พบฟอสซิลจำนวนมากที่เฮลล์ครีก เชื่อใช้อธิบายการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 66 ล้านปีก่อนได้

นับตั้งแต่เมื่อปี 2013 ทีมนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาแอตแลนติก ได้เข้าทำการขุดค้นเฮลล์ครีกฟอร์เมชัน แหล่งโบราณคดีในรัฐนอร์ธดาโกตา สหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายในการเรียนรู้เหตุการณ์อุกกาบาตที่เคยตกมายังโลกจนทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 66 ล้านปีก่อน

 

 

และแล้วหลังจากที่ทำงานมาได้กว่า 6 ปีในที่สุดเหล่านักโบราณคดีก็ได้พบกับหลักฐานสำคัญที่จะช่วยอธิบายช่วงเวลาที่อุกกาบาตถล่มโลกเมื่อ 66 ล้านปีได้ เมื่อทีมสำรวจได้พบกับฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์จำนวนมาก ทั้งที่เป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ ต้นไม้ หรือแม้แต่แมลง กองทับกันอยู่ในชั้นดินที่ทับถมกันเป็นเวลานาน

 

ซากต้นไม้ที่มีการขุดพบ

 

โดยคุณ Robert DePalma หนึ่งในทีมนักโบราณคดีได้เล่าว่าจุดที่พวกเขาพบฟอสซิลอยู่ห่างไปจากจุดที่อุกกาบาตพุ่งชนโลกราวๆ 3,000 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามแรงปะทะในวันนั้นก็ส่งผลกระทบที่มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงโลกไปหลายล้านไปอยู่ดี

อ้างอิงจากทีมนักโบราณคดี ในวันที่อุกกาบาตพุ่งชนโลกได้เกิดแผ่นดินไหวแมกนิจูด 10-11 ขึ้นจากแรงกระแทก และส่งผลให้หลายพื้นที่ในโลกต้องพบกับเหตุ “อุลกมณี” แก้วสีดำทึบ อันเกิดจากทรายหลอมละลายจากความร้อนของอุกกาบาตตกลงจากท้องฟ้าด้วยความเร็วราว 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

อุลกมณี (Tektites) บางส่วนที่ถูกพบในตัวปลา

 

อุลกมณีที่ตกมาในวันนั้นมีความร้อนสูงมากทำให้พืชและสัตว์บริเวณนั้นตายในทันที ส่วนปลาที่อยู่ในน้ำเองหลายส่วนก็ต้องตายไปเพราะอุลกมณีเข้าไปติดในเหงือก

 

ปลาบางส่วนที่ถูกพบ

 

แต่นั่นยังไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเพียงเรื่องเดียวที่สิ่งมีชีวิตในสมัยนั้นต้องพบ เพราะการที่สัตว์น้ำและสัตว์บกตายอยู่ในที่เดียวกันนั้นเป็นหลักฐานอย่างดีว่าในอดีตได้เกิดเหตุคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ที่มีความสูงอย่างน้อยๆ 9-10 เมตรด้วย

 

ภาพจำลองเหตุน้ำท่วมจากคลื่นสึนามิขนาดยักษ์

 

ในท้ายที่สุดแล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกตายไปกว่า 75% และกลายเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่น่าเชื่อถือที่สุดที่มักถูกใช้ในการอธิบายการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์อย่างที่เราทราบกันในปัจจุบัน

 

ที่มา dailymail, sciencedaily, ancient-origins

Comments

Leave a Reply