‘เครื่องแบบนักเรียน’ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่บ่งบอกความเป็นวัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งหลายครั้งชุดนักเรียนได้กลายเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาหลายต่อหลายครั้ง
เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์สำนักพิมพ์ชื่อดัง Nikkei Asian Review ในญี่ปุ่น ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ “Tailor-made uniformity threatens Thai creativity“
ในบทความช่วงแรก พวกเขากล่าวถึงความพยายามในการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ที่เคยมีนโยบายทดลองให้นักเรียนแต่งตัวชุดไปรเวทมาเรียนใน ทุกวันอังคาร
แต่ทว่า นโยบายดังกล่าวได้กลายเป็นกระแสอย่างแพร่หลายใน จนต้องถูกยกเลิกไปในที่สุด เพราะมีหลายๆ ฝ่ายไม่เห็นด้วย
นายชลํา อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ทางโรงเรียนได้กระทำขัดต่อระเบียบกระทรวงการศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
นายชลำ อรรถธรรม
อีกทั้งประเทศไทยเป็นสังคมแบบกึ่งศักดินา (Semi-feudal) ซึ่งให้ความสำคัญกับเครื่องแบบ ในฐานะสิ่งบ่งบอกสถานะที่สูงขึ้นกว่าบทบาทในหน้าที่การงาน
เช่นเดียวกันกับการเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คณะ ไม่ใช่เพียงนักเรียนนักศึกษาเท่านั้นที่มีเครื่องแบบ
แต่หลายๆ อาชีพในสังคมไทย อย่างตำรวจ ทหาร ครู นักดับเพลิง ไปจนถึงพนักงาน ก็ต้องสวมใส่สิ่งนี้เช่นเดียวกัน
จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมประเทศไทยถึงมีกฎการสวมใส่เครื่องแบบนักเรียนขึ้นมา ซึ่งทำให้กลายเป็นอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมหนึ่งในไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493
ผู้เขียนบทความนี้ Marwaan Macan-Markar ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ตนเองมาในประเทศไทยในปี 2544 ว่า ตอนที่ตัวเขาได้เข้าไปในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง
เขาก็พบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางนักศึกษาที่สวมแต่เสื้อเชิ้ตสีขาว กับกางเกงและกระโปรงสีดำเหมือนกันหมด
อย่างไรก็ตาม เครื่องแบบของไทยมีอิทธิพลต่อการสวมใส่เครื่องแบบของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา และลาว แม้แต่ญี่ปุ่นก็มองว่าเครื่องแบบคือสิ่งที่สร้างความปรองดองทางสังคมเช่นเดียวกัน
ศศนันท์ บุญยะวนิช นักวิชาการไทยท่านหนึ่ง ก็เคยพูดถึงการกำหนดเครื่องแบบในมหาวิทยาลัยไทย ที่สะท้อนวัฒนธรรมการแบ่งชนชั้น ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการปลูกฝังการอนุรักษ์ชาตินิยมของไทยเรา
ทั้งนี้ ทางรัฐบาลไทยกำลังพยายามสร้างบุคลากรที่มีความสามารถทางวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อยกระดับยุทธศาสตร์ ‘ไทยแลนด์ 4.0′
อีกทั้งยังยุทธศาสตร์นี้ต้องการเพิ่มมูลค่าให้แก่ฐานการผลิตของการลงทุนในเศรษฐกิจแบบดิจิตอลและเทคโนโลยีขั้นสูง
ทว่าผลการศึกษาของ World Bank กลับพบว่า มีถึง 1 ใน 3 ของนักศึกษาไทยที่ อ่านออก เขียนได้ แต่ไม่สามารถคิดวิเคราะห์ หรือจับใจความได้ ซึ่งตรงข้ามกับความต้องการของตลาด
ต่างจากประเทศเวียดนาม ที่เป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจกับทางประเทศไทย มีการสวมใส่เครื่องแบบเหมือนกัน แต่นักศึกษาจากกรุงฮานอย มีผลการเรียนที่มีคุณภาพกว่านักศึกษาจากกรุงเทพฯ
ยกตัวอย่างจากการสอบวัดความรู้นานาชาติ PISA ของเวียดนาม ที่มีการจัดสอบทุกๆ 3 ปี สำหรับเยาวชนอายุ 15 ปี พบว่า พวกเขาทำคะแนนได้สูงกว่าเยาวชนไทย ในด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ไปจนถึงด้านการอ่าน
ผู้เขียนบทความกล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับประเทศไทยที่มีผลการจัดอันดับการศึกษาแบบนี้ ควรให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพการศึกษา มากกว่าภาพลักษณ์ภายนอกของนักศึกษา
มิเช่นนั้น ประเทศจะเกิดความล้มเหลวในยุคดิจิตอล อันเป็นยุคแห่งปัจเจกชน ให้อิสระทางความคิดสร้างสรรค์และการเติบโต
ที่มา: nikkei
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.