เมื่อพูดถึง “ทะเลสาบเดดซี” เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะรู้จักชื่อเสียงของที่แห่งนี้กันเป็นอย่างดีแล้ว ไม่ว่าจะในฐานะของสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อ หรือในฐานะของทะเลสาบที่ไม่มีวันจม และแทบจะไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้สมชื่อทะเลสาบแห่งความตาย
ว่าแต่เชื่อกันหรือไม่ว่าลึกลงไปใต้แหล่งน้ำที่เค็มที่สุดในโลกแห่งนี้ มันยังมีสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่าง “อาร์เคีย” สิ่งมีชีวิตคล้ายแบคทีเรียแต่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่ต่างกันและจัดเป็นสิ่งมีชีวิตคนละประเภท อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยโบราณ
แถมอ้างอิงจากงานวิจัยเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมาแล้ว พวกมันอาศัยการกินเพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์ที่ตายไปในการเอาชีวิตรอดด้วย
นี่เป็นการค้นพบที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยจากสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศสฝ่ายใต้เป้าหมายอยู่ที่การสำรวจสิ่งมีชีวิตในทะเลสาบเดดซี เพื่อหาว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวใช้วิธีการแบบไหนกันแน่ในการเอาชีวิตรอดในสถานที่ที่มีสภาวะแวดล้อมยากแก่การอยู่อาศัย
อ้างอิงจากทีมนักวิทยาศาสตร์ อาร์เคียที่พวกเขาพบจะเปลี่ยนชิ้นส่วนของเพื่อนที่ตายไปให้เป็น”Wax Esters” โมเลกุลจัดเก็บพลังงานชนิดหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนำมาใช้ชีวิตได้ ซึ่งและอาศัยพลังงานเหล่านี้เป็นพลังงานหลักในการใช้ชีวิตใต้ทะเลสาบ
จริงอยู่ว่าการกินเพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์ที่จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ในโลก และในบรรดาสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเองเราก็จะสามารถพบแบคทีเรียมีความสามารถกินเพื่อนเพื่อสร้าง Wax Esters แต่ที่ผ่านๆ มานักวิทยาศาสตร์ไม่เคยพบเลยว่าอาร์เคียเองจะมีความสามารถเช่นนี้ด้วย
อาร์เคียกับแบคทีเรียแม้จะคล้ายกันแต่ก็นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตคนละประเภท
การค้นพบในครั้งนี้นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเช่นนี้ไม่เพียงแต่ล้มล้างความคิดในสมัยก่อนที่ว่า สิ่งมีชีวิตไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มจัดของทะเลเท่านั้น แต่มันยังสามารถช่วยอธิบายระบบนิเวศของทะเลสาบเดดซีได้เป็นอย่างดีเลย
แถมความรู้ที่มาจากการค้นพบในครั้งนี้ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายการที่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายอื่นๆ อย่างใต้พื้นโลกได้ด้วย
(อ่านข่าวเก่าได้ที่ นักวิทยาศาสตร์พบ สิ่งมีชีวิตจำนวนมากใต้พื้นโลก มีมวลคาร์บอนรวมมากกว่ามนุษย์เสียอีก)
และที่แน่ๆ คือทะเลสาบที่ได้ชื่อว่าทะเลสาบแห่งความตายนั้น แท้จริงแล้วอาจจะไม่ได้มีเพียงแต่ความตายอย่างที่เราคิดก็เป็นได้
ที่มา livescience
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.