ย้อนรอย “กลุ่มอาการ เค” โรคร้ายปลอมๆ ที่ช่วยชีวิตชาวยิวนับร้อยจากน้ำมือของนาซี

เคยได้ยินเรื่องราวของ “กลุ่มอาการ เค” (Syndrome K) กันมาก่อนไหม นี่เป็นโรคร้ายที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันในประเทศอิตาลีและโรมในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1943 ซึ่งแม้ว่าอาการของโรคจะค่อนข้างหลากหลาย แต่โดยมากแล้วคนไข้จะมีอาการไอ ตัวชา และเสียชีวิตไปในที่สุด

กลุ่มอาการ เค นั้นเชื่อกันว่าติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วมาก ถึงอย่างนั้นก็ตามคนไข้เหล่านี้กลับมักจะมีจุดรวมเดียวกัน คือพวกเขานั้นล้วนแต่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล Fatebenefratelli ทั้งนั้น

 

โรงพยาบาล Fatebenefratelli จากมุมสูง

 

ฟังแล้วรู้สึกแปลกๆ กันไหม? ถ้าใช่ก็แสดงว่าเพื่อนๆ มาถูกทางกันแล้ว นั่นเพราะ “กลุ่มอาการ เค” ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่โรคที่มีอยู่จริงๆ แต่เป็นเพียงโรคปลอมๆ ที่เหล่าผู้เกี่ยวข้องกับ โรงพยาบาล Fatebenefratelli สร้างขึ้นเพื่อซ่อนตัวชาวยิวกว่าหนึ่งร้อยชีวิต จากน้ำมือของนาซีก็เท่านั้น

กลุ่มอาการ เค เกิดขึ้นจากความคิดของหัวหน้าแพทย์ของโรงพยาบาลคุณ Giovanni Borromeo และกลุ่มหมอคนอื่นๆ หลังจากที่โรงพยาบาล Fatebenefratelli ตัดสินใจช่วยเหลือและให้ที่พักพิงแก่ชาวยิวในปี 1938

 

 

อนึ่ง ตัว K ในชื่อของกลุ่มอาการ เชื่อกันว่ามาจากชื่อของเจ้าหน้าที่เยอรมันในกรุงโรม Albert Kesselring หรือไม่ก็ Herbert Kappler

ทางโรงพยาบาลใช้ข้ออ้างเรื่อง กลุ่มอาการ เค แบบจริงๆ จังๆ ครั้งแรกในเดือนตุลาคมปี 1943 หลังจากที่นาซีบุกเข้าโจมตีสลัมชาวยิวในอิตาลี และมีชาวยิวจำนวนมากหนีมายังโรงพยาบาลแห่งนี้

 

 

ในเวลานั้นทหารชาวยิวได้ขอเข้ามาตรวจสอบโรงพยาบาล แต่ก็ต้องพบกับว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าตรวจสอบห้องบางห้องในโรงพยาบาลได้ เนื่องจากคนในห้องมีอาการป่วยเป็นโรคติดต่อ (ปลอมๆ) ที่พวกเขาไม่รู้จัก

นั่นทำให้ในท้ายที่สุดโรงพยาบาลแห่งนี้จึงสามารถช่วยชาวยิวไว้ได้เป็นจำนวนมาก จนในเวลาต่อมาที่แห่งนี้ก็ได้รับฉายาว่า “บ้านแห่งชีวิต” องค์กรมูลนิธิราอูลวอลเลนเบิร์กนานาชาติซึ่งเป็นตัวแทนของชาวยิวผู้รอดชีวิตจากสงครามเลย

 

 

และแน่นอนว่าคุณ Borromeo ผู้คิดค้นโรคสุดแปลกนี้เอง ก็ได้รับเหรียญเกียรติยศจากทางรัฐบาลในเวลาต่อมา แถมหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปในปี 1961 ชื่อของเขาก็จะถูกจดจำโดยรัฐบาลอิสราเอลในฐานะผู้ช่วยเหลือชาวยิวในช่วงฮอโลคอสต์ไปอีกนานแสนนานเลย

 

ที่มา amusingplanet, historytoday และ mentalfloss

Comments

Leave a Reply