ในปี 2011 เพื่อนๆ คงจำกันได้ดีถึงเหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลในฟุกุชิม่า ประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากสึนามิและแผ่นดินไหว จากใจกลางของโรงไฟฟ้าราวๆ 20 กิโลเมตร เหมือนเป็นแคปซูลเวลาที่หยุดนิ่งตั้งแต่ตอนนั้นก็มิปาน
ช่างภาพที่ชื่อว่า Arkadiusz Podniesinski ได้เสี่ยงชีวิตของเขาเพื่อไปถ่ายภาพพวกนี้มาจากโซนอันตราย ลองมาดูกันได้เลยนะว่าจะขนาดไหน…
Arkadiusz Podniesinski ต้องสวมชุดป้องกันรังสีแบบหนาแน่น
ภาพของรถที่การจราจรติดขัดระหว่างการอพยพ แน่นอนว่ามันตั้งอยู่บนถนน ซึ่งตอนนี้หญ้าได้ทำการปกคลุมจนแทบไม่เห็นเค้าเดิม
รถบางคันราวกับว่าเป็นกระถางต้นไม้เลยทีเดียว ถูกปกคลุมซะจนแทบไม่เหลือ ตั้งแต่เกิดเหตุนิวเคลียร์รั่วไหล
มอเตอร์ไซค์คันนี้ ได้จอดที่นี่ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์เสียอีก
หลังจาก 4 ปีที่ไม่มีมนุษย์รุกล้ำเข้าไป ธรรมชาติก็เริ่มเข้ามายึดครองพื้นที่แถบนี้แทน
โซนอันตรายจากรังสี แผ่ขยายไปครอบคลุมสวนสนุกด้วยเช่นกัน โกคาร์ทเหล่านี้ก็ไม่ได้ขยับไปไหนเลยตั้งแต่ตอนนั้น
ค่ากัมมันตรังสีในพื้นที่ จากเครื่องวัดที่ช่างถ่ายภาพผู้กล้าของเรานำติดตัวเข้าไปด้วย
แผ่นดินแยกเกิดจากแผ่นดินไหว ซึ่งทำให้เกิดสึนามิหลังจากนั้น โดยฟาร์มแห่งนี้เป็นของนาย Masami Yoshizawa ซึ่งเขากำลังรอคอยว่าเมื่อไหร่เขาจะสามารถกลับมายังบ้านของเขาได้
เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทีวี แน่นอนว่าได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพ
ดินที่ถูกสารนิวเคลียร์ปนเปื้อน ถูกเก็บนำมารวมไว้ในที่แห่งนี้
นำมาวางซ้อนกันไว้เพื่อประหยัดพื้นที่และเป็นระเบียบ ในถุงกักกันสาร
หน้าดินที่ได้รับผลกระทบเกือบทั้งหมดถูกเก็บมาไว้ที่นี่ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่
ผู้คนต้องย้ายออกจากบ้านของพวกเขา มาอยู่ในที่พักชั่วคราว และไม่รู้ชะตากรรมว่าจะสามารถกลับไปยัง ‘บ้าน’ ของพวกเขาได้เมื่อไหร่กันแน่
สภาพความเสียหายจากแผ่นดินไหวในวันนั้นก็ยังคงมีอยู่ให้เราได้เห็นกัน
คอมพิวเตอร์ของเด็กๆ ในโรงเรียน
ซุปเปอร์มาเก็ตที่เต็มไปด้วยใยแมงมุม
สภาพหลังจากเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหว
จักรยานที่ถูกทิ้งไว้
พื้นโรงยิมที่ยุบตัว
กระดานเรียนที่ยังไม่ทันลบ
คนงานที่เข้าไปทำงานในส่วนของการทำความสะอาดในพื้นที่ ก็ต้องสวมใส่เครื่องป้องกันอย่างดี
จุดขาวๆ บนตัววัว ผลกระทบจากการกินหญ้าที่มีสารปนเปื้อนนิวเคลียร์เข้าไป
ห้องเรียนดนตรีในวันที่ต้องอพยพหนีออกจากพื้นที่
ทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่าง ยังคงตั้งอยู่ที่เดิม เหมือนเดิมตั้งแต่ตอนนั้น
เหมือนกับว่าพื้นที่แถบนี้เป็นแคปซูลขนาดใหญ่เลยล่ะ ก็ต้องขอขอบคุณช่างภาพผู้กล้าคนนี้ที่เข้าไปถ่ายภาพภายในมาให้เราได้ชมกัน สุดยอดไปเลย
ที่มา: Lifebuzz
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.