ไอเดียรักษ์โลก ‘พลาสติกย่อยสลายได้จากเปลือกล็อบสเตอร์’ นำไปใช้ได้จริงๆ!!

อย่างที่เรารู้กันว่าพลาสติกนั้นย่อยสลายยาก การย่อยถุงพลาสติกได้นั้นต้องใช้เวลากว่า 450 ปีเลยทีเดียว

และในปัจจุบันพลาสติกก็เริ่มมีจำนวนมากขึ้นในโลก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งคนและสัตว์ นั่นจึงเป็นที่มาของโปรเจกต์ The Shellworks ที่ผลิตพลาสติกที่ง่ายต่อการย่อยสลายและนำมาใช้ซ้ำได้

 

ทีม The Shellworks

 

ไอเดียคือเห็นประโยชน์จากอาหารเหลือใช้ โดยเฉพาะ สัตว์จำพวกกุ้ง ปู ที่มีเพิ่มมากขึ้นในยุโรป

โดยโปรเจกต์ The Shellworks เริ่มจากทีมนักศึกษาของ Royal College of Art และ Imperial College London ที่มีแนวคิดเปลี่ยน ‘เปลือกกุ้งล็อบสเตอร์’ ให้กลายเป็น ‘พลาสติก’

เนื่องจากในเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์นั้นมีสารไคติน (Chitin) ที่สามารถนำไปสกัดเป็นไคโตซาน (Chitosan) ได้

 

.

 

โดยไคตินเป็นโครงสร้างแข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังต่างๆ เช่นแมลง กุ้ง ปลาหมึก ส่วนไคโตซานเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู เป็นต้น

ไคโตซานเป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะจำเพาะ คือเป็นวัสดุชีวภาพ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ สามารถใช้กับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ไวไฟ

 

วิธีเปลี่ยนเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์ให้กลายเป็นพลาสติกย่อยสลายได้

 

โดยวิธีที่ The Shellworks ได้ค้นพบเพื่อนำสารไคโตซานมาผลิตเป็นพลาสติกนั้นมีอยู่ 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้

 

1. Shelly

ขั้นตอนแรกเป็นการสกัดสารไคโตซานจากเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์ ซึ่งจะได้เป็นผงแป้งออกมา และนำมาผสมกับเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์อีกครั้ง พร้อมน้ำส้มสายชูเพื่อทำพลาสติก โดยผลลัพธ์ที่ได้คือน้ำเหนียวๆ สีออกส้มขุ่นๆ

 

.

 

2. Shetty

สามารถนำน้ำที่ได้จากการผสมในกระบวนการมาสร้างเป็นแผ่นพลาสติกได้ในขั้นตอนนี้ โดยแผ่นพลาสติกสามารถนำมาดัดแปลงได้เป็นทั้งกระเป๋าเก็บเงิน หรือถุงพลาสติก เป็นต้น

 

.

 

3. Vaccy

ย่อมาจาก Vacuum former หรือเครื่องขึ้นรูปฟิล์มสุญญากาศ ที่สามารถนำแผ่นพลาสติกมารีดอากาศออกเพื่อเก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

 

.

 

4. Dippy

สุดท้าย Dippy จะขึ้นชื่อเรื่องการสร้างแผ่นพลาสติกให้เป็นสิ่งของสามมิติเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น แก้วใส่ปากกา หรืออุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงกระถางเล็กๆ ที่ใช้เพื่อปลูกต้นไม้ด้วยเช่นกัน

.

 

นอกจากนี้แผ่นพลาสติกจากธรรมชาตินั้นยังสามารถนำมาละลายน้ำได้ ซึ่งง่ายต่อการนำกลับมาเข้ากระบวนการเพื่อใช้ซ้ำได้อีกเรื่อยๆ ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ทางทีมได้มีแผนพัฒนาเพื่อหาวัสดุอื่นๆ ที่กันน้ำได้เพื่อความแข็งแรง ทนทานกว่าเดิม

 

กระเป๋าสตางค์พลาสติกสร้างโดยเครื่อง Sheety

 

ที่เก็บเครื่องเขียนจากเครื่อง Dippy

และกระถางปลูกต้นไม้แบบย่อยสลายได้จากเครื่อง Dippy เช่นกัน

 

โดยจุดประสงค์ในการสร้างโปรเจกต์นั้นเกิดขึ้นเพราะพวกเขาต้องการลดขยะพลาสติกในโลกให้ลดน้อยลง นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าทึ่ง และนำไปใช้ได้จริงด้วย

 

คลิปวิดีโอการสร้างพลาสติกโดยทีม The Shellworks

 

ที่มา: businessinsider, theshellworks, @The Shellworks, @Tech Insider


Tags:

Comments

Leave a Reply