ชมภาพจำลอง “ซูเปอร์โนวา” แบบสามมิติจากสถาบันสมิธโซเนียน ที่มีดีกว่าแค่รูป 360 องศา

ในยามที่ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ในอวกาศสิ้นอายุขัยลง พวกมันมีโอกาสที่จะระเบิดออกพร้อมพลังงานมหาศาล ในเหตุการณ์ที่เรารู้จักกันในนาม “ซูเปอร์โนวา” การระเบิดของก๊าซและฝุ่นละอองที่สามารถขยายสู่อวกาศได้ไกลหลายสิบหลายร้อยปีแสง

 

 

ที่ผ่านๆ มาการที่เราจะเห็นร่องรอยของซูเปอร์โนวาได้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องมีกล้องโทรทรรศน์ประสิทธิภาพสูงที่มากๆ เท่านั้น

แต่แล้วในปัจจุบัน ด้วยความก้าวไกลที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยี ในที่สุดเพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปชมภาพร่องรอยของซูเปอร์โนวาแบบชัดเจน 360 องศาได้แล้ว เมื่อทางสถาบันสมิธโซเนียนได้ทำการ จำลองใจกลางของสิ่งที่เหลืออยู่จากซูเปอร์โนวา มาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันด้วยตาของตัวเองในระบบ 3 มิติ

 

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปชม ร่องรอยของซูเปอร์โนวาด้วยตัวเองได้ ที่นี่

คำเตือน หน้าเว็บอาจใช้เวลาโหลดค่อนข้างนาน และไม่เหมาะกับการดูด้วยมือถือ

 

แบบจำลองชิ้นนี้เชื่อกันว่าเป็นแบบจำลองของสิ่งที่เหลืออยู่จากซูเปอร์โนวา “Cassiopeia A” ซึ่งมีสภาพเป็นฝุ่นอวกาศหลากสีกว้าง 10 ปีแสง ซึ่งอยู่ห่างการโลกออกไปประมาณ 11,000 ปีแสง และเป็นการจำลองขึ้นจากข้อมูลการสังเกตการณ์ที่เกิดขึ้นจริงโดยหอสังเกตการณ์ทั่วสหรัฐอเมริกา

 

 

อ้างอิงจากข้อมูลของนักดาราศาสตร์ Cassiopeia A ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 1947 และเชื่อว่ามันน่าจะสังเกตได้จากบนโลกมาตั้งแต่เมื่อ 300 ปีก่อนแล้ว

โดยกลุ่มฝุ่นอวกาศเหล่านี้มีความเป็นไปได้ว่าจะยังขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ แม้ในปัจจุบัน ด้วยความเร็ว 6,000 กิโลเมตรต่อวินาที และมีอุณหภูมิสูงถึง 28 ล้านองศาเซลเซียส

 

วิดีโอแบบสามมิติของซูเปอร์โนวาในครั้งนี้

เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถชมหน้าเว็บของสถาบันสมิธโซเนียนได้

นั่นหมายความว่าแม้ภาพของซูเปอร์โนวาที่ออกมาจะดูสวยงามแค่ไหน แต่จริงๆ แล้วมันก็แฝงไว้ซึ่งความอันตรายกว่าที่เราคิด และในปัจจุบันเอง การจะดูซูเปอร์โนวาให้ปล่อยภัยที่สุด ก็คงไม่พ้นการดูแบบจำลองล่าสุดที่ออกมาในครั้งนี้

 

ที่มา livescience, dailymail และ smithsonianeducation

Comments

Leave a Reply