ผู้เชี่ยวชาญเผย การ์ตูน Disney ปลูกฝังความเชื่อผิดๆ ทั้งเหยียดสี ฝึกให้ชินกับความรุนแรง

ในช่วงเวลาวัยเด็กของพวกเราแทบทุกคนคงจะต้องเคยผ่านหูผ่านตากับภาพยนตร์การ์ตูนของค่าย Disney กันมาก่อน ไม่มากก็น้อย

แต่ภายใต้ความสนุกสนานอันน่าจดจำเหล่านั้น สิ่งที่เราอาจไม่เคยสังเกตเห็นก็คือบางเนื้อหาการนำเสนอของหนังก็อาจแฝงด้วยบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับเด็กสักเท่าไหร่นัก

 

 

การ์ตูน Disney บางเรื่องยังคงเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญในหลายต่อหลายประเด็น…

ดอกเตอร์ Victoria Cann วิทยากรทางด้านมนุษยธรรมจากมหาวิทยาลัย University of East Anglia สหราชอาณาจักร ได้กล่าวถึง การ์ตูนเรื่อง “โฉมงามกับเจ้าชายอสูร” (Beauty and the Beast)

เธอบอกว่ามันเป็นเหมือนการปลูกฝังความคิดในลักษณะของ Stockholm Syndrome อาการที่ตัวประกันจะรู้สึกว่าคนที่จับเรามานั้นเริ่มดูเป็นคนดีมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนมองเห็นด้านดีของเขา และเริ่มรู้สึกผูกพันกับคนคนนั้น

 

 

ดอกเตอร์ Victoria อธิบายว่า เนื้อหาของการ์ตูนเรื่องนั้นอาจส่งผลให้ผู้หญิงเข้าใจว่าผู้ชายที่ชอบใช้ความรุนแรง ขี้โมโห (ในเรื่องได้นำเสนอผ่านสัตว์ร้ายที่เป็นตัวเอก) อาจเปลี่ยนกลายเป็นคนดีได้สักวัน

ด้วยเหตุนั้นเอง หญิงสาวก็จะทนอยู่กับผู้ชายแบบนั้นโดยเชื่อว่าเขาจะต้องเปลี่ยนเป็นคนดีอย่างแน่นอน ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วมันอาจไม่ได้กลายเป็นอย่างนั้นเสมอไป

 

 

เธอยังพูดถึงภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Aladdin ในปี 1992 ว่ามันได้ถูกนำเสนอออกมาในลักษณะของการ “เหยียดสีผิว” อย่างเห็นได้ชัด

สังเกตได้จากสีผิวของตัวเอกฝั่งคนดีที่มักจะมีสีผิวสว่างกว่าทางฝั่งตัวร้าย ทั้งๆ ที่เป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน

 

 

เรื่อง Lion King เองก็ด้วย อย่างที่เห็นว่า Scar ตัวร้ายของเรื่องกลับมีสีผิวดำเข้มแตกต่างจากสิงโตตัวอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด

 

 

ดอกเตอร์ Laura Coffey-Glover จากมหาวิทยาลัย Nottingham Trent University ก็บอกว่าการ์ตูนเรื่อง “สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด” (Snow White) ได้สร้างแนวคิดความคาดหวังแบบผิดๆ ให้กับหญิงสาวอยู่

จากการนำเสนอของการ์ตูนดังกล่าว เธอบอกว่ามันส่งผลให้ผู้หญิงเชื่อว่าการที่เราเป็นคนอ่อนแอ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ใช้ชีวิตไปวันๆ นั้น เดี๋ยวสักวันหนึ่งก็จะมีเจ้าชายรูปงามมาช่วยเหลือเราเอง

 

 

เช่นเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “เจ้าหญิงนิทรา” (Sleeping Beauty) ที่อาจทำให้ผู้ชายมีความเชื่อผิดๆ ว่ามีสิทธิ์ที่จะคุกคามผู้หญิงได้โดยไม่ต้องรอการยินยอม (ฉากจูบเจ้าหญิงที่กำลังนอนหลับใหลอยู่)

อีกทั้งเอวของเจ้าหญิงเองก็เล็กเอามากๆ จนอาจนำไปสู่ความคิด “คลั่งผอม” (Anorexia)

 

 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากก็ต่างพากันชื่นชมเรื่อง Frozen เนื่องจากภาพรวมของหนังได้นำเสนอถึงมิตรภาพ, ครอบครัว และสิทธิ์ที่ผู้หญิงพึงมี

 

 

แล้วเพื่อนๆ ล่ะมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญออกมาพูด

ลองมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในคอมเมนต์ได้นะ

 

ที่มา: mirror , ladbible , thesun

Comments

Leave a Reply