เรียกว่าเป็นประจำอยู่ในทุกๆไปอยู่แล้ว ที่จะมีการจัดอันดับภาพถ่ายอวกาศสุดสวยงามประจำปี ของสำนักข่าว Times และปีนี้ถือว่าเป็นอีกปีที่มีเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่เกิดขึ้น นั่นก็คือการที่ยานอวกาศ The New Horizon ได้เดินทางไปถึงดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล
แน่นอน ภาพถ่ายของดาวพลูโต ต้องติดอันดับเข้ามาอย่างแน่นอน แล้วอันดับที่เหลือมีใครติดบ้าง ก็ไปชมกันเลย
นี่คือภาพของดาวพลูโตที่ยาน New Horizons ได้ถ่ายไว้ขณะบินผ่าน ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ยาน New Horizons กำลังจะเดินทางไปที่ Kuiper Belt หรือ แถบไคเปอร์ บริเวณสุดขอบระบบสุริยะนั่นเอง
ภาพของเนบิวล่า Thor’s Helmet ซึ่งเกิดจากการระเบิดของดาวดาวฤกษ์ Wolf Rayet โดยดาวฤกษ์ดวงดังกล่าวนี้ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 20 เท่า และตั้งอยู่ห่างออกไปประมาณ 15,000 ปีแสง
ภาพใจกลางของพายุใต้ฝุ่นขนาดยักษ์ Maysak ที่ถ่ายได้โดยนักบินอวกาศในสถานีอวกาศนานาชาติ ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ภาพของชั้นเมฆสีฟ้าเหนือดาวพลูโต ถ่ายโดนยาน New Horizon หลังจากที่มันเดินทางผ่านไปแล้ว โดยชั้นเมฆดังกล่าว เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของแก๊สไนโตรเจน และมีเทน
ภาพถ่ายของโลกที่ระยะห่าง 1 ล้านไมล์ โดยดาวเทียมสำรวจภูมิอากาศ the Deep Space Climate Observatory
ภาพของเนบิวล่า Lagoon ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไป 4,000 ปีแสง และมีขนาดกว้างประมาณ 40 ปีแสง
ภาพของระบบ Circinus X-1 ที่มีดวงอาทิตย์สองดวงโคจรซึ่งกันและกัน ภายในประกอบไปด้วยดาวนิวตรอนมากมาย อยู่ห่างออกไปประมาณ 30,700 ปีแสง
ภาพของดาว Hen 2-427 และเนบิวล่า M1-67 ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศ์อวกาศ Hubble อยู่ห่างออกไปประมาณ 15,000 ปีแสง
ภาพของฝนดาวตก Perseid และทางช้างเผือก และเหตุการณ์ไฟป่าที่ Lake and Napa Counties เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม
ภาพ Supermoon ถ่ายจากเมือง Glastonbury ประเทศอังกฤษ
ภาพของนักบินอวกาศ Scott Kelly กำลังกลับเข้ามาในสถานีอวกาศนานาชาติ หลังจากออกไปปฏิบัติหน้าที่ภายนอกยาน
นักบินอวกาศ Kjell Lindgren ได้ถ่ายภาพทางช้างเผือกเอาไว้เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่เขาจะกลับมายังโลกในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
ภาพของ ดาว Charon ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวพลูโต ถ่ายโดยเจ้าเก่า New Horizons ที่ระยะห่างประมาณ 470,000 กิโลเมตร
ภาพของ ระบบดวงดาว The Yellow Balls ที่มีขนาดใหญ่กว่าระบบสุริยะหลายร้อยเท่า
ภาพถ่ายสีจำลองของดาวพลูโตด้วยการใช้เทคนิค principal component analysis ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในพื้นที่แต่ละส่วน
ภาพของเนบิวล่า Twin Jet หรือ PN M2-9 เป็นอีกเนบิวล่า ที่มีดาวฤกษ์ถึงสองดวงโคจรอยู่รอบกัน จนเกิดภาพอันตระการตานี้ขึ้นมา
ภาพของพระจันทร์สีเลือด หลังยอดเขา Pikes ใน Colorado Springs
นี่คือภาพที่แสดงให้เราเห็นว่า ถ้าเราไปอยู่บนดาวอังคาร ดวงอาทิตย์จะมีขนาดประมาณใหญ่แค่ไหน ถ่ายโดยยาน Curiosity
ภาพของดวงจันทร์ Dione ของดาวเสาร์ ถ่ายโดยยาน Cassini ที่ระยะห่างประมาณ 60,000 กิโลเมตร
ภาพของดาวหาง Comet 67P โดยยาน Rosetta Orbiter ที่ระยะห่างประมาณ 130 กิโลเมตร
ภาพของดวงจันทร์น้ำแข็ง Enceladus และวงแหวนดาวเสาร์ โดยยาน Cassini
ภาพของดาวพลูโตแบบความละเอียดสูง ที่เพิ่งถูกส่งมาจากยาน New Horizon
ภาพจริงๆของที่ราบ Acidalia ที่ปรากฏในหนัง The Martian ที่แสดงโดย Matt Damon
ว้าว แต่ละภาพเจ๋งๆทั้งนั้นเลยเนอะ จริงๆยังมีภาพอีกเยอะเลย ใครอยากเห็นภาพอื่นๆ ก็กดเข้าไปดูตรงที่มาได้เลยนะฮะ
ที่มา Times
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.