“ภาพถ่าย” ถือเป็นหนังฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากๆ เป็นเหมือนกระจกสะท้อนของแต่ละยุคว่าเกิดอะไรขึ้น และถูกส่งต่อมายังรุ่นสู่รุ่น เพื่อเป็นบทเรียนให้กับคนรุ่นหลัง แต่เป็นสิ่งคอยย้ำเตือน ให้ประวัติศาสตร์เหล่านี้ไม่เกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง
ตั้งแต่ปี 1942 Pulitzer Prize ก็ได้มอบรางวัลให้กับภาพต่างๆที่ถ่ายได้ยอดเยี่ยมในแต่ละปี ซึ่งแต่ละภาพให้ความรู้สึกหดหู่ไม่ใช่น้อยเลย เรามาดูกันเลยดีกว่าว่ามีภาพไหนบ้าง
กองศพของทหารญี่ปุ่นในเกาะ Tarawa แถบแปซิฟิกใต้ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1943 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ่ายโดย Frank Filan ชนะเลิศ Pulitzer Prize ในปี 1944
ภาพนี้ทำให้ Joe Rosenthal ได้รับรางวัลไปในปี 1945 ถ่ายในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นภาพที่ทหารอเมริกัน นำธงไปปักที่ภูเขา Suribachi ในประเทศญี่ปุ่น
ภาพนี้ถ่ายโดย Horst Faas ได้รับรางวัลในปี 1965 เป็นภาพที่คุณพ่ออุ้มศพของลูกขณะที่ทหารของเวียดนามมองลงมาจากรถหุ้มเกราะ เกิดขึ้นที่ชายแดนเขมรในวันที่ 19 มีนาคม 1964
ภาพสุดสะเทือนใจนี้เกิดขึ้นที่ประเทศเวียดนามทางตอนใต้ เป็นภาพของหัวหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลั่นไกปืนใส่ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนของ Viet Cong ถ่ายโดย Eddie Adams ได้รับรางวัลในปี 1969
ภาพถ่ายโดย Max Desfor ที่ได้รับรางวัลในปี 1951 เป็นภาพของผู้คนจากเมืองเปียงยางและพื้นที่ใกล้เคียง พยายามปีนป่ายสะพานข้ามแม่น้ำแทดงที่พังทลาย เพื่อข้ามไปยังดินแดนทางใต้ของประเทศ ก่อนที่จะถูกแบ่งแยกออกเป็นเกาหลีเหนือ-ใต้ อย่างในปัจจุบัน
ภาพถ่ายของเด็กหญิงชาวเวียดนามวัย 9 ขวบ Kim Phuc ที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งระเบิดของฝั่งเวียดนามใต้ ซึ่งพลาดลงมาใส่กองทหารและประชาชนของฝั่งตนเอง ภาพดังกล่าวทำให้ช่างภาพสงคราม Nick Ut ได้รับรางวัลนี้ในปี 1973
ภาพถ่ายโดย Jean-Marc Bouju ในปี 1994 เป็นภาพของหญิงสาวชาวรวันดาที่กำลังอดอยากอยู่ในสถานดูแลผู้ป่วย ซึ่งสถานที่แห่งนี้ต้องรับดูแลคนนับพันจากเหตุสงครามกลางเมืองรวันดา
เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และบุคลากรที่ไม่เพียงพอ หมอคนหนึ่งบอกว่าในแต่ละวันมีคนต้องตาย 20-25 คนจากอาการเจ็บป่วย ความหิวโหย และการสู้รบ ภาพดังกล่าวเป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่สร้างความอิมแพ็คได้เป็นอย่างดียิ่ง
ชายชาวอิรักคนหนึ่ง กำลังยืนอยู่บนรถฮัมวี่ของสหรัฐอเมริกาที่กำลังถูกเพลิงไหม้ทางตอนเหนือของกรุงแบกแดด ภาพนี้ถ่ายโดย Muhammed Muheisen ในปี 2004 แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในตอนนั้นได้อย่างชัดเจน
ภาพหญิงสาวชาวยิวที่ยืนผลักกับเจ้าหน้าที่ของทางฝั่งอิสราเอล จากการปะทะที่เกิดขึ้นในเขตเวสแบงค์เมื่อต้นปี 2006 ซึ่งถูกถ่ายโดยช่างภาพ Oded Balilty สะท้อนถึงความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่มีอย่างยาวนานของทั้งสองฝ่าย และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลง ภาพนี้ได้รับรางวัลในปีถัดมา
ช่างภาพ Adrees Latif ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปี 2008 หลังจากที่เขาบันทึกภาพของนักข่าวชาวญี่ปุ่น Kenji Nagai ซึ่งถูกทหารพม่ายิงในช่วงที่เกิดการประท้วงภายในเมืองย่างกุ้ง แม้ว่าจะยิงจนล้มลง แต่เขาก็ยังไม่ทิ้งวิญญาณนักข่าว คอยเก็บภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้น สุดท้ายเขาเสียชีวิตจากการถูกยิงในครั้งนั้น…
ภาพนี้เราคงคุ้นเคยกันดี ถ่ายโดย Neal Ulevich ในปี 1976 เว็บไซต์ต่างประเทศบรรยายว่าเป็นภาพเหตุการณ์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ตำรวจและประชาชนกลุ่มหนึ่ง ได้บุกทำลายเข้าไปในตัวมหาวิทยาลัย และทำร้ายนักศึกษาที่ออกมาชุมนุมขับไล่อดีตรัฐบาลทหาร โดยที่พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ที่มา businessinsider
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.