นักวิทย์พบธารน้ำแข็งที่เคยบางลงเพราะโลกร้อน หนาขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ตามปกติเมื่อพูดถึงสถานการณ์โลกร้อนแล้ว เหตุการณ์สำคัญที่ตามมาก็น่าจะเกี่ยวกับการที่น้ำแข็งในหลายๆ ที่บนโลก (เช่นขั้วโลก) ละลายจนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อล่าสุดนี้เองเหล่านักวิทยาศาสตร์ได้พบกับปรากฏการณ์แปลกๆ ขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งในพื้นที่ทางชายฝั่งตะวันตกของกรีนแลนด์นั้น ไม่เพิ่มแต่ไม่ละลายเท่านั้นแต่ยังหนาขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

 

 

นั่นเพราะแทนที่ธารน้ำแข็งชื่อ “Jakobshavn” จะบางลงและค่อยๆ ไหลเข้าใกล้ชายฝั่งเหมือนกับธารน้ำแข็งอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุโลกร้อน มันกลับหนาขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ ไหลออกไปยังทะเลแทน

อ้างอิงจากข้อมูลในอดีต ธารน้ำแข็ง Jakobshavn นั้นเป็นที่กังวลของเหล่านักวิทยาศาสตร์มากตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 และในระหว่างปี 2003-2016 ธารน้ำแข็งแห่งนี้ก็เสียความหนาไปถึง 152 เมตร

อย่างไรก็ตามตั้งแต่ช่วงปี 2013 เป็นต้นมามันกลับเริ่มกลับมาหนาขึ้นอีกครั้งแถมยังมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนไปด้วย ทำให้ในช่วงปี 2016-2017 ที่ผ่านมาน้ำแข็งที่พบก็มีความหนามากขึ้นถึง 30 เมตร

 

 

การค้นพบในครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ของนาซาที่เฝ้าสังเกตการณ์เหตุน้ำแข็งละลายในกรีนแลนด์หรือ “Oceans Melting Greenland” (OMG) รู้สึกแปลกใจเป็นอย่างมาก เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นนับว่าผิดไปจากธารน้ำแข็งอื่นๆ ที่พวกเขาพบมาก

นักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ได้ออกมาตั้งข้อสันนิษฐานว่าเหตุการณ์แปลกๆ นี้ อาจจะเกิดขึ้นจากการที่ทะเลทางชายฝั่งตะวันตกของกรีนแลนด์มีอุณหภูมิที่ต่ำลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ได้

โดยนี่เป็นปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางอากาศที่เรียกว่า North Atlantic Oscillation ซึ่งจะส่งผลให้มหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือมีอุณหภูมิสลับไปมาระหว่างน้ำเย็นและน้ำอุ่นทุกๆ 20 ปีนั่นเอง

 

ตำแหน่งคร่าวๆ ของธารน้ำแข็ง Jakobshavn

 

ดังนั้นนักวิทย์ยาศาสตร์จึงเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงแปลกๆ ของธารน้ำแข็ง Jakobshavn นั้นคงจะไม่สามารถเป็นเช่นนี้ได้ตลอดไป และเมื่อกระแสน้ำกลับมาอุ่นอีกครั้งธารน้ำแข็ง Jakobshavn ก็จะกลับมาละลายอย่างน่าใจหายเช่นเดียวกับธารน้ำแข็งอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธารน้ำแข็งนี้มีอัตราการละลายที่เร็วกว่าการฟื้นตัวด้วย

โดยนี่เป็นงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ในนิตยสารออนไลน์ Nature Geoscience ซึ่งหากเพื่อนสนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนๆ ก็สามารถเขาไปอ่านงานวิจัยที่ออกมาได้ ที่นี่

 

ที่มา livescience, researchgate

Comments

Leave a Reply