เปิดประวัติ “แก๊สน้ำตา” จากอาวุธสงคราม สู่สิ่งที่ใช้ปราบปรามจลาจลทั่วโลก

ในทุกครั้งทุกคราที่มีจลาจล ‘แก๊สน้ำตา’ คือสิ่งแรกๆ ที่ผู้คนต่างก็นึกถึง แต่ว่าถ้าหากใครยังไม่รู้จักกับเจ้าอาวุธชนิดนี้ว่ามันคืออะไร มีที่มาที่ไปยังไง คุณเข้ามาถูกที่แล้วเพราะเราจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับมันกัน!!

 

 

มันถูกเอาเข้ามาใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่กันนะ!!

 

เอาจริงๆ แล้วถ้าจะย้อนถึงวันที่ ‘แก๊สน้ำตา’ ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกของโลกต้องย้อนกลับไปถึงปี 1914

ซึ่งนั่นคือช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังปะทุอย่างดุเดือด และชนชาติแรกที่หยิบมันมาใช้ก็คือ ‘กองทัพฝรั่งเศส’ ในรูปแบบบรรจุใส่ลูกระเบิด

ทว่าชาติที่มีความสนใจและพัฒนาอาวุธชนิดนี้กลับกลายเป็นฝ่ายเยอรมัน และนับได้ว่าเป็นฝ่ายแรกที่นำมันมาใช้ในสนามรบอย่างเต็มรูปแบบ

แต่ถ้าถามว่าเจ้าแก๊สน้ำตาเข้ามาที่ประเทศไทยเมื่อไหร่กัน คำตอบก็คือมันถูกหยิบเข้ามาใช้ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั่นเอง

 

แก๊สน้ำตาคืออะไร

 

แก๊สน้ำตา เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและแก้วตาดำ ทำให้มีน้ำตาไหลออกมาก เยื่อบุตาจะแดงและแก้วตาดำจะบวม ตามองไม่เห็น น้ำมูกน้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหายเองภายในหนึ่งชั่วโมง

โดยทั่วๆ ไปแล้วจะมี 2 รูปแบบที่นิยมใช้กันนั่นคือแบบยิงและแบบขว้าง (บรรจุใส่ลูกระเบิด)

 

สิ่งที่เกิดขึ้นหากสูดแก๊สน้ำตาเข้าไป

 

การสูดแก๊สน้ำตาจะทำให้มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก หลอดลมและปอด รวมทั้งทำให้มีอาการไอและจาม ถ้าเป็นมากอาจถึงขั้นหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบได้ ส่วนมากอาการที่จะเกิดอย่างเห็นได้ชัดก็ได้แก่

1. น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด ตาแดง

2. น้ำมูกไหล จมูกบวมแดง

3. ปากไหม้และระคายเคือง กลืนลำบาก น้ำลายไหลย้อย

4. แน่นหน้าอก ไอ รู้สึกอึดอัด หายใจมีเสียงดัง หายใจถี่

5. ผิวหนังไหม้ เป็นผื่น

6. คลื่นไส้ อาเจียน

7. หากโดนในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ตาบอดสนิทและหูหนวกได้

 

เคสตัวอย่างที่มีการใช้ ‘แก๊สน้ำตา’

แก๊สน้ำตาได้เปลี่ยนจากอาวุธสงครามไปสู่การใช้เป็นอาวุธสำหรับการสลายการชุมนุม ซึ่งเคสล่าสุดที่มีการใช้ก็คือเมื่อไม่มีวันมานี้ (22 พ.ค.) ที่เกิดเหตุการณ์ชุมนุมในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย จนเจ้าหน้าที่ต้องใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม

 

ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย

 

ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาวุธที่ทั่วโลกนิยมใช้สำหรับการปราบจลาจล และถ้าดูจากฤทธิ์เดชของมันแล้วก็ดูน่ากลัวไม่ใช่เล่นเลยใช่ไหมล่ะ

แต่ก็ไม่แน่เหมือนกันนะว่าสักวันเราอาจต้องเผชิญหน้ากับมันก็เป็นได้…

 

ที่มา: wikipedia, Global News


by

Tags:

Comments

Leave a Reply