เรื่องเศร้าเคล้าน้ำตาของเด็ก ป.6 กับการเขียนเรียงความ ตามหาแมวจรที่รักสุดขั้วหัวใจ!!

เรื่องราวต่อไปนี้ อยากจะให้เตรียมกระดาษทิชชู่ไว้ซับน้ำตากันซักหน่อย หากใครที่เป็นคนอารมณ์อ่อนไหวง่าย อาจจะถึงกับต่อมน้ำตาแตกได้

โดยเรื่องดังต่อไปนี้เป็นการเขียนเรียงความของ Chika Taniyama เด็กน้อยวัย 12 ปี เรียนอยู่ชั้น ป.6 ในช่วงเวลาปีค.ศ. 2012 จากประเทศญี่ปุ่น

 

kiki-chika (7)

 

โดยเรียงความนี้มีชื่อว่า 78 En no Inochi (78 เยน ต่อหนึ่งชีวิต) ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อเธอได้พบกับเจ้าแมวน้อยสีดำตัวหนึ่งแถวๆ บ้าน และได้ทำการตั้งชื่อให้กับมันว่าเจ้า Kiki ตามชื่อเรื่อง Kiki’s Delivery Service ของ Studio Ghibli ซึ่งทั้งสองก็เข้ากันได้เป็นอย่างดีในระยะเวลาอันรวดเร็ว

 

kiki-chika (2)

 

ภายหลังไม่กี่ปีต่อมา เจ้าเหมียว Kiki ก็ได้ให้กำเนิดลูกน้อยขึ้นมา แต่ด้วยตัว Kiki เองเป็นแมวจรจัด และไม่อาจเลี้ยงดูลูกน้อยทั้งหมดได้ เพื่อนบ้านที่ชื่อว่าคุณ Suzuki ก็อาสารับลูกๆ มันไปเลี้ยงดูแทนและ Chika เองก็สามารถแวะไปเยี่ยมเยียนได้

 

จนกระทั่งวันหนึ่งเธอได้เข้าไปเยี่ยมตามปกติ แต่กลับพบว่าไม่มีลูกแมวตัวไหนอยู่ในบ้านเลย คุณ Suzuki ก็บอกความจริงไปว่าตอนนี้ลูกแมวทั้งหมดย้ายไปอยู่ที่ศูนย์สัตว์จรจัดแล้ว

 

kiki-chika (3)

 

ตอนแรก Chika เองก็คิดว่าเหล่าแมวน้อยน่าจะได้ไปอยู่กับครอบครัวใหม่ที่สามารถดูแลพวกมันได้และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ถัดมาแค่วันเดียวในระหว่างที่เธออยู่ที่โรงเรียนและได้เล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง เพื่อนก็บอกทันทีว่า ‘ศูนย์สัตว์จรจัดเหรอ? พวกมันอาจจะไม่รอดก็ได้นะ!!’

 

kiki-chika (6)

 

ตอนแรกเธอเองก็ไม่อยากปักใจเชื่อ ก็เลยกลับมาหาข้อมูลต่อที่บ้านผ่านคอมพิวเตอร์ จนพบข้อมูลอันน่าตกใจที่ว่าหากหมาและแมวตัวไหนที่หลงทางหรือถูกทิ้ง หากไม่มีเข้าของมาแสดงตนในเวลา 3 วัน พวกมันจะถูกฆ่า

ด้วยวิธีการรมแก๊สพิษ ปล่อยให้ทรมานจนกระทั่งถึงความตาย หลังจากนั้นก็จะนำร่างไร้ชีวิตไปเผาทิ้ง โดยกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะตีเป็นเงินอยู่ที่ 78 เยน หรือประมาณ 24 บาทไทย

 

kiki-chika (5)

 

นอกจากนั้นเธอยังรับรู้ว่าทุกๆ ปี จะมีสัตว์ที่ต้องพบกับชะตากรรมอันน่าเศร้าแบบนี้มากถึง 200,000 ตัว ซึ่งก็ทำให้เธอสงสัยว่า ‘พวกมันเป็นสัตว์ก็จริง แต่มนุษย์มีสิทธิ์ที่จะพรากชีวิตของพวกมันได้ง่ายๆ ขนาดนี้เชียวหรือ?’ และในตอนนั้นเองภาพของเจ้าเหมียว Kiki ร้องเรียกหาลูกๆ ของมันก็โผล่เข้ามาในหัวของเธอทันทีและติดอยู่ในใจเธอตลอดทั้งคืน

 

kiki-chika (1)

 

แล้ววันหนึ่งเจ้าเหมียว Kiki ก็ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย Chika ก็ได้แต่หวังว่ามันจะกลับมาหา และเจ้า Kiki ก็กลับมาหาจริงๆ พบว่ามันมีผ้าพันแผลพันเอาไว้รอบท้อง เนื่องจากคุณ Suzuki พามันไปทำหมันเพื่อที่จะไม่มีลูกแมวออกมาอีก อีกทั้งยังยืนยันจะรับเลี้ยงมันเอาไว้ด้วย

 

พอเห็นแบบนี้แล้ว Chika ก็รู้สึกโล่งอกและอิจฉาในเวลาเดียวกัน คุณ Suzuki เป็นคนรักสัตว์ก็จริง แต่ก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่าเธอจะมีความรับผิดชอบพอหรือไม่

 

kiki-chika (4)

 

Chika เขียนเอาไว้ในเรียงความของเธอว่า ‘การเลี้ยงสัตว์ก็คือการรับผิดชอบอีกหนึ่งชีวิต’ ‘คุณไม่สามารถเอาไปทิ้ง เอาไปขว้างได้เหมือนอย่างของเล่น สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ก็คือถ้าหากว่าคุณไม่มีความมั่นใจพอที่จะเลี้ยงดูชีวิตของพวกมันไปจนถึงวาระสุดท้าย คุณก็ไม่คู่ควรที่จะเลี้ยงมัน’

 

kiki-chika (8)

 

เรื่องราวของอันกินใจของ Chika นั้นโดนใจผู้คนเป็นอย่างมาก รวมไปถึงคณะกรรมการผู้ตัดสินการประกวดเรียงความด้วย ถึงกับนำเรื่องราวนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรจริยธรรมให้เด็กๆ ได้อ่าน

อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มที่ต่อต้านการฆ่าสัตว์จรจัดในญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ที่ได้ทำการเรียบเรียงเรียงความนี้ มาจัดทำเป็นสมุดภาพที่อ่านเข้าใจง่ายสำหรับเด็กๆ รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบโปสเตอร์และแผ่นพับ

 

ถือว่าเป็นแรงผลักดันเล็กๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไม่น่าเชื่อ ความคิดที่ดีย่อมสร้างศีลธรรมอันดีงาม ขัดเกลาสังคมให้ดีขึ้นไปอีก สัตว์จรจัดทั้งหลายก็มีชีวิตเหมือนกัน ทางออกอื่นๆ ยังมีอยู่เสมอ

ที่มา : grapee, rocketnews24

Comments

Leave a Reply