การออกเสียง (Pronunciation) เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร ถ้าหากผู้พูดออกเสียงไม่ชัดเจน อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้
เช่น คำว่า ‘สวย’ และ ‘ซวย’ ในภาษาไทยที่มีความใกล้เคียงกันจนชาวต่างชาติอาจออกเสียงผิดจนเกิดความเข้าใจผิดต่อผู้รับฟัง เป็นต้น
ภาษาอังกฤษก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ต้องการการออกเสียงที่ถูกต้องในการสื่อความหมายเช่นกัน โดยหากผู้เรียนภาษาทุกคนอยากออกเสียงให้ได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษา เชื่อว่า IPA จะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการออกเสียงอย่างแน่นอน
IPA ย่อมาจาก International Phonetic Alphabet หรือในชื่อไทยว่า ‘สัทอักษรสากล’ ซึ่งประกอบไปด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานแทนเสียงพูดได้ในทุกภาษา
IPA นั้นก็เหมือนภาษาหนึ่งที่ประกอบไปด้วยสระ และพยัญชนะ เพียงแต่จะแยกลักษณะการออกเสียงตามตำแหน่งในปากของเรานั่นเอง
ตารางสระใน IPA
ยกตัวอย่างเช่นสระตามรูปด้านบน ซึ่งสระจะขึ้นอยู่กับลิ้นจึงถูกแบ่งเป็น ด้านหน้าคือการใช้ลิ้นบริเวณใกล้ฟัน (Front), ตรงกลางคือลิ้นอยู่ตรงกลาง (Central), และด้านหลังคือลิ้นม้วนกลับไปยังลำคอ (Back) เป็นต้น
ตารางพยัญชนะใน IPA
ต่อมาคือพยัญชนะ ซึ่งจะใช้หลักในการทำความเข้าใจอยู่ 2 อย่างเท่านั้น ได้แก่ ตำแหน่งการเกิดเสียง (Place of Articulation) และการเดินทางของอากาศเพื่อเปล่งเสียงนั้นๆ (Manner of Articulation)
เสียงที่คุ้นเคยใน IPA ตามไฮไลต์สีชมพู
ดูไปอาจจะยากและไม่คุ้นหน้าคุ้นตาสักเท่าไหร่ แต่หากจะบอกว่าสีชมพูตามตารางด้านบนนั้นเป็นเสียงมาตรฐานที่เราต่างคุ้นเคยและสามารถสร้างเสียงออกมาได้เหมือนเจ้าของภาษาอังกฤษจริงๆ จะเชื่อหรือไม่?
ถ้าไม่เชื่อก็ลองออกเสียงดู อย่างเช่น m เป็นการออกเสียงจากตำแหน่งริมฝีปากคู่ (Bilabial) และเป็นพยัญชนะนาสิกที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก (Nasal) เป็นต้น
อินโฟกราฟฟิกฝึกการออกเสียงอย่างง่ายๆ
อินโฟกราฟฟิกด้านบนนั้นเป็นตัวอย่างชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ IPA, ตำแหน่งที่เกิดเสียง, การเดินทางของอากาศ และคำตัวอย่างในภาษาอังกฤษของพยัญชนะนั้นๆ
ซึ่งผู้ที่สนใจทุกคนสามารถอ่านตาม ลองออกเสียงคำทีละคำจากซ้ายไปขวา แล้วสังเกตดูว่ามีความแตกต่างของตำแหน่งและอากาศของแต่ละคำอย่างไรบ้าง
และหากใครสนใจอยากฝึกฝนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟุดฟิดฟอไฟกับชาวต่างชาติแล้วล่ะก็ สามารถใช้คีย์เวิร์ด เช่น IPA ภาษาอังกฤษ หรือ โฟเนติกส์ ไปกูเกิ้ลเพิ่มได้เลยจ้า
ที่มา: twistedsifter, languagebasecamp
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.