ย้อนประวัติ ‘ราเม็ง’ บะหมี่เส้นเหนียวนุ่ม ซุปกลมกล่อมชามนี้ กับต้นกำเนิดแสนยาวไกล

ถ้าคนไทยมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประทังชีวิตในยามหิวโหย คนญี่ปุ่นก็ทาน ‘ราเม็ง’ จนเรียกได้ว่าเป็นอาหารประจำชาติเลยก็ว่าได้ ด้วยรสชาติอร่อยถูกปาก ราคาไม่แพง ทำให้ราเม็งได้รับความนิยมไปทั่วโลก

ราเม็ง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนและถูกนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 คำว่า ‘ราเม็ง’ มาจากคำในภาษาจีน ‘ลาเมี่ยน’ หมายถึงเส้นบะหมี่ที่มีความเหนียวนุ่ม ผ่านจากกระบวนการนวดแป้งด้วยมือ

 

 

ราเม็งเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ชาวจีนผู้อพยพได้ขายราเม็งและเกี๊ยวซ่าโดยใช้รถเข็นจอดตามข้างถนน ราเม็ง ในสมัยนั้นจึงถูกเรียกว่า ‘ชินะโซบะ’ หรือ ‘โซบะเจ๊ก’ (ชื่อเรียกเชิงดูหมิ่นชาวจีนในญี่ปุ่น)

ปัจจุบันในญี่ปุ่นมีร้านขายราเม็งโดยคนญี่ปุ่นเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งหลายแห่งเปิดถึงดึกดื่น ทำให้เหล่ามนุษย์เงินเดือนหรือคนที่เพิ่งไปดื่มมาแวะทานคลายความหิว

ราเม็งมีความหลากหลายแตกต่างกันตามภูมิภาค แบ่งตามเส้น ซุป และเนื้อสัตว์ที่ใส่เป็นต้น ว่าแล้วก็ลองไปดูราเม็ง 5 แบบที่พบได้ในร้านราเม็งแทบทุกร้านในญี่ปุ่นกันเลย

 

ราเม็งชิโอะ Shio Ramen (ราเม็งซุปเกลือ)

ราเม็งน้ำใสสูตรต้นตำรับ ตัวซุปต้มกับเกลือ ทำให้ได้รสเค็มอ่อนๆ รสไม่จัด เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

 

ราเม็งโชยุ Shoyu Ramen (ราเม็งซีอิ๊ว)

ราเม็งชนิดที่พบมากที่สุด น้ำซุปมีทั้งกลิ่นหอมของซีอิ๊วขาว รสชาติเข้มข้นจากกระดูกไก่ ปลาโอและสาหร่าย ร้านอาหารบางแห่งอาจเพิ่มส่วนผสมอื่น ๆ เช่นกระดูกหมู เข้าไปด้วย

 

ราเม็งมิโซะ Miso Ramen (ราเม็งมิโซะ)

ร้านอาหารที่ขึ้นชื่อเรื่องมิโซะราเม็ง ใช้มิโซะแบบโฮมเมด ที่ได้จากการหมักข้าว ข้าวบาร์เลย์ หรือถั่วเหลืองมาทำเป็นน้ำซุป ทำให้ได้รสชาติเค็ม อาจจะใส่เนื้อสัตว์หรือผักต่างๆ เป็นท็อปปิ้งได้

 

ราเม็งทงคัตสึ

น้ำซุปทงคัตสึทำโดยการต้มกระดูก มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เมื่อเทียบกับราเมนชนิดอื่นๆ มีความเข้มข้น รสชาติกลมกล่อม เป็นที่ถูกปากของใครหลายคน

 

สึเกเม็ง Tsukemen

ราเม็งที่แยกเส้นกับซุปไว้คนละชาม ทานโดยการจุ่มเส้นเข้าไปในถ้วย ในร้านราเม็งบางร้านลูกค้าสามารถเลือกเส้นโซบะหรืออูดงทานราเม็งได้ น้ำซุปของราเม็งผ่านการเคี่ยวเป็นเวลานานทำให้มีรสหวาน เข้มข้น นิยมทานโดยวางสาหร่าย ไข่ หรือเนื้อสัตว์ลงในชามเป็นท็อปปิ้ง

 

นอกจากราเม็ง 5 อย่างที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ยังมีราเม็งอีกหลากหลายประเภทให้เพื่อนๆ ได้ลองทานกัน ใครชอบราเม็งแบบไหน คอมเมนต์บอกกันได้นะฮะ

 

ที่มา: wikipedia, matcha


Tags:

Comments

Leave a Reply