สำหรับคนที่ติดตามภาพยนตร์ซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ มาก็คงรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้มาบ้าง แต่ครั้งนี้ #เหมียวสามสี ไม่ได้มีเกร็ดอะไรมากมายหรอก แต่ครั้งนี้จะให้ทุกคนได้เสพภาพอันงดงามที่เกิดขึ้นในหนัง “แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม”
ถ้าพูดถึงแฮร์รี่ที่เหมียวคิดว่าสนุกที่สุดก็คงยกให้ภาค 3 นักโทษแห่งอัซคาบัน ซึ่งกำกับโดย Alfonso Cuarón ผู้กำกับดีกรีรางวัลออสการ์ แต่ถ้าถามว่าภาคไหนภาพสวยที่สุด ก็คงต้องยกให้ภาคเจ้าชายเลือดผสม ซึ่งกำกับโดย David Yates แต่เรื่องงานภาพนั้นต้องยกความดีความชอบให้กับชายที่ชื่อว่า Bruno Delbonnel ผู้กำกับงานภาพนั่นเอง
ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม นั้นจะมีงานภาพที่แตกต่างจากหนังแฮร์รี่ภาคอื่นๆ อยู่พอสมควร
นั่นก็เพราะว่าได้ผู้กำกับงานภาพฝีมือดีอย่าง Bruno Delbonnel มาช่วยนั่นเอง
ในหลายๆ ฉากนั้นก็ใช้งานภาพสื่อแทนการใช้คำพูด นั่นก็เป็นเพราะฝีมือของผู้กำกับภาพคนนี้นี่เอง
ก่อนหน้านี้เขาได้กำกับงานภาพให้กับภาพยนตร์เรื่อง Amélie และ Inside Llewyn Davis ซึ่งถ้าใครเคยดูก็ต้องรู้ว่างานภาพของสองเรื่องนี้สวยแค่ไหน ยิ่งถ้ามาอยู่ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ด้วยแล้วเป็นอะไรที่สวยงามมากๆ
เขามักจะถ่ายช็อตในมุมมองที่แปลก เพื่อให้ฉากนั้นแสดงโทนและอารมณ์ออกมาได้อย่างสวยงาม
และช็อตของรถไฟด่วนฮอกวอตส์นี้…
ก็แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ที่แตกต่างกัน อย่างภาพบนก็เป็นภาพที่สดใส แต่ภาพข้างล่างนี้เป็นรถไฟขากลับ ซึ่งเต็มไปด้วยความเศร้าและหม่นหมอง
นี่คือช็อตทางเดินในฮอกวอตส์ในช่วงต้นเรื่อง จะมีความสว่างเพื่อแสดงให้เห็นถึงชีวิตมากมายแล้วความคึกคักของผู้คน
แล้วก็มายังฉากห้องโถงใหญ่ที่ได้เห็นแบบแว๊บๆ
และเมื่อเวลาผ่านมา…
เหล่าตัวละครก็ถูกถ่ายให้ดูแยกออกจากกันไปเรื่อยๆ จนเหมือนว่ามันโล่งไปหมด
ถ้าเราดูมาตั้งแต่ต้นจะพบว่าโทนของเรื่องจะเริ่มมืดขึ้น สีที่ใช้ในฉากก็จะลดลงจนแทบจะเหลือแต่สีขาวกับดำ
แม้แต่การแข่งควิชดิชที่น่าจะเต็มไปด้วยความสนุก แต่ก็ทำให้รู้สึกว่ามันไม่สนุกเลย
หนังเรื่องนี้มักจะถ่ายให้ทุกอย่างดูสมมาตรกัน
ถึงแม้ว่าจะเป็นรายละเอียดเล็ก ก็สามารถเก็บได้หมด
สีก็ยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ของซีนนั้นๆ ได้อีกด้วย อย่างเช่นไฟในฉากนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความโกรธของแฮร์รี่ที่มีต่อเบลาทริกซ์
หรือจะเป็นฉากของมัลฟรอยที่ดูสิ้นหวัง
Delbonnel ได้ให้สัมภาษณ์ว่าสิ่งที่ท้าทายในการสร้างก็คือการเปลี่ยนฉากเดิมๆ ให้มีหลากหลายอารมณ์
บางฉากก็เป็นครั้งแรกของแฮร์รี่เลย มันก็เลยเป็นเรื่องยากที่จะจัดแสงให้มันดูแตกต่างกัน
เขาตัดสินใจที่จะให้ฮอกวอตส์กลายเป็น “ตัวละครมืด” ในเรื่อง
และทำให้ตัวปราสาทเหมือนกำลังกลืนกินตัวละครอยู่ เมื่อเนื้อเรื่องเริ่มเครียด
มุมมองที่กว้างก็จะทำให้รู้สึกถึงการป้องกัน
อีกทั้งยังค้นพบการถ่ายให้ตัวละครที่กำลังคุยกันให้ดูเหมือนมีความสัมพันธ์บางอย่างกันโดยใช้ความรู้สึกของสเกลภาพ
จากภาพให้ความรู้สึกว่าภารกิจของแฮร์รี่และดัมเบิลดอร์ดูเหมือนจะยากเกินจะทำได้
ภาพมุมไกล ทำให้รู้สึกว่าแฮร์รี่ไม่สามารถสู้กับสเนปได้เลย
“ความสัมพันธ์ของตัวละครก็ยิ่งใหญ่กว่าการต่อสู้”
นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องใช้ช็อตใกล้ในการถ่ายทอดการตายของดัมเบิลดอร์
หรือว่าจะเป็นการถ่ายตัวละครเพื่อโฟกัสเป็นจุดๆ เพื่อให้เห็นถึงการแสดงออกว่าทำอะไรหรือเกิดอะไรขึ้น
การถ่ายห้องโถงใหญ่ที่ไร้ผู้คน ก็สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้โดยไม่ต้องพูดออกมา
นั่นจึงไม่แปลกเลยว่าทำไม Delbonnel ถึงได้เข้าชิง Academy Award จากการถ่ายครั้งนี้
เป็นยังไงกันบ้างล่ะ อ่านแล้วอยากกลับไปดูภาค 6 อีกครั้งเลยใช่ไหม ลองกลับไปดูอีกครั้งสิ แล้วความรู้สึกของคุณจะเปลี่ยนไปหลังจากที่ได้อ่านทั้งหมดมา
ที่มา buzzfeed
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.