เทนเดอร์ลอยน์ สตริปลอยน์ ทีโบน หรือริบอาย เปิดเมนูสเต็กทีไรเป็นต้องปวดหัวทุกที นอกจากชื่อจะอ่านยากแล้วยังไม่รู้ว่าจะสั่งเนื้อแบบไหนให้ถูกใจ เดาสุ่มไปก็กลัวไม่ถูกปาก พาลให้อยากเปลี่ยนร้านเสียดื้อๆ
ใครที่เป็นแบบนี้อยู่ล่ะก็ เรามีคู่มือการสั่งสเต็กเนื้อฉบับพกพา มาให้คุณได้ทำความรู้จักเมนูนี้กันมาขึ้น เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร ทานแบบไหนถึงจะอร่อย ไปหาคำตอบพร้อมกันเลย…
ทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของเนื้อ
– เนื้อสันคอ (Chunk) เนื้อสันคอ มีความนิ่มแต่ไม่เหนียว มีรสชาติที่เข้มข้น หอมอร่อย
– เนื้อสัน (Loin) ส่วนสะโพก มีความนุ่มและแพงที่สุด แบ่งเป็น
เทนเดอร์ลอยน์ (Tenderloin) หรือฟิเลมิยอง (Filet Mignon) เป็นเนื้อสันในที่มีความนุ่มอร่อยเป็นพิเศษ มีไขมันเพียงเล็กน้อย ทำให้มีราคาสูงและเป็นที่นิยมอย่างมาก
สตริปลอยด์ (Strip Lion) เป็นเนื้อสันติดมันรสเลิศ มีความนุ่มและฉ่ำมาก มีกลิ่นหอม มีราคาสูงไม่แพ้ส่วนเทนเดอร์ลอยน์ ใช้นำมาทำเมนู New York Strip
ทีโบน (T-bone) เป็นเนื้อส่วนกลางติดกระดูกระหว่างจากสตริปลอยด์ (Strip Loin) กับเทนเดอร์ลอยน์ (Tenderloin) ตัดออกมาเป็นรูปตัวที มีรสชาติฉ่ำนุ่มอร่อยไม่แพ้กัน
เซอร์ลอยน์ (Sirloin) เป็นเนื้อสันนอกส่วนสะโพกด้านบน มีเนื้อนุ่มๆ ปนมัน อร่อย ราคาไม่แพงมากนัก
– ซี่โครง (Rib) เนื้อส่วนซี่โครง รสเข้มข้น
พอร์ตเตอร์เฮาส์ (Porterhouse) เป็นเนื้อส่วนกลางเช่นเดียวกับทีโบน (T-bone) แต่ติดเนื้อส่วนเทนเดอร์ลอยน์ (Tenderloin) มากกว่าทำให้มีความนุ่มมากกว่าส่วนทีโบน
โทมาฮอร์ก (Tomahawk) เป็นเนื้อติดกระดูกเช่นเดียวกับทีโบน (T-bone) เป็นซี่โครงส่วนที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อและไขมันแบบจัดหนักจัดเต็ม เสิร์ฟเป็นชิ้นใหญ่
ริบอาย (Ribeye) เป็นเนื้อส่วนซี่โครงติดมัน มีความชุ่มฉ่ำ ได้รสชาติเนื้อเข้มข้น ราคาถูกกว่าเทนเดอร์ลอยน์ (Tenderloin) แต่ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน
ท็อป เบลด (Top Blade Steak) หรือแฟลท ไอรอน (Flat Iron) เนื้อสันคอบริเวณหัวไหล่ มีความนุ่มเป็นรองจากทันเดอร์ลอยน์ (Tenderloin) จึงมีราคาไม่แพงมาก
– เนื้อสะโพก (Round) เป็นเนื้อที่มีไขมันน้อย ตัดส่วนหลังของขามีความนุ่มกว่าส่วนเนื้อสันคอ (Chunk)
ส่วนเนื้อที่ไม่นิยมนำมาทำเป็นสเต็ก แต่นิยมนำไปปรุงเป็นสตู ตุ๋น หรือนำไปประกอบอาหารอื่นๆ ได้แก่
– เนื้อสีข้าง (Flank)
– ส่วนอก (Plate)
– ส่วนต้นขาด้านหน้า (Shank) และเนื้อเสือร้องไห้ (Brisket)
ความสุกของสเต็กเนื้อ 6 ระดับ
1. บลูแรร์ (Blue Rare) ระดับความสุกแค่ผิวด้านนอกเท่านั้น เนื้อด้านในยังดิบและมีสีแดง
2. แรร์ (Rare) ระดับความสุกประมาณ 75% เนื้อด้านนอกเป็นสีน้ำตาล ส่วนด้านในเป็นสีชมพู
3. มีเดียมแรร์ (Medium Rare) ระดับกึ่งสุกกึ่งดิบ เนื้อด้านในสุกประมาณ 50%
4. มีเดียม (Medium) ระดับความสุกที่เพิ่มขึ้นจากมีเดียมแรร์ เนื้อด้านนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อน เนื้อด้านในอมชมพูประมาณ 25%
5. ดัน (Done) ระดับเกือบสุก แต่คงเหลือส่วนที่เป็นสีชมพูเล็กน้อย
6. เวลดัน (Well Done) เนื้อสุกแบบ 100% เป็นสีน้ำตาลอ่อน มีความฉ่ำของเนื้อน้อยกว่าระดับอื่นๆ แต่ไม่ถึงกับแข็งกระด้าง
เนื้อแต่ละแบบมีรสชาติและเนื้อสัมผัสแตกต่างกันออกไป หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากในวันนี้จะทำให้เพื่อนๆ สั่งสเต็กได้ถูกใจกันมากขึ้นนะฮะ
ที่มา: ottowildegrillers, medium, nutritionadvance
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.