ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันการจัดการขยะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในดิน น้ำและอากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อธรรมชาติ สรรพสัตว์ และมนุษย์เป็นอย่างมาก
ทว่าในประเทศคอสตาริกา กองขยะกลับกลายเป็นแหล่งสมบัติทางธรรมชาติ หลังจากการร่วมมือกันระหว่างโรงงานทำน้ำผลไม้และอุทยานแห่งชาติ…
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1997 Daniel Janzen และ Winnie Hallwachs สองสามีภรรยานักนิเวศวิทยาได้ร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติ Área de Conservación Guanacaste ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศคอสตาริกา จัดทำโครงการฟื้นฟูธรรมชาติขึ้นมา
โดยเจรจาบริษัทผู้ผลิตน้ำผลไม้ Del Oro เจ้าของที่ดินที่ล้อมรอบเขตอนุรักษ์ เสนอให้บริษัทมอบพื้นที่ป่าของบริษัทให้กับทางอุทยาน แลกเปลี่ยนกับการอนุญาตให้บริษัทเอาขยะที่เป็นเปลือกส้มและเปลือกผลไม้อื่นๆ มาทิ้งในพื้นที่เสื่อมโทรมของอุทยานแห่งชาติได้
เมื่อบริษัทเมื่อได้รับข้อเสนอดังกล่าวก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างมาก บริษัทจึงนำเปลือกส้มจำนวนกว่า 12,000 ตันมาทิ้งทับถมกันไว้ที่อุทยานดังกล่าว กินพื้นที่ไปกว่า 3 เอเคอร์ แทนที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเหล่านี้
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับข้อตกลงนี้ ด้าน TicoFrut บริษัทคู่แข่งเห็นถึงความไม่เท่าเทียม ที่บริษัท Del Oro ได้รับการสนับสนุนจากอุทยาน ทำให้มีพื้นที่จัดการขยะมากขึ้น
ทาง TicoFrut จึงฟ้องบริษัท Del Oro อ้างว่ากองขยะเปลือกส้มทำให้เกิดอันตราย กลิ่นเน่าเหม็นและแมลงวัน ทำให้โครงการนี้ต้องล้มเลิกกลางคัน
จนกระทั่ง 16 ปีผ่านไป ได้ Timothy Treuer นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัย Princeton ได้สำรวจและติดตามผลกระทบของเปลือกส้มจากโครงการนี้
.
และเขาก็พบว่ากองขยะเปลือกส้มบนพื้นดินแห้งแล้ง ไร้คุณภาพเมื่อหลายปีก่อน กลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ สร้างพื้นที่สีเขียวในประเทศคอสตาริกา
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเปลือกส้มเหล่านั้นได้ยับยั้งการเจริญเติบโตของหญ้าวัชพืช ทำให้ที่ดินผืนนี้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง นอกจากนั้น
การค้นพบครั้งนี้ยังทำให้หลายบริษัทได้เล็งเห็นถึงการจัดการขยะแบบใหม่ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ในอนาคต
ที่มา: boredpanda
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.