อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะใช้งานได้ก็ต้องมีไฟฟ้า และการเก็บประจุไฟฟ้าก็ต้องอาศัยแบตเตอรี่ และแบตเตอรี่จำเป็นที่จะต้องแบกรับประจุไฟฟ้าเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ยิ่งใช้งานหนักและนานเท่าไหร่ มันก็ยิ่งเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้นเท่านั้น
หลายคนมักจะประสบกับปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมก่อนวัยอันควร เพราะการใช้งานอันหนักหน่วงในโลกยุคดิจิตอล สมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ใครๆ ก็มีติดตัว และมักจะชาร์จแบตเตอรี่กันทุกวัน วันละหลายครั้ง
Mya Le Thai นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเออร์ไวน์ (UCI) ค้นพบว่าการใช้เส้นใยสายไฟนาโนเป็นวัสดุผสมในแบตเตอรี่จะช่วยเพิ่มพื้นที่และการถ่ายเทประจุไฟฟ้ามากขึ้นกว่าเดิม แต่สภาพของมันบอบบางมาก ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการคลายและเก็บประจุไฟฟ้าแบบซ้ำไปซ้ำมา
เส้นใยสายไฟนาโนขนาดอันบางเฉียบยิ่งกว่าเส้นผมมนุษย์
ด้วยเหตุนี้จึงนำเส้นใยสายไฟนาโนมาเคลือบกับแมงกานีสไดออกไซด์แล้วนำไปเคลือบกับเจล Plexiglas อีกที ผลที่ได้ก็คือมันสามารถช่วยทำให้แบตเตอรี่ Lithium-Ion สามารถรองรับการชาร์จได้มากกว่าเดิมหลายพันเท่า ประมาณ 200,000 ครั้ง ตลอดการทดลองสามเดือน โดยที่ไม่มีอาการเสื่อมแต่อย่างใด
แบตเตอรี่ Lithium-Ion
โดยปกติแล้วแบตเตอรี่ทั่วไปจะรองรับการชาร์จอย่างเต็มประสิทธิภาพตั้งแต่ 5,000 – 7,000 ครั้ง หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลงไป
ที่น่าตกใจก็คือการค้นพบในครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะความบังเอิญ และไม่แน่ว่าอาจจะนำไปใช้กับแบตเตอรี่ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตก็เป็นได้ ส่วนใครที่อยากจะอ่านเปเปอร์งานวิจัยนี้ สามารถตามมาอ่านกันได้ ที่นี่ เลย
ที่มา : iflscience, telegraph, news.uci.edu, theinquirer
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.