เรื่องเล่าของ ‘ข้าวซอย’ ของอร่อยแห่งล้านนา แท้จริงแล้วเริ่มต้นมาจากที่ใด?

แวะมาแอ่วเมืองเหนือทีไร เมนูที่พลาดไม่ได้เลยคือ ‘ข้าวซอย’ เส้นสีเหลืองแบนนุ่ม ในน้ำซุปที่ทำจากเครื่องแกงและกะทิเข้มข้น เติมเนื้อสัตว์ แล้วตัดเลี่ยนด้วยเครื่องเคียงอย่าง ผักกาดดองและหอมหัวแดง เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงเช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำปลา และมะนาว

 

 

ต้นกำเนิดของข้าวซอย มาจากชาวจีนฮ่อซึ่งเป็นนับถือศาสนาอิสลาม ที่อพยพมาอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและลาวเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน เดิมทีเมนูนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ‘ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ’

ตามต้นตำรับดั้งเดิม เนื้อสัตว์ที่ใส่ในข้าวซอยเป็นเนื้อไก่หรือเนื้อวัว แต่ในปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านมีการดัดแปลงโดยการเนื้อหมู หมูยอ อาหารทะเลหรืออาหารเหนืออย่าง ‘ไส้อั่ว’ ลงไปแทน

 

 

เส้นข้าวซอยทำจากแป้งข้าวสาลีผสมน้ำและไข่ แล้วนวดจนได้เนื้อเนียน รีดเป็นแผ่น แล้วซอยเป็นเส้นแบนๆ บางๆ นุ่มอร่อย จึงถูกเรียกว่า ‘ข้าวซอย’

แต่ก่อนข้าวซอยไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เป็นเพียงเส้นหมี่ราดน้ำแกงไก่หรือเนื้อ เรียกว่า ข้าวซอยน้ำใส

หลังจากนั้นมีการเพิ่มกะทิเข้าไป เพิ่มรสชาติหวานมัน กลมกล่อม ถูกปากคนไทยมากขึ้น จนได้รับความนิยมและกลายเป็นที่รู้จักมาจนถึงทุกวันนี้

 

 

ข้าวซอยจึงถือเป็นเมนูฟิวชั่น ที่ผสมผสานระหว่างอาหาจีน อาหารตะวันออกกลางและอาหารเอเชียอาคเนย์ ใครที่มีโอกาสมาเที่ยวทางภาคเหนือช่วงนี้ก็อย่าลืมแวะทานข้าวซอยกันนะคะ

 

ที่มา: scmp, wikipedia, bbc


Tags:

Comments

Leave a Reply