แม้ว่า “รูปภาพ” จะถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเก็บความทรงจำได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปรูปภาพก็สามารถเสื่อมคุณภาพ เสียหาย หรือถูกย่อยสลายไปได้
ดังนั้นเพื่อจะซ่อมแซมและคืนชีวิตให้กับความทรงที่มีอยู่ในรูปภาพ เราจึงต้องมีอาชีพที่เรียกกันว่า “นักซ่อมภาพ” …
.
และนักซ่อมภาพที่เราจะพูดถึงในวันนี้ ก็ถือ Michelle Spalding ผู้ที่เป็นทั้งช่างภาพและนักซ่อมภาพมืออาชีพ
เธอเผยว่าจุดเริ่มต้นการมาเป็นนักซ่อมภาพนี้มาจากเธอเคยถูกคนรู้จัก ขอให้ช่วยซ่อมรูปครอบครัวที่เสียหายให้หน่อย ซึ่งเมื่อเธอลงมือทำการซ่อมแซมมัน เธอกลับรู้สึกรักในความท้าทายของมันในทันที
โดยภาพที่เธอซ่อมนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพของคนรักหรือเครือญาติที่หายไป ซึ่งเธอก็คิดว่าสิ่งเหล่านี้มันสำคัญมากๆ และหากช่วยซ่อมแซมมันได้ก็คงจะดี
และแน่นอน ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีเครื่องมือที่ช่วยให้ซ่อมแซมภาพที่เสียหายที่สะดวกสบาย แต่เธอก็บอกว่าการซ่อมแซมที่ดีที่สุดต้องมาจากการทำงานอย่างพิถีพิถันเท่านั้น
นอกจากนี้เธอได้เผยเทคนิคการซ่อมแซมภาพถ่ายในแบบของเธออีกด้วย เราจะเห็นได้ว่าภาพเดิม (ภาพซ้าย) จะมีความเสียหายเกิดขึ้นมาก และภาพขวาจะเป็นภาพหลังจากที่เธอซ่อมแซมมันโดยการลดคอนทราสต์บริเวณที่เสียหาย
จากนั้นก็สุ่มนำส่วนที่ยังดีอยู่ในภาพมาเติมส่วนที่ขาดหายไป โดยสามารถใช้เครื่องมืออัตโนมัติอย่าง Content Aware Fill หรือ Healing Brush ที่อยู่ใน Photoshop ได้
อย่างไรก็ตาม เครื่องมือดังกล่าวนั้นสามารถซ่อมได้แค่เพียงผิวเผินเท่านั้น ในส่วนที่มีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในใบหน้า เธอตัดสินใจที่จะใช้ทักษะของตัวเองในการสร้างรายละเอียดขึ้นมากตัวอย่างที่หลงเหลืออยู่นั่นเอง
ภาพสีเทาด้านซ้ายนั้นเป็นภาพที่โชว์ให้เห็นถึงพื้นที่ที่รูปภาพเสียหาย ส่วนพื้นที่สีเขียวด้านขวานั้นเป็นพื้นที่ที่ข้อมูลหายไป ซึ่งเอาเข้าจริงๆ พื้นที่ที่เสียหายก็ไม่ได้มากขนาดที่หลายคนคิดกันเอาไว้
และขณะที่กำลังซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย เธอเผยว่าเธอจะซ่อมในส่วนที่มันขาดหายไปเท่านั้น ในส่วนที่ไม่อยู่ในพื้นที่เสียหาย เธอจะไม่ไปยุ่งกับมันเด็ดขาด
พื้นที่สีเขียวฝั่งซ้ายคือพื้นที่เสียหาย แต่มีรายละเอียดไม่เยอะ ดังนั้นในพื้นที่ส่วนนี้เธอเผยว่าสามารถใช้เครื่องมืออย่าง Dodged/Burned เพื่อเกลี่ยโทนสีของผิวได้
ส่วนในพื้นที่สีเหลือง ถือเป็นพื้นที่ที่มีรายละเอียดเล็กๆ น้อย ซึ่งเป็นรายละเอียดที่สามารถบอกถึงรูปลักษณ์ของคนได้เลย ดังนั้นในส่วนนี้การซ่อมแซมจะทำได้ยากที่สุด แต่พื้นที่ส่วนนี้ก็เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนที่เสียหาย
ในการสแกนรูปภาพที่เสียหายให้กลายเป็นดิจิตอล ด้วยแสงจากเครื่องสแกน มันจะทำให้เกิดไฮไลท์หรือแชโดว์ขึ้นบริเวณพื้นที่ที่เสียหาย ซึ่งสามารถทำให้ภาพดูหลอกตา
ดังนั้นสิ่งที่ Michelle ต้องทำในตอนนี้ก็คือการใช้ความรู้และเครื่องมือต่างๆ เกลี่ยโทนสีออกมาให้สมดุลและจินตนาการรูปทรงของกะโหลกของบุคคลในภาพที่เธอกำลังซ่อมอยู่ให้ได้
ขั้นสุดท้าย หลังจากความพยายามทั้งหมด ในที่สุดก็ออกมาเป็นภาพด้านซ้ายที่เราเห็นนี้ แต่อย่างไรก็ตามรายละเอียดของภาพดังกล่าวยังหายไปอยู่มาก
เธอจึงต้องใช้ Dodge/Burn เพื่อสร้างรายละเอียดและความชัดเจนขึ้นมา จนกลายเป็นดังภาพด้านขวานั่นเอง
โดยเธอเผยให้คนที่มีความคิดจะลองซ่อมแซมภาพเก่าๆ เหมือนเธอว่าอาจไม่จำเป็นที่จะต้องซ่อมออกมาถูกต้องเหมือนต้นฉบับเสมอ แต่ละคนก็มีเทคนิคและทักษะที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเอาแค่ใกล้เคียงก็เพียงพอแล้ว
ลองไปชมผลอื่นๆ ของเธอดูกัน
รักษาเด็กทารกที่กำลังป่วยอยู่ ให้กลายเป็นเด็กน้อยร่าเริง
.
ภาพนี้เป็นภาพของคุณแม่ของลูกค้าสมัยสาวๆ
.
ภาพนี้เป็นภาพคุณแม่ใบเดียวที่เหลืออยู่ของลูกค้า ซึ่งเธอตายไปก่อนที่เขาจะเกิด เพื่อระลึกถึงคุณแม่ของเขา เธอจึงต้องซ่อมแซมให้
.
ภาพถ่ายครอบครัวของลูกค้าในช่วงช่วงประมาณปี 1900-1930
.
ภาพของคุณลุงสุดที่รักใบนี้ถูกเจ้าเหมียวทำลาย
.
ซ่อมแซมรายละเอียดที่เสียไปของภาพสมัยเด็กของคนสำคัญ
.
เมื่อภาพถ่ายสำคัญมีอะไรมาบัง ก็สามารถซ่อมได้
.
แต่งสีให้ด้วย
ภาพถ่ายบรรพบุรุษสมัยที่ยังเป็นเด็ก
.
ซ่อมแซมภาพที่เสียหายของญาติห่างๆ
.
.
แม้ว่าภาพในความทรงจำจะเสื่อมสภาพและเสียหายไปตามกาลเวลา แต่ถ้ามีคนที่คอยซ่อมแซมภาพนั้นให้เราได้อยู่ก็ดีไม่น้อยเลยล่ะ
เรียบเรียงโดย #เหมียวโคบี้
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.