จากอดีตถึงปัจจุบันนั้นมุมมองต่อความรักในเพศเดียวกันเปลี่ยนแปลงกลับไปมาตามการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมและสังคม
จากที่เคยเป็นเรื่องปกติในยุคโบราณ ก็มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าไม่ถูกต้อง ก่อนจะมาเรียกร้องสิทธิ์ในการรักใครก็ได้ที่เราพึงใจในปัจจุบันอีกครั้ง
นอกจากสิทธิ์ในการรักคนที่เรารักโดยไม่คำนึงถึงเพศแล้ว หลายๆ ที่เองก็ยังมีการผลักดันให้การแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกันมีผลถูกต้องตามกฎหมายให้เท่าเทียมกับคู่แต่งงานชาย-หญิงด้วย
ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็มีทั้งประเทศที่ถูกกฎหมาย ไม่มีผลทางกฎหมาย และประเทศที่ต่อต้านไปเลย
วันนี้เราจะพาไปชมภาพการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันจากทั่วโลก ที่จะทำให้คุณตระหนักได้ว่า เรื่องเพศนั้นมันไม่สำคัญเลย ในเมื่อความรักมันสวยงามเสมอไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใครก็ตาม
Patrick Decker และ Dutchman Stephen Hengst แต่งงานกับที่เนเธอร์แลนด์ปี 2009
ปี 2000 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย
Marion Huibrecht และ Christel Verswyvelen แต่งงานกันในปี 2003
เบลเยี่ยมออกกฎหมายการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในปี 2003
สเปนให้การแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันถูกกฎหมายในปี 2005
คู่รักเลสเบี้ยนคู่แรกที่แต่งงานกันในโบสถ์ประเทศสเปน ปี 2018
“มันคือคำถามเรื่องความรัก…มิใช่เรื่องเพศ” – หลวงพ่อ Gunnar Sjöberg
คู่รักเกย์แต่งงานกับในแถบภาคเหนือของประเทศสเปน
คู่รักเกย์แต่งงานกันที่ประเทศแอฟริกา ปี 2006
ปี 2006 ประเทศแอฟริกาเป็นประเทศแรกในทวีปที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานได้อย่างถูกกฎหมาย
ปี 2016 Tshepo Modisaneและ Thobajobe Sithole แต่งงานกัน ในแอฟริกาใต้
ถือเป็นการแต่งงานแบบพื้นเมืองของคู่รักเกย์ครั้งแรกในประเทศ
ในปี 2013 การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันถูกกฎหมายในนิวซีแลนด์
คู่รักคู่นี้คือคู่แรกที่แต่งงานกันในนิวซีแลนด์ และทั้งคู่คบกันมานานถึง 11 ปีก่อนจัดงานแต่ง
ในปี 2013 สภาความยุติธรรมแห่งชาติกล่าวว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธทะเบียนสมรสของคู่รักเพศเดียวกันได้
ซึ่งปูทางไปสู่การเรียกร้องให้การแต่งงานในเพศเดียวกันถูกกฎหมาย
โชคร้ายที่ในปี 2018 ประธานาธิบดีคนใหม่ของบราซิลไม่เห็นด้วยกันกฎหมายแต่งงานดังกล่าว
“เราต้องฉวยโอกาสจากสิทธิ์ชัยชนะอันได้มาอย่างยากลำบาก เพราะเราอาจเสียมันไปภายลังได้” – คู่รักเลสเบี้ยนในบราซิล
แม้จะถูกรัฐบาลคุกคาม แต่คู่รักเลสเบี้ยนคู่นี้ก็ยังคงจัดพิธีแต่งงานในประเทศบราซิล
“เราจะสู้เพื่อสิทธิ์ของเรา และจะไม่มีวันยอมถอยกลับไปอยู่ในจุดเดิมอีกเด็ดขาด” – Victor Silva Paredes
ในปี 2013 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงให้การแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันถูกกฎหมายในประเทศอังกฤษและเวลส์
ปี 2014 การแต่งงานในเพศเดียวกันถูกกฎหมายที่ประเทศสก๊อตแลนด์
งานแต่งงานของคู่รักเกย์อย่างถูกกฎหมายครั้งแรกในประเทศสก๊อตแลนด์ ปี 2014
Andrew Wale และ Neil Allard แต่งงานกันที่เมือง Brighton ประเทศอังกฤษ
ในปี 1970 มีการยื่นร่างกฎหมายการแต่งงานในเพศเดียวกันที่รัฐมินนิโซตา
แต่น่าเสียดายที่มันถูกปัดตกไป ซึ่งหนทางของการเรียกร้องสิทธิ์ของเพศที่ 3 ทั่วสหรัฐอเมริกายังคงยาวไกลนัก
ปี 2013 คู่รักเลสเบี้ยนแต่งงานกันที่รัฐแคลิฟอร์เนีย
ปี 2015 ศาลสูงแห่งสหรัฐฯ มีมติเห็นชอบให้การแต่งงานในเพศเดียวกันถูกกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา
มติศาลในปี 2015 นับเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของผู้สนับสนุนเพศทางเลือก
ภาพนี้เป็นงานแต่งงานของคู่รักเกย์ในปี 2013
งานแต่งของคู่รักหญิงรักหญิงในซานฟรานซิสโก
ประชาชนชาวอเมริกันเริ่มรับรู้ว่าการแต่งงานในเพศเดียวกันไม่ใช่ “สิทธิพิเศษ” แต่คือ “สิทธิอันชอบธรรม”
ประเทศเยอรมนีประกาศให้การแต่งงานในเพศเดียวกันถูกกฎหมายในปี 2017
ในเยอรมนีจึงเริ่มมีการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันเกิดขึ้นไปทั่วประเทศ
การแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันถูกกฎหมายในประเทศมอลตาเมื่อปี 2017
ปี 2017 การแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันถูกกฎหมายในประเทศออสเตรเลีย
แม้ว่าการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันจะยังไม่ถูกกฎหมายทั่วทั้งประเทศเม็กซิโก แต่บางพื้นที่ก็ถูกกฎหมายแล้ว
อิตาลีเป็น 1 ในประเทศที่ยังคงต่อต้านกฎหมายการแต่งงานในเพศเดียวกัน เนื่องจากเหตุผลด้านศาสนา
แต่ก็ยังมีคู่รักที่จัดพิธีแต่งงานอยู่ แม้ว่าจะไม่ได้มีผลทางด้านกฎหมายก็ตาม
ในปี 2017 ไต้หวันพยายามแก้กฎหมายแต่งงาน จากบังคับว่าต้องเป็นคู่รักหญิง-ชาย เป็นการแต่งงานระหว่าง “คน 2 คน” แต่ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติ
แม้ว่าในทวีปเอเชียจะไม่ค่อยให้การยอมรับเพศทางเลือก แต่กลุ่มผู้สนับสนุนก็ยังคงต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเองต่อไป
ในภาพเป็นคู่รักเลสเบี้ยนเข้าร่วมขบวนพาเหรด LGBT Pride
และล่าสุดออสเตรียประกาศให้การแต่งงานในเพศเดียวกันถูกกฎหมายในปีนี้ (2019)
ทั่วทั้งโลกกำลังเปิดใจรับความแตกต่างทางเพศ และพวกเขาก็จะยังคงสู่ต่อไป
ที่มา Insider
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.