รัฐบาลเผย ชาวญี่ปุ่นวัยกลางคนจำนวน 613,000 คน เป็นโรคฮิกิโกะโมะริ แยกตัวจากสังคม

อย่างที่เราทราบกันดีว่าปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุไปแล้ว แต่ไม่ได้มีเพียงปัญหานี้เท่านั้นที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังหนักใจ ยังมีอีกหนึ่งภัยเงียบในชาวญี่ปุ่นที่กำลังกังวลกันคือ “โรคฮิกิโกะโมะริ”

 

ภาพประกอบเนื้อหา

 

ผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่าประชากรอายุตั้งแต่ 40-64 ปีกว่า 613,000 คน เป็นฮิกิโกะโมะริ ซึ่งมีความหมายว่าคนที่ชอบแยกตัวเองออกจากโลกภายนอก อยู่ในสถานะว่างงานและเอาหลบตัวอยู่แต่ในบ้าน

ต่างจากปี 2015 ตัวเลขสูงสุดของคนเป็นฮิกิโกะโมะริได้ไปอยู่ในกลุ่มวัยอายุต่ำกว่า 39 ปี กว่า 541,000 คน แต่ในปีนี้ตัวเลขกลับไปตกอยู่ในกลุ่มของผู้กลางคนถึงผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่แทนในญี่ปุ่น

กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการกล่าวว่า “ในตอนนี้ผู้ใหญ่ที่เป็นฮิกิโกะโมะริเป็นประเด็นใหม่ในสังคมเราต้องแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมด้วยการศึกษาและวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน”

 

ภาพประกอบเนื้อหา

 

ผลสำรวจออกมาว่า 76.6 เปอร์เซนต์ของฮิกิโกะโมะริเป็นผู้ชาย พวกเขาจะเริ่มแยกตัวออกมาจากสังคมเมื่อถึงคราวเกษียณอายุหรือออกจากงาน

และผลสำรวจยังพบอีกว่า 46.7 เปอร์เซนต์จะแยกตัวออกมาไม่ต่ำกว่า 7 ปีและ 21.3 เปอร์เซนต์บอกว่าพวกเขาขาดการติดต่อกับผู้อื่นมาได้ 3-5 ปีแล้ว

1 ใน 3 ของฮิกิโกะโมะริที่อายุระหว่าง 40-44 ปี กล่าวว่า “เราอยู่ในยุค ’employment ice age’ คือหลังจากที่เราเรียนจบแล้วเราไม่สามารถหางานที่มั่นคงได้ จึงเกิดการแยกตัวออกมา”

 

ภาพประกอบเนื้อหา

 

อีกทั้งยังมีเหล่าฮิกิโกะโมะริที่ยังคงพึ่งพาเงินบำนาญของพ่อแม่ตนเองกว่า 34.1 เปอร์เซนต์ อย่างเช่น ชายวัย 56 ปี จากเมืองโตเกียวกล่าวว่าเขาใช้เงินบำนาญจากพ่อแม่ที่อายุ 70 ตั้งแต่ตอนที่เขาแยกตัวออกมาเมื่ออายุ 40 ปี

หลังจากที่พ่อและแม่ของเขาเสียชีวิตลงในปี 2017 เขาได้รับการแนะนำให้รู้จักกับกลุ่มผู้ช่วยเหลือ เขากล่าวว่า “ผมโชคดีมากที่เจอคนที่ช่วยเหลือผมได้ ผมปรึกษาใครไม่ได้เลยตอนผมเป็นฮิกิโกะโมะริ ผมหวังว่าจะมีเครือข่ายช่วยเหลือพวกเขาเหล่านี้”

การที่คนเป็นโรคฮิกิโกะโมะริกันมากส่งผลทำให้ขาดแคลนแรงงานในสังคมญี่ปุ่น ต้องเกิดนำเข้าแรงงานมากมาย อีกทั้งยังกระทบกับปัญหาด้านจิตใจและสุขภาพของคนเหล่านั้นอีกด้วย

 

ที่มา: nhk, asahi, japantimes


Tags:

Comments

Leave a Reply