กว่าจะได้มาเป็นทองคำอันล้ำค่า กับเบื้องหลังที่ต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและชีวิตของคน!!

ทองคำแท้เป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูงมาก นั่นก็เป็นเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่หายากมากๆ กว่าจะได้ทองคำมาต้องลำบากทำเป็นเหมืองที่ต้องลงมือขุดและงมไปทั่วบริเวณ ซึ่งถ้าหากว่าเจอทองคำเมื่อไหร่ นั่นก็หมายถึงเงินเป็นจำนวนมากนั่นเอง แต่ทว่าเงินเหล่านั้นไม่ได้มาถึงมือคนที่ลงแรงกายและหงาดเหงื่อ แต่กลับตกไปเป็นของนายทุนแทน

 

this-gold-of-mine (1)

 

เหมืองทองคำที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากบนโลกใบนี้ ผู้คนที่เป็นแรงงานส่วนใหญ่นั้นล้วนเป็นแรงงานเด็กแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแอฟริกา ที่จะต้องเสี่ยงทั้งชีวิตและสุขภาพร่างกายในระยะยาวให้กับการทำงานอันหนักหน่วง  ทั้งก้มและขุดหาทองคำอันล้ำค่าเพื่อแลกกับอาหารและที่อยู่อาศัย

 

Matjaz Krivic ช่างภาพผู้ทำสารคดีเกี่ยวกับแรงงานเหมืองทองคำได้กล่าวเอาไว้ว่า ‘เด็กที่มีอายุน้อยเพียงแค่ 8 ปี จะต้องทนทำงานหนักแทบทั้งวันและทุกวัน’ ซึ่งภาพชุดนี้เป็นแรงงานเด็กในเหมืองทองคำแห่งหนึ่งจากประเทศบูร์กินาฟาโซ

 

this-gold-of-mine (8)

 

เขาเริ่มต้นการถ่ายทอดชีวิตของคนงานเหมืองในปี ค.ศ. 2012 โดยที่เขานั้นรู้สึกได้ถึงความดิ้นรนและการต่อสู้เพื่อหาหนทางเอาชีวิตรอดภายในประเทศนี้ และรับรู้ได้ถึงความใจกว้างต่อคนงานเหมืองด้วยกันที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

this-gold-of-mine (6)

 

โดยธุรกิจคนงานเหมืองในประเทศนี้ เป็นการค้าขายแรงงานแบบธุรกิจครอบครัว ผู้คนที่ทำงานเหมืองก็มาจากบริเวณใกล้ๆ เหมือง ซึ่ง 1 ใน 3 ของคนงานทั้งหมดเป็นเด็ก

 

this-gold-of-mine (1)

 

การทำงานจะเริ่มต้นเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และจะจบการทำงานในช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน ก็เหมือนกับการทำงานทั่วไป แต่ว่าเด็กๆ เหล่านี้จะต้องคอยขุด, งม, ล้างหิน, แบกน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย ตลอดระยะเวลา 11 ชั่วโมงแห่งการทำงานเหมืองทองคำ

 

this-gold-of-mine (17)

 

แรงงานผู้หญิงและเด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ จะทำการขุดหาทองคำบนบริเวณพื้นผิวของเหมือง และจะนำก้อนหินและดินที่ขุดไปดำเนินการต่อในขั้นตอนการร่อนและล้างหาทองคำ

 

this-gold-of-mine (7)

 

การให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีมาทำงานนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายของประเทศบูร์กินาฟาโซ ซึ่งที่แท้จริงแล้วก็ไม่ได้ต่างอะไรกันเลย เด็กๆ ที่มาทำงานเหมืองนั้นไม่ได้รับการว่าจ้างอย่างเป็นทางการ ไม่มีสัญญาอะไรทั้งสิ้น ไม่มีแม้กระทั่งประกันสังคม

 

this-gold-of-mine (13)

 

นอกจากคนในท้องถิ่นจะกลายมาเป็นแรงงานขุดหาทองคำในเหมืองแล้ว เพื่อนบ้านจากละแวกใกล้เคียงก็มาด้วย รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานนี้เช่นกัน

 

this-gold-of-mine (14)

 

เหมืองทองคำจะมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 60 เมตร ซึ่งในบางครั้งที่ขุดลงไปลึกมากเท่าไหร่ก็จะพบกับน้ำบาดาล และแรงงานเด็กผู้ชายก็จะต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำแบบนี้อยู่เป็นประจำ

 

this-gold-of-mine (11)

 

this-gold-of-mine (5)

 

อย่างไรก็ตามเพื่อความปลดภัยในชีวิตของแรงงานเหมืองทองคำ จะหยุดทำในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึง กันยายน เพราะหน้าดินนั้นสามารถยุบได้ตลอดเวลาและเกรงว่าจะฝังคนงานเหมืองทั้งเป็น

 

this-gold-of-mine (10)

 

คนงานเหมืองนั้นสามารถหาทองได้เยอะมากๆ แต่ถ้าเทียบกับผลตอบแทนที่พวกเขาได้นั้นแทบจะทดแทนกันไม่ได้เลย คนงานเหมืองเหล่านี้ได้เพียงแค่อาหาร เครื่องมือ และเงินจำนวนน้อยนิด

 

this-gold-of-mine (3)

 

และก่อนที่จะมีการเริ่มต้นขุดหาทองคำ คนงานเหมืองก็มักจะทำพิธีสวดมนต์ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้ปลอดภัยตลอดการลงขุดหาทองคำภายในเหมือง อย่างเช่นแรงงานชายวัย 24 ปี รายนี้ที่ทำการสวดมนต์ขอพรก่อนที่จะลงไปข้างในนั้น

 

this-gold-of-mine (12)

 

this-gold-of-mine (16)

 

this-gold-of-mine (4)

 

ถึงแม้ว่าจะรอดปลอดภัยจากการขุดหาทองคำ แต่ในแต่ละวันนั้นคนงานก็จะต้องคลุกคลีอยู่กับสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหมือง ไม่ว่าจะเป็นไซยาไนด์ ทองแดง และสารอื่นๆ อีกมากมาย

 

this-gold-of-mine (2)

 

งานเหมืองทองคำนั้นเป็นอะไรที่เสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามคนงานเหมืองก็ไม่ได้ใส่ใจกับผลกระทบที่จะตามมากับร่างกายของตัวเองซักเท่าไหร่

 

this-gold-of-mine (9)

 

this-gold-of-mine (15)

 

เหมืองทองคำก็เปรียบได้เหมือนกับแรงงานทาสในยุคสมัยใหม่ที่นายทุนส่วนใหญ่ยังคงมีความต้องการทองเป็นจำนวนมาก และมีผู้คนอีกจำนวนมากที่ยอมกลายมาเป็นทาสให้กับนายทุน เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่อาจมองเห็นอนาคตของตัวเองและคิดว่ามันคงเป็นสิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่จะทำให้พวกเขามีชีวิตได้ต่อไป

ที่มา : businessinsider

Comments

Leave a Reply