ล้วงความลับของ ‘ชาเขียว’ ต้นกำเนิดมาจากไหน แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

เมื่อพูดถึง ‘ชาเขียว’ หลายคนคงคิดถึงประเทศญี่ปุ่น แต่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วชาเขียวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน

ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 4,000 ก่อน จักรพรรดินามว่า เสินหนง บัณฑิตและนักสมุนไพรศาสตร์ ได้พบชาเขียวโดยบังเอิญ ตอนพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชา ขณะที่เขากำลังต้มน้ำอยู่นั้น มีลมบัตรใบชาร่วงลงมาในน้ำที่กำลังเดือด

 

 

เมื่อเขาได้ลองดื่มน้ำชาเข้าไป ก็รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้น ทำให้มีการนำชาเขียวมาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ได้รับความได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

หลังจากนั้น ในสมัยเฮอัน พระเอไซ นักบวชจากประเทศญี่ปุ่นได้เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศจีน และได้ลองดื่มชา ก่อนนำชามาปลูกในจังหวัดต่างๆ ในญี่ปุ่น โดยเฉพาะจังหวัดอูจิใกล้กับกรุงเฮอันซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยนั้น

จนประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นแหล่งผลิตชาชนิดต่าง ๆ และวัฒนธรรมการชงชาอันเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

 

 

6 ประเภทของชาเขียว

เกียวคุโระ (Gyukuro)

ขึ้นชื่อว่าเป็นราชาของชาเขียว เป็นชาที่มีคุณภาพสูงที่สุด เนื่องจากมีการบังแสงระหว่างปลูก ทำให้ชาผลิตสารอาหารออกมาให้ได้มากที่สุด มีรสชาติอูมามิ (รสเค็มอ่อนๆ กลมกล่อม) มีราคาสูง

 

 

มัทฉะ (matcha)

ทำจากใบชาคุณภาพแบบเกียวคุโระ นำไปผ่านเครื่องบดหินจนเป็นผงละเอียด ใช้ในพิธีชงชา มีหลายคุณภาพวัดตามสี ยิ่งมีสีเข้มยิ่งคุณภาพดี เป็นที่นิยมในประเทศไทย

 

เซนฉะ (Sencha)

เป็นชาที่คนญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน หากชงในอุณหภูมิสูง มีกลิ่นหอมและรสชาติขมฝาด แต่หากชงด้วยน้ำเย็นจะมีรสอูมามิ

 

บันฉะ (Bancha)

เป็นชาที่ทำจากก้านและใบชาที่เหลือจากการทำเซนฉะ มีคุณภาพและรสชาติดีรองลงมาจากเซนฉะ นิยมดื่มทั่วไป

 

เกนไมฉะ (Genmaicha)

เกิดจากการนำเซนฉะและบันฉะ ไปคั่วผสมข้าวบาร์เลย์หรือข้าวคั่ว ทำให้ได้กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์

 

โฮจิฉะ (Houjicha)

ชาที่เกิดจากการนำจากการนำเซนฉะและบันฉะ ไปคั่วจนได้กลิ่นหอม มีคาเฟอีนต่ำกว่าเซนฉะ ทานง่าย

 

ชาเขียวแต่ละชนิดอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย เช่น L-thenine ที่ช่วยให้จิตใจสงบและความรู้สึกผ่อนคลาย สารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความแก่ ป้องกันโรคมะเร็ง และลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจอีกด้วย

 

จากข้อมูลที่เรานำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ หวังว่าทุกคนจะเข้าต้นกำเนิดและประเภทของชาเขียว และคุณประโยชน์ของชาเขียวกันมากขึ้นนะฮะ

 

ที่มา: wikipedia, chadoteahouse, greenteajapan, matchasource

 


Tags:

Comments

Leave a Reply