ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ไม่นานหลังจากที่เหล่าทหารหนุ่มกว่า 150,000 ชีวิตเสี่ยงชีวิตวิ่งขึ้นหาดโอมาฮาในระหว่างปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีร์ หรือที่เรารู้จักกันในฐานะเหตุการณ์ “D-Day” ที่มุมมุมหนึ่งของหาดอันใหญ่โตนี้ ยังมีผู้หญิงคนหนึ่งออกถ่ายภาพเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่คนหนึ่ง
นี่นับเป็นเรื่องที่แปลกมากสำหรับเหล่าทหารในเวลานั้น เพราะก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ไม่นาน ทางรัฐบาลได้มีการสั่งห้ามผู้หญิงสหรัฐฯ ทุกคน จากการเดินทางมายังแนวหน้าอย่างเด็ดขาดแท้ๆ
หญิงสาวคนที่ว่านั้นมีนามว่า “Martha Ellis Gellhorn” นักข่าวสาวชาวอเมริกัน ผู้มีชื่อเสียงในฐานะนักข่าวผู้กล้าหาญ ซึ่งออกจับภาพความโหดร้ายของสงครามเพื่อนำกลับมาให้ประชาชนได้ทราบนั่นเอง
อ้างอิงจากชีวประวัติของเธอ Gellhorn เริ่มทำงานเป็นนักข่าวครั้งแรกในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในฐานะผู้ตรวจสอบภาคสนามเพื่อการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินของรัฐบาลกลางซึ่งในเวลานั้นถูกตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
อย่างไรก็ตามผลงานที่ทำให้เธอเริ่มจะเป็นที่รู้จักนั้น มาจากตอนที่เธอดินทางไปยังสเปน เพื่อถ่ายภาพสงครามกลางเมืองในปี 1937 ต่างหาก
โดยการทำงานอยู่ที่นั่นไม่เพียงแต่ทำให้หญิงสาวเห็นความสามารถในการเอาตัวรอดในสงครามของตัวเองเท่านั้น แต่มันยังทำให้เธอมีแนวคิดอันแรงกล้าที่จะนำภาพความโหดร้ายของสงคราม ไปเตือนใจคนที่ไม่มีโอกาสที่จะเป็นมันด้วยตัวเอง
Gellhorn กับสามีที่พบกันในสเปนของเธอ
ด้วยเหตุผลนี้เอง ในตอนที่หญิงสาวรู้ข่าวการสั่งห้ามผู้หญิงจากการเข้าไปในพื้นที่สงครามแนวหน้า เธอจึงไม่พอใจอย่างมาก และตัดสินใจวางแผนอยู่การที่จะทำให้เธอกลายเป็นที่จดจำทันที
กล่าวคือในคืนก่อนที่เรือจะออกเดินทางไปนอร์มังดี Gellhorn ก็ได้แอบขึ้นเรือพยาบาลไปด้วย โดยอ้างว่าเพื่อสัมภาษณ์พยาบาลบนเรือ ก่อนที่เธอจะซ่อนตัวบนเรือตลอดทั้งคืน และแอบขึ้นฝั่งหาดโอมาฮาไปถ่ายรูป โดยอาศัยความชุลมุนหลังการบุกโจมตีจบลง
นี่นับเป็นการกระทำที่เสี่ยงเอามากๆ ของหญิงสาวคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ แต่มันก็ทำให้ Gellhorn กลายเป็นหญิงสาวคนแรกที่มีโอกาสได้เหยียบหาดแห่งนี้หลังจากที่การรบจบลงเลย (ทหารหญิงกลุ่มอื่นๆ ได้มาเหยียบที่หาดนี้ 8 วันหลังจากเธอ) และเผลอๆ จะเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวที่ได้เข้าร่วมเหตุการณ์ D-day เลยด้วย
Gellhorn ก็ถูกจับโดยตำรวจทหาร ไม่นานหลังจากเธอส่งรูปที่ถ่ายได้กลับประเทศ อย่างไรก็ตามเธอสามารถหนีจากการถูกส่งไปค่ายค่ายฝึกอบรมพยาบาลได้ด้วยการขอให้นักบินพาเธอไปส่งที่อิตาลีแทน
โดยหลังจากเหตุการณ์ในวันนั้น Gellhorn ก็มีโอกาสได้ไปร่วมถ่ายภาพในสงครามอีกหลายต่อหลายครั้ง ทั้งสงครามเวียดนาม ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ และแม้กระทั่งการบุกปานามาของสหรัฐอเมริกา (ในเวลานั้นเธออายุ 81 ปี!!)
กว่าที่ Gellhorn จะหยุดผลงานในสงครามของตัวเองมันก็ในตอนที่เกิดสงครามที่บอสเนียซึ่งเธอบอกว่าตัวเองแก่เกินกว่าที่จะทำงานไหวแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้เธอนั้นเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งพลังสตรีของเหล่านักข่าวไป
นับว่าน่าเสียดายมากที่เรื่องราวของ Gellhorn นั้นไม่ได้จบลงอย่างมีความสุขเท่าไหร่นัก เพราะในช่วงปลายของชีวิต เธอนั้นต้องพบกับทั้งอาการสูญเสียการมองเห็นและมะเร็งรังไข่ ดังนั้นในท้ายที่สุดแล้วเธอจึงฆ่าตัวตายด้วยการทานไซยาไนด์ในปี 1998 จบชีวิตของยอดนักข่าวหญิงไปด้วยวัย 90 ปี
ที่มา amusingplanet, huffpost และ saturdayeveningpost
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.