เป็นงานวิจัยที่ให้ความยุติธรรมกับเหล่าเหมียวมาก เพราะมนุษย์น่ะชอบหาว่าเหมียวนอนเล่นเดินเล่นไปวันๆ แต่ที่จริงแล้วเราก็มีสาระเหมือนกันนะเออ!!!
ผลงานล่าสุดจากทีมวิจัยของทาง Kyoto University แห่งประเทศญี่ปุ่นพบว่า ที่จริงแล้วเหล่าเจ้าเหมียวนั้นมีระบบความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลสุดๆเช่นกัน โดยการเฝ้าสังเกตได้จากการฟังเสียงของพวกมัน
เจ้าเหมียวมีระบบความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล!?
จากการทดลองพบว่า เหล่าแมวเหมียวนั้นจะมีความคาดหวังที่จะเห็น หรือพบเจออะไร หลังจากการได้ยินเสียงของมัน เพราะฉะนั้นหลังจากได้ยินเสียง มันจะคิดไว้ก่อนเลยว่าเสียงเหล่านั้นคืออะไร แถมมันยังอัตราการประสบความสำเร็จที่สูงซะด้วย เมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆ
ลักษณะเช่นนี้เหมือนเป็นสัญชาตญาณของนักล่า และบางครั้งอาจก่อให้พวกมันเกิดความรู้สึกอยากไปฆ่า หรืออยากไปกินต้นตอของเสียงที่ว่า แต่สัตว์อื่นๆ จะคิดว่าเสียงเหล่านั้นเป็นสัญญาณแห่งอันตรายเสียอย่างเดียว และอาจจะคิดถึงการหนี มากกว่าการเข้าไปหาแบบเจ้าเหมียว
เหมียวสนใจฟิสิกส์!???
สำหรับการทดสอบนั้นเหล่าผู้ทดลองได้ใช้กล่องตู้เหล็กที่มีลูกเหล็กด้านใน (มีทั้งที่เป็นลูกเหล็กธรรมดาและเป็นแม่เหล็ก เพื่อให้มันกำหนดการตกและไม่ตกได้ ตอนที่เจ้าเหมียวพลิกกล่องเหล็กไปมา)
หลังจากนั้นก็เข้าไปทดสอบเจ้าเหมียวทีละตัว โดยแยกจากตัวอื่นๆทั้งหมด ขั้นแรกจะเรียกชื่อพวกมันก่อนกระตุ้นความสนใจ จากนั้นเจ้าเหมียวจะเข้ามาเขย่ากล่องนั้นๆ พลิกกล่องกลับด้าน ทำให้ลูกเหล็กภายในหล่นลงมา
หลังจากนั้นพวกเขาทำการทดลองให้แมวเล่นกล่องซ้ำ แต่ใช้แม่เหล็กด้านใน เพื่อให้ไม่ไหลไปมาเวลาแมวพลิกกล่อง และให้ผลที่ต่างออกไป
จากผลการทดลองก็พบว่าครั้งที่ 2 และ 3 ที่มีผลแตกต่างออกไปนั้น เหล่าเจ้าเหมียวจะมีความสนใจเพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษ เพราะมันจะจ้องกล่องเหล็กนานกว่าเดิมมาก เหมือนให้ความสนใจว่า เฮ้ย.. ทำไมตอนแรกมันหล่น แล้วทำไมตอนนี้มันไม่หล่น ต้องมีความผิดปกติเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงโลกแน่ๆ โอววววววว (ประโยคหลังเราเติมเอง)
นั่นหมายถึง มันให้ความสนใจในกฎฟิสิกส์เรื่องแรงโน้มถ่วงอย่างแน่นอน…!!
(แต่การทดลองนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เพราะแมว 15 ตัวจาก 45 ตัวที่รับการทดสอบนั้น กลัวเสียงเหล่านี้และเลือกที่จะหนีจากกล่องแทน…)
เห็นมั้ยล่ะ เหมียวมีความสนใจในด้านอื่นๆ นอกจากการนอนและเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์เหมือนกันนะ ><
ที่มา: rocketnews
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.