NASA เผยเศษซากกว่า 400 ชิ้น จากขีปนาวุธยิงดาวเทียมอินเดีย เป็นอันตรายต่อสถานีอวกาศนานาชาติ

การทำงานบนอวกาศเป็นเรื่องยาก ต้องคอยรับมือกับความเสี่ยงและยังต้องจัดการกับปัญหาหลายๆ อย่างที่แสนจะยุ่งยาก…

เมื่อไม่นานมานี้ ทางอินเดียได้ประกาศความสำเร็จ ในทำลายดาวเทียมวงโคจรต่ำดวงหนึ่งของตนด้วยขีปนาวุธ ทำให้อินเดียเป็นหนึ่งใน 4 ประเทศ โดยมีจีน สหรัฐฯ และรัสเซีย ที่มีความสามารถทำลายดาวเทียมด้วยขีปนาวุธได้

 

 

แต่ทว่าการทำลายดาวเทียมของอินเดียครั้งนี้ กลับสร้างขยะอวกาศเพิ่มขึ้นกว่า 400 ชิ้น โดยอาจส่งผลกระทบไปยังสถานีอวกาศนานาชาติได้

 

ขีปนาวุธที่ทางอินเดียยิงออกไปสอยดาวเทียมของตนเองเมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว

 

ผู้บริหารองค์กรนาซ่า Jim Bridenstine กล่าวว่า “มีเศษชิ้นส่วนเพียง 60 ชิ้น จากการทำลายดาวเทียมครั้งนี้ ที่ใหญ่พอจะติดตามได้ ซึ่ง 24 ชิ้น ได้ลอยอยู่บนวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติ”

 

Jim Bridenstein

 

“การกระทำนี้ อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการเดินทางของเหล่ามนุษย์อวกาศในอนาคตได้ เราไม่ยอมให้คนของเราต้องมาเสี่ยงเพราะเศษซากเหล่านี้” Bridenstine กล่าวต่อ

ในตอนนี้ ทางกองทัพสหรัฐฯ ได้ทำการติดตามเศษซากวัตถุที่คาดว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อสถานีอวกาศนานาชาติและดาวเทียม ซึ่งในขณะนี้มีประมาณ 23,000 ชิ้น โดย 10,000 ชิ้น เป็นขยะอวกาศ และอีกเกือบ 3,000 ชิ้น เป็นเศษซากที่ทางประเทศจีน ทดสอบยิงมิสไซส์ทำลายดาวเทียมของตนเมื่อปี 2007

 

ภาพจำลองเศษซากดาวเทียมที่กระจายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

 

ผลของการทดสอบยิงมิสไซส์ของอินเดียเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา ทำให้ในระยะเวลา 10 วัน สถานีอวกาศมีความเสี่ยงที่จะโดนวัตถุในอวกาศเข้าชนเพิ่มขึ้นถึง 44 เปอร์เซ็นต์

 

การจำลองเศษขยะอวกาศที่เกิดขึ้น ผลของการยิงดาวเทียมทิ้ง เกิดเป็นวงโคจรรอบโลก

 

ที่มา: phys.org, theguardian, dailymail, engadget, businessinsider, cnn


Tags:

Comments

Leave a Reply