ข้อสรุปตามหลักวิทยาศาสตร์ แท้จริงแล้วอาการ ‘ผีอำ’ นั้น เกิดขึ้นเพราะอะไรกันแน่!!?

เคยมั้ย?? เวลาที่คุณกำลังนอนหลับอยู่แล้วเกิดสะดุ้งตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืน ดวงตาเบิกกว้างแต่สุดแสนทรมานเพราะขยับไปไหนมาไหนไม่ได้ แถมรู้สึกถึงแรงกดทับที่ถาโถมเข้ามาทั้งตัว หนักไปกว่านั้นคือเห็นภาพของเงาดำๆ อีกซะงั้น…อาการนี้ที่คนไทยมักจะเรียกว่า ‘ผีอำ’ นั่นเอง

แท้จริงแล้วอาการ ‘ผีอำ’ คืออะไรกันแน่ วันนี้ #จ่าสิบเหมียว ก็จะพาเพื่อนๆ ไปหาคำตอบเกี่ยวกับอาการนี้กัน แต่ไม่ใช่จะพาไปล่าท้าผีหรอกนะจ๊ะ เราจะไปหาคำตอบโดยใช้หลักการของวิทยาศาสตร์กันล่ะ!!!

 

emo20

 

แท้จริงแล้วอาการผีอำนั้นเป็นความปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนอนหลับที่เป็นผลมาจากอาการ ‘Sleep paralysis’ หรือการเกิดอัมพาตชั่วขณะตอนกำลังนอนหลับอยู่!!!

 

อาการผีอำ

1

 

จากงานวิจัย Lifetime ที่เกิดจากการรวมวิทยานิพนธ์อื่นๆ กว่า 35 เรื่อง และมีผู้เข้าร่วมทดสอบรวมกว่า 36,000 คนก็พอจะทราบได้ว่า อาการนี้สามารถเกิดขึ้นกับคนทั่วๆ ไปได้โดยจะมีเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ 7.6%

ส่วนกลุ่มที่มีการนอนผิดปกติ เช่น เหล่านักศึกษาจะพุ่งขึ้นไปราวๆ 28.3% และสูงสุดในกลุ่มของผู้ที่มีความเครียดและอาการเบื่อโลกจะอยู่ที่ 31.9% เลยทีเดียว!!!

 

อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน ไม่มีข้อยกเว้นนะจ๊ะ!!!

2

 

ทำไมเราถึงขยับไม่ได้ล่ะ!?

การหลับจะมีอยู่หลายระดับ แต่มีอยู่ระดับเดียวเท่านั้นที่ตาของเราจะกลอกไปมาขณะที่ปิดอยู่ซึ่งทางวิทยาศาสตร์จะเรียกว่าภาวะ REM (Rapid eye movement) ซึ่งมาถึงจุดๆ นี้เราจะรู้สึกว่าความฝันนั้นแทบจะเหมือนความเป็นจริงมากๆ และสมองของเราในภาวะนี้ก็จะทำงานเทียบเท่ากับตอนกลางวันเลยทีเดียว

และผู้คนก็จะเริ่มมีอาการผีอำกันในภาวะ REM นี่แหละ เพราะเป็นระบบป้องกันไม่ให้ร่างกายขยับเขยื้อนไปไหนตอนเรากำลังนอนหลับอยู่ ซึ่งกระบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า REM Atonia

ซึ่งเจ้า REM Atonia นี่แหละคือเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงมีอาการผีอำเกิดขึ้น เพราะถ้าคุณดันสะดุ้งตื่นตอนกำลังอยู่ในภาวะนี้ล่ะก็ อาการอัมพาตก็จะยังติดตัวคุณมาอยู่แม้ดวงตาจะเปิด และต้องใช้เวลาราวๆ 10-15 นาทีเลยทีเดียวอาการนี้ถึงจะค่อยๆ หมดไป (อ้างอิงจาก Sleep Paralysis)

 

3

 

แล้วบางครั้งที่เราเห็นเงาลางๆ ตะครุ่มๆ ตรงมุมห้องล่ะ!?

สำหรับอาการนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบที่ชัดเจนได้เหมือนกัน แต่สันนิษฐานเอาไว้ในเบื้องต้นว่าเป็นภาวะการตีความของสมองในขณะนั้นๆ เสียมากกว่า เลยทำให้เห็นภาพเหล่านั้นออกมา

(แทนที่จะดีนะ เพิ่มบรรยากาศความน่ากลัวเข้าไปซะอีก เห้ออออออ -*-)

 

enhanced-26087-1433449269-2

 

แท้จริงแล้วอาการนี้สามารถป้องกันได้รึเปล่า!?

สำหรับอาการอัมพาตขณะนอนหลับนั้นก็อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นคือสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่จะเร่งอัตราการเกิดของมันให้มากขึ้นไปอีกก็คือการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาการเจ็ทแลก การทำงานเป็นกะแปลกๆ หรือแม้กระทั่งความเครียดก็ต่างมีผลในเรื่องนี้ แถมมีความเกี่ยวข้องกับทั้งความดันโลหิตและอาการชักด้วยนะเออ

ง่ายๆ เลยก็คือพยายามหลีกเลี่ยงความเครียดและความเศร้าก่อนเข้านอนนั่นเอง และที่สำคัญพักผ่อนให้เพียงพอก็ถือว่าใช้ได้แล้วล่ะ

แต่ก็มีงานวิจัย Situational Factors ออกมาบอกว่าอาการนี้สามารถป้องกันได้โดยการนอนตะแคงเช่นกัน เพราะคนนอนหงายจะมีโอกาสเกิดอาการนี้นขึ้นมากกว่า 3-4 เท่าตัวเลยทีเดียว

แต่ถ้าดันตื่นขึ้นมาตอนนั้นและมีอาการอัมพาตตอนนอนเกิดขึ้นด้วยล่ะก็!!? ผู้เชี่ยวชาญของเราก็แนะนำมาว่าพยายามค่อยๆ ขยับนิ้วมือและนิ้วเท้าไปเรื่อยๆ แล้วอาการอัมพาตจะหายได้ไวขึ้นนะจ๊ะ

 

ทีนี้รู้แล้วใช่มั้ยล่ะว่ามันไม่ใช่อาการผีอำ ฮร่าาาา

gaming-emo7

 

และนี่ก็คือคำตอบและที่มาของอาการผีอำ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ มาอธิบายกันแบบคร่าวๆ นะจ๊ะ หวังว่าเพื่อนๆ จะชอบกันล่ะ แล้วไว้ #จ่าสิบเหมียว จะหาบทความดีๆ แบบนี้มาให้อ่านกันใหม่น้าาา

ที่มา: BusinessInsider


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply