินีวิกตอเรียก็อยากได้ไว้ครอบครอง

เคยได้ยินเรื่อง “เข็มกลัดทารา” กันมาก่อนไหม นี่เป็นหนึ่งในงานฝีมือโลหะที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของไอร์แลนด์เลยก็ว่าได้

 

 

เจ้าเข็มกลัดชิ้นนี้เป็นเข็มประดับที่ทำด้วยเงินทุบทอง ซึ่งตกแต่งด้วยลวดลายเฉพาะตามรูปแบบของเซลติกโบราณ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากนก หมาป่า และมังกร และคาดกันว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 700

เข็มกลัดทารา ได้รับชื่อมาจากเนินทาราซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระที่นั่งของกษัตริย์ไอร์แลนด์ อย่างไรก็ตามผิดจากชื่อของมันตัวเข็มกลัดนั้นไม่ได้มีหลักฐานว่ามีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์หรือตัวเนินดังกล่าวเลย

 

 

กลับกันบันทึกที่เหล่านักโบราณคดีมียังบอกว่าเข็มกลัดทารา (ในสมัยนั้นยังไม่มีชื่อ) ถูกพบที่หาดในเบ็ตตีสทาวน์เมื่อปี 1850 โดยหญิงชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งแทน แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ว่าหญิงคนดังกล่าวจะโกหกเพื่อที่จะได้มีต้องมีปัญหากับเจ้าของพื้นที่ที่เธอพบเข็มกลัดจริงๆ ก็ตาม

แต่ไม่ว่าที่มาของเข็มกลัดนี้จะเป็นเช่นไร สุดท้ายแล้วมันก็จะถูกขายต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไปอยู่ในมือของพ่อค้าชาวดูไบ George Waterhouse และได้รับชื่อว่าเข็มกลัดทาราในภายหลัง (เชื่อว่าเป็นการเปลี่ยนชื่อเพื่อเพิ่มมูลค่าของตัวเข็มกลัดอีกที)

 

 

แน่นอนว่าด้วยรูปร่างที่งดงามของมัน ในช่วงเวลานั้นจึงมีคนอยากได้เข็มกลัดแบบนี้ไปครอบครองอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น Waterhouse ผู้ซึ่งเปิดร้านเครื่องประดับอยู่แล้ว จึงได้เริ่มทำเครื่องประดับรูปร่างคล้ายกับเข็มกลัดทาราออกขายจนเป็นที่รู้จักของคนในสมัยนั้นไป

หลังจากวันนั้นมาเข็มกลัดทาราก็ถูกนำไปจัดแสดงอยู่หลายที่ตั้งแต่กรุงลอนดอนของอังกฤษ และกรุงปารีสของฝรั่งเศส จนทำให้ตัวเข็มกลัดเลียนแบบขายดีเป็นอย่างมาก ถึงขั้นที่ว่าสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียมาสั่งซื้อไปเป็นจำนวนมากเลย

 

 

ท้ายที่สุดแล้วเข็มกลัดทาราก็ถูกส่งไปยังคอลเล็กชันของราชวิทยาลัยแห่งไอร์แลนด์ในปี ก่อนที่ทางราชวิทยาลัยจะส่งใช้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไอร์แลนด์ในเวลาต่อมา และถูกจัดแสดงมาตลอดจนถึงในปัจจุบัน

 

ที่มา ancient-origins, museum

Comments

Leave a Reply