หากจะพูดถึงเพลงที่ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น รู้สึกกระปรี้กระเปร่า อย่างเช่นเพลง Happy ของ Pharrell Williams ที่ไม่ว่าได้ยินตอนไหนคุณก็รู้สึกอยากขยับแข้งขยับขาและแหกปากร้องตาม
แต่จากงานวิจัยชิ้นใหม่จากต่างประเทศชี้ว่า “เพลงเศร้า” ก็สามารถเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีได้ไม่แพ้เพลงให้กำลังใจหรือเพลงสนุกๆ เลยนะ
ย้อนไปในปี 2014 มีนักวิจัยที่ชื่อว่า Liila Taruffi และ Stefan Koelsch จากมหาวิทยาลัย Freie ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ได้ทำการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับเพลงเศร้าและเหตุผลที่พวกเราชอบฟังมันจากกลุ่มคนกว่า 770 คนทั่วโลก
และเมื่อทั้งคู่หาข้อสรุปได้แล้ว พวกเขาก็นำมันไปตีพิมพ์ลงในนิตยสาร PLOS ONE ทั้งนี้พวกเขาค้นพบว่าโดยรวมแล้วเพลงเศร้าสามารถทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกในเชิงบวกได้ เช่นความสงบ ความสามัคคี ความเมตตา นอกจากนี้งานวิจัยยังพบอีกว่าเพลงเศร้าทำให้คนเรารู้สึกเห็นอกเห็นใจมากขึ้น
นั่นก็เพราะว่าเนื้อเพลงทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกับศิลปินได้มากขึ้นนั่นเอง เราจึงสามารถที่จะได้สัมผัสกับความโศกเศร้าในจิตใจโดยไม่ต้องมี “ประสบการณ์ในชีวิตจริง” เช่นการจากลากับคนรัก หรือการตายจากกันไปก็ได้
การบริหารสุขภาพจิตดังกล่าวทำให้เราสามารถเข้าถึงตัวเราเองและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้ในเวลาที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเพลง, คำพูด, หรือศิลปะ เราก็สามารถเชื่อมต่อกับมันได้หากมันมีความเกี่ยวข้องกับเรา มันเกือบจะเหมือนกับการเข้าร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนปรับทุกข์กัน
เพราะแต่ละคนจะมีประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันและแบ่งปันมันให้กับคนอื่นๆ ในกลุ่ม ทุกๆ คนจะได้อะไรดีๆ กลับไปเมื่อพวกเราเชื่อมต่อกันด้วยเรื่องอะไรสักอย่าง เราจึงมีความเกี่ยวข้องกับเพลงผ่านสิ่งที่ศิลปินพยายามสื่อสารกับเรานั่นเอง
หลังจากที่ได้อ่านงานวิจัยชิ้นนี้#เหมียวฟิ้นก็ลองไปค้นดูว่าตอนนี้เพลงที่ฮิตติดชาร์ท ที่เพลงแนวไหนกันบ้าง จากการค้นหาใน EFM Top View Music ก็พบว่า 4 ใน 5 เพลงที่ถูกเปิดมากที่สุดเป็นเพลงเศร้าซะส่วนใหญ่ พิสูจน์ได้ว่าในช่วงนี้คนชอบฟังเพลงเศร้ามากกว่าเพลงรักหรือเพลงให้กำลังใจ
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.