ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ 7 เทคนิคป้องกันตัว ในยามที่ต้องเผชิญหน้ากับ “แก๊สน้ำตา”

“แก๊สน้ำตา” ถือว่าเป็นหนึ่งในยุทธภัณฑ์ที่ทั่วโลกนิยมใช้ในการ “ควบคุมเหตุจลาจล” สลายการชุมนุม

เมื่อแก๊สน้ำตาถูกยิงเข้ามากลางวง กลุ่มผู้ชุมนุมก็จะแตกกระเจิงกันออกไป ท่ามกลางควันสีขาวที่พวยพุ่งออกมา

หลายๆ คนน้ำหูน้ำตาไหล รู้สึกอึดอัดแน่นหน้าอก ซึ่งหากสูดหายใจเข้าไปมากๆ มันอาจส่งผลถึงขั้นตาบอด หูหนวก หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้เลย

 

 

ในวันนี้ #เหมียวตะปู จึงอยากจะนำเสนอ “เทคนิควิธีการป้องกันแก๊สน้ำตา” ไว้สำหรับเพื่อนๆ ทุกคน หากเราต้องมีโอกาสได้สัมผัสกับมัน เราควรป้องกันอย่างไรดี

 

1. สวมเสื้อผ้าปกปิดผิวหนังให้มากที่สุด

ข้อแนะนำแรกเมื่อเรารู้ว่าอาจต้องเผชิญกับแก๊สน้ำตา นั่นคือการสวมเสื้อผ้าแขนยาว/ขายาว ปกปิดผิวหนังเอาไว้ให้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีซึมเข้าสู่ผิวหนัง

 

 

2. ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกเอาไว้ ทางที่ดีคือใช้ “หน้ากากกันแก๊ส”

นั่นก็เพื่อป้องกันไม่ให้เราสูดดมสารเคมีเข้าไป โดยอุปกรณ์ที่ดีที่สุดก็คือ “หน้ากากกันแก๊ส” แต่ถ้าหากเราไม่มี ก็สามารถใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกเอาไว้ก่อนได้ และอาจใช้ “แว่นตาว่ายน้ำ” เพื่อป้องกันตาเอาไว้

 

3. วิ่งหนีออกมาจากพื้นที่นั้นให้เร็วที่สุด

สิ่งสำคัญหลังจากที่เราป้องกันให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้น้อยที่สุดแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องวิ่งออกมาจากจุดที่มีการกระจายของแก๊สโดยเร็วที่สุด และออกไปยืนรับอากาศบริสุทธิ์ ให้ลมช่วยขับไล่สารพิษ

 

 

4.ใช้ “น้ำเย็น” ล้างตา

เมื่อออกมาจากบริเวณนั้นแล้ว ให้ใช้ “น้ำเย็น” ล้างตาเป็นการด่วน โดยพยายามอย่าให้น้ำที่เราใช้ล้างตาสัมผัสกับเสื้อผ้าหรือผิวหนังส่วนอื่นๆ และให้สั่งน้ำมูก ไอ หรือบ้วนน้ำลายเพื่อไล่แก๊สที่อาจอยู่ในระบบหายใจ

 

5. อย่ากลืนน้ำลาย และห้ามเกาหรือถูไถไปตามผิวหนัง

การเกาหรือถูไถร่างกายจะส่งผลให้สารเคมีซึมเข้าสู่ผิวหนังได้มากกว่าเดิม รวมไปถึงการกลืนน้ำลายที่ทำให้สารเข้าไปโดยตรง

 

 

6. ถอดคอนเทคเลนส์ ล้างเสื้อผ้าและร่างกายด้วย “น้ำเย็น”

ย้ำว่าให้ใช้ “น้ำเย็น” ห้ามเป็นน้ำร้อนเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้นมันจะส่งผลให้รูขุมขนขยายตัว สารเคมีซึมเข้าไปได้มากกว่าเดิม ที่สำคัญคือ “ห้ามแช่น้ำในอ่าง” เด็ดขาด

 

7. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหลังจากนั้น

อย่างไรก็ตาม วิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นก็ไม่สามารถล้างสารพิษออกจากร่างกายได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทางที่ดีที่สุดหลังจากนั้นจึงควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้ต่อไป

 

ที่มา: aftermath , businessinsider , newssafety , thoughtco


by

Tags:

Comments

Leave a Reply