7 สถาปัตยกรรมสุดพิศวง ที่เกิดจากฝีมือเหล่าสถาปนิกตัวเล็กจ้อยตามธรรมชาติ!!!

สมัยนี้สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่คนจะ Wow กันมากๆ ก็คงไม่พ้นอะไรที่สูงๆ เสียดฟ้า หรือใหญ่ๆ โตๆ จนเป็นเอกลักษณ์ ที่ใครๆ ก็สามารถสังเกตได้ แต่เรื่องขนาดก็อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดความสวยงามและมีศิลปะได้เสมอไป

วันนี้เหมียวจะพาเพื่อนๆ ไปชมความงามที่เกิดในธรรมชาติ จากสถาปนิกตัวเล็กๆ ถึง 7 ชนิดด้วยกัน จากภาพถ่ายของนักท่องป่าอย่าง Nicky Bay ที่ชอบเดินป่าเพื่อไปเก็บภาพสิ่งเล็กๆ และน่าพิศวงจากทั่วโลก!!!

และเขาก็มักพบเจอสถาปัตยกรรมสวยๆ ราวกับมนุษย์สร้่างไว้ แต่ที่จริงแล้วเกิดจากสัตว์ชนิดต่างๆ ตามธรรมชาตินี่ล่ะ

 

กระท่อมไม้หลังน้อย – เกิดจากการที่หนอนผีเสื้อราตรีเก็บกิ่งไม้เล็กๆ แล้วสานมันเข้าด้วยกัน

1

 

เรียงตามความใหญ่-ยาว ขึ้นไปในแนวตั้ง เพื่อสร้างเป็นที่หลบภัยและอยู่อาศัย จนเหมือนเจดีย์ที่ทำจากไม้บนยอดกิ่งไม้เลยทีเดียว

 

แต่บางครั้งกระท่อมไม้หลังน้อยก็ไม่ได้เรียงตัวแบบนั้นเสมอไป เพราะอาจเป็นทรงกระบอกยาวแบบนี้ แล้วติดกับส่วนใต้ของใบไม้แทน

2

 

ปราการกรง – เกิดจากตัวอ่อนของผีเสื้อราตรี Arctiine 3

 

เกิดจากการถอนขนยาวๆ ที่ปกคลุมตัว มาเรียงร้อยแล้วสร้างเป็นปราการอย่างสวยงามและได้รูปทรง ซึ่งเจ้าตัวหนอนผีเสื้อก็จะขังตัวเองอยู่ข้างใน

 

หอคอยใย – พบได้เฉพาะในเปรูเท่านั้น

4

 

สำหรับหอคอยใยเหล่านี้จะมีขนาดเล็กมากๆ พบได้เฉพาะในประเทศเปรู กระทั่งในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ เกี่ยวกับการเกิดขึ้นมาของมัน

 

เต้นท์กลางป่า – เกิดจากหนอนผีเสื้อราตรีเช่นกัน

5

 

หนอนผีเสื้อราตรีบางชนิดก็ไม่ได้ใช้กิ้งไม้เล็กๆ ในการสร้างที่อยู่ แต่ใช้ใบไม้เล็กๆ แทน ซึ่งจะร้อยเรียงขึ้นไปเป็นแนวตั้งเหมือนเดิม

 

หรือบางส่วนก็จะผสมผสานระหว่างกิ้งไม้และใบไม้ และขึ้นไปติดตั้งบนใบไม้เลยก็มี

6

 

ปราการอึ – เกิดจากหนอนผีเสื้อเช่นกัน โดยมันจะอึเป็นวงกลมซ้อนๆ กันจนเกิดเป็นกำแพง7

 

นอกจากกำแพงที่เป็นอึกแล้ว ก็ยังมีส่วนหลังคาที่ปกป้องมันไว้อีกชั้นหนึ่ง เห็นแบบนี้สัตว์หรือแมลงชนิดอื่นก็คงไม่อยากเข้าใกล้แล้วล่ะ เพราะต้องฝ่าดงอึมหาศาลเท่ากำแพงเข้าไป -*-

 

และนี่ก็คือ 7 สุาปัตยกรรมไซส์จิ๋ว จากเหล่าสถาปนิกตัวจ้อยตามธรรมชาติที่นักเดินป่าได้เก็บภาพมาให้เราได้ชมกัน ถ้าเพื่อนๆ เจอสถาปัตยกรรมเล็กๆ เหล่านี้ตามสวนหลังบ้าน ก็อย่าลืมถ่ายภาพมาแบ่งกันดูด้วยนะจ๊ะ

ที่มา: Boredpanda

Comments

Leave a Reply