ร้านวุ้นเชียงใหม่ ถูกล่อซื้อ “เค้กวุ้นโดราเอม่อน” หลายฝ่ายถกเถียง ตกลงผิดหรือไม่!?

ในวันที่ 20 เมษายน 2562 เวลา 21.09 น. เกิดเป็นกรณีการถูกจับเรื่องผิดลิขสิทธิ์ของร้าน วุ้นละมุน เชียงใหม่ โพสต์รายละเอียดลงโลกออนไลน์

จากการถูกล่อซื้อให้ไปส่งที่ร้านกาแฟ บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรภูพิงค์ราชนิเวศน์ ต้องจ่ายเงินค่าปรับหลักหมื่น

 

 

ช่วงเวลาเหตุการณ์ก่อนที่จะถูกจับ

ทางร้านได้ระบุเอาไว้ว่า มีสายโทรมาสั่งวุ้นเค้กลายโดราเอม่อน ให้กับเด็กฝาแฝด 2 กล่อง ทั้งแบบ 1 ปอนด์และ 2 ปอนด์ จนกระทั่งถึงเวลานัดส่งของช่วง 15.00 น. จึงเริ่มสงสัยในสถานีนัดรับของ

จนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่เข้ามาแสดงตัว อ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากบริษัท เข้าทำการจับกุมละเมิดลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนโดราเอม่อนจากเค้กวุ้นดังกล่าว มีการเจรจราไกล่เกลี่ยค่าเสียหายหลักหมื่นบาท ซึ่งโดยปกติแล้วข้อหานี้จะโดนค่าปรับหลักแสน

 

 

ความผิดของการละเมิดลิขสิทธิ์จากการทำเค้กวุ้น

ลักษณะของการทำซ้ำในกรณีนี้ คือการหยอดวุ้นเป็นพิมพ์โดราเอม่อน ซึ่งทางร้านคิดว่าการลงสี กับการตกแต่งของทางร้านเอง ไม่ได้ใช้พิมพ์ของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นไม่น่ามีความผิด

แต่สุดท้ายก็โดนจับในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งทางร้านเลือกที่จะไม่สู้คดีบนชั้นศาล ไม่มีเวลาและเกรงว่าจะลำบากคนรอบข้าง

 

เจ้าของร้านให้สัมภาษณ์กับสื่อ

 

เจ้าของร้านวุ้นได้ทำการเปิดเผยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยทำวุ้นโดราเอม่อนให้เพื่อน โดยไม่ได้ตั้งใจจะทำขาย จนมีสายมาล่อซื้อไป 2 ก้อนในราคา 290 บาทกับ 390 บาท

โดยเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ทำการแจ้งว่ามีความผิดในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ทางเจ้าของร้านวุ้นคิดว่าไม่ผิดในตอนแรก เพราะเป็นฝีมือที่ตนเองทำขึ้นมาตามสั่ง

จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ได้อธิบายให้เข้าใจและยอมรับว่ามีความผิด จึงทำการขอโทษและเจรจาจ่ายค่าปรับหลักหมื่น เป็นอันจบ

 

ความสงสัยในความไม่ชัดเจน

 

หลังจากที่เจ้าของร้านวุ้นได้ออกมาเปิดเผยรายละเอียดต่างๆ แล้ว อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตที่ได้อ่านและวิเคราะห์ถึงต้นสายปลายเหตุในคดีนี้…

โดยระบุว่าการดำเนินการจับกุมในรูปแบบดังกล่าว มีความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หรืออาจจะเข้าข่ายการตบทรัพย์ บางส่วนก็บอกว่า ลิขสิทธิ์คุ้มครองของโดราเอม่อนถึงแค่ปี 2537 เท่านั้น

และอยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตัวแทนลิขสิทธิ์ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวด้วย

 

ต่อมาทางเพจกฎหมายไทย ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวเช่นกัน โดยระบุถึงข้อสงสัยในเรื่องของการล่อซื้อ อาจเข้าข่ายการวางแผนของสองฝ่ายร่วมกันจับเรียกค่าเสียหายหรือตบทรัพย์นั่นเอง

 

ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน เพจนักกฎหมายสายบันเทิงระบุว่า หากยึดตามฎีกาที่มีอยู่ โดราเอม่อนหมดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว นำไปใช้ได้ไม่ผิดในเฉพาะบางกรณีเท่านั้น…

ซึ่งรายละเอียดสามารถอ่านแบบเต็มๆ ได้ในโพสต์ด้านล่างนี้

 

ที่มา: วุ้นละมุน เชียงใหม่, AMARIN TVHD, thaich8


by

Tags:

Comments

Leave a Reply