ไขข้อข้องใจ สุนัขมีความเป็น ‘ต่างชาติ’ บ้างหรือไม่ หลากพันธุ์แต่แตกต่างกันที่ภาษาเห่า!?

ทุกวันนี้มีการแบ่งแยกเชื้อชาติตามภูมิประเทศที่เกิด นั่นคือเรื่องของเชื้อชาติเผ่าพันธ์ุของมนุษย์ อ้าว!? แล้วสุนัขล่ะ มันก็มีหลายพันธ์ุเหมือนกันนะ เออ แล้วที่นี้จะมีการแยกความเป็น ‘ต่างชาติ’ เหมือนกับมนุษย์บ้างรึเปล่า มันจะเข้าใจกันมั้ย เมื่อมาจากต่างถิ่น จะเห่าคนละภาษารึเปล่า?

 

Discover Dogs show

 

อ่ะ มันก็เป็นเรื่องที่น่าคิดเหมือนกันนะเนี่ย อย่างมนุษย์ก็จะแยกเป็นชาวโน่นนี่นั่น พูดกันคนละภาษา หากไม่เคยเรียนรู้มาก่อนก็จะพูดจะคุยกันไม่รู้เรื่อง แล้วสุนัขล่ะ ที่มันเห่า โฮ่ง – โฮ่ง ใส่กัน มันรู้เรื่องหรือ?

ซึ่งถ้าหากมามองกันจริงๆ ก็คือ สุนัขไม่ว่าจะมาจากไหน จะเป็นพันธุ์อะไร มันก็สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ เพราะภาษาสุนัขมีเพียงแค่ภาษาเดียวเท่านั้น ตามรายงานของ Psychologytoday

 

dog-language (3)

 

ไม่มีการแบ่งแยกความเป็นต่างชาติสำหรับสุนัขเลย ถือว่าเป็นสิ่งที่สากล แต่มันจะแตกต่างกันที่ภาษาถิ่นของมนุษย์ และทำการสร้างคำมาจากเสียงเห่าของสุนัขตามภาษาของตน จึงทำให้ได้ยินเสียงเห่าของสุนัขที่แตกต่างกันไป

อย่างเช่นภาษาไทยก็จะเป็น ‘โฮ่ง – โฮ่ง; บ๊อก – บ๊อก’ ส่วนภาษาอังกฤษก็จะเป็น ‘woof-woof; ruff-ruff; arf-arf; bow-wow’ ภาษาฝรั่งเศส ‘wouaff-wouaff; ouah-ouah; whou-whou’ ภาษาสเปน ‘guau-guau; gua-gua; jau-jau’ อะไรทำนองนี้

 

dog-language (2)

 

สรุปแล้วก็คือ การเห่าของสุนัขมีเพียงแค่ภาษาเดียวเท่านั้น เว้นเสียแต่ว่าอีกฝ่ายจะฟังไม่ทันก็เลยต้องเห่าให้ช้าลงหน่อยเพื่อให้สุนัขฝ่ายตรงข้ามได้ยินชัดๆ และประมวลผลทัน ส่วนแมวก็มีภาษาเดียวเหมือนกันนั่นแหละ ‘เมี๊ยววววว’ จบเลย

ที่มา : psychologytoday, theladbible

Comments

Leave a Reply