หากมีสงครามหรือความขัดแย้งต่างๆในประเทศ เราคงว่า มักมีเหตุการณ์ที่น่าเศร้าเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสีย การอพยพ หรือการลี้ภัย เรื่องราวเหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่ด้วยปัจจัยหลายๆใคระล่ะจะห้ามได้??
และนี่คือสุดยอดภาพถ่ายที่บันทึกเหตุการณ์ในช่วงสงคราม โดยภาพเหล่านี้ได้มาจากการประกวดที่จัดขึ้นโดย Magnum and LensCulture Photography Awards 2016 ซึ่งที่เราจะเอามาให้ดูในวันนี้ เป็นภาพที่ชนะการประกวดในครั้งนี้
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการปฏิวัติต่างๆ การปะทะกันของสังคม การอพยพออกจากประเทศ การเพิ่มขั้นรัฐอิสลาม และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั่วตะวันออกกลาง
นี่คือภาพที่ดีที่สุดภาพหนึ่งของการประกวด
‘การอพยพของมนุษย์จำนวนมากที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ลี้ภัยหลายร้อยหลายพันจากตะวันออกกลาง ส่วนใหญ่มาจาก ซีเรีย อิรักและอัฟกานิสถาน พวกเขาออกจากประเทศท่ามกลางความขัดแย้งและการประหัตประหาร ทำให้ตัวเลขประชากรในยุโรปมีเพิ่มขึ้น’ Mauricio Lima ผู้ชนะการประกวดบอก
ใน Horgos ประเทสเซอร์เบีย เดือนสิงหาคม ปี 2015 Roujin Sheikho (คนซ้าย) อุ้มลูกสาวด้วยความอ่อนแรง ตามด้วยลูกชายของเธอ Nabih (คนขวาเสื้อเขียว)
‘คนกลุ่มนี้เดินปะปนกับผู้ลี้ภัยจากรัสเซีย ที่ได้รับอนุญาติให้เดินผ่านประเทศฮังการี เพื่อไปยังประเทศสวีเดน’
ช่างภาพ Dougie Wallace บอกว่า ‘ด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง จึงทำให้คนบางกลุ่มใช้ชีวิตอย่างหรูหรามาก’
และนี่เป็นย่านที่บอกได้เลยว่า ไม่รวยจริงอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นแหล่งการค้าในเขต Knightsbridge และ Chelsea เมือง London
ข้อมูลเพิ่มเติม :London’s busiest streets deserted in rare pre dawn pictures
ภาพ ‘Ahmad ชายหนุ่มในวัยยี่สิบต้น ๆ เป็นสมาชิกของไอซิส เขาถูกจับกุม โดยกองหนุน Kurdish YPG ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015’ ช่างภาพ Asger Ladefoged กล่าว
ความขัดแย้งไม่ได้จำกัดอยู่แค่รัฐอิสลามเท่านั้น… ภาพของ Cris Toala Oliveres ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทหารอิสราเอลยิงแก๊สน้ำตาในระหว่างที่มีความขัดแย้งในเขตเวสแบงค์
Sandra Hoyn บอกว่า ‘บังคลาเทศเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่โสเภณีเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย…และนี่คือ Papia วัย 18 ปี นอนอยู่กับลูกค้า 2 คน ในซ่องแห่งหนึ่ง’
ซ่อง Kandapara อยู่ในย่าน Tangail ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสอง ที่มีมานานกว่า 200 ปี…มันพังยับเยินในปี 2014 แต่ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นอีกครั้งด้วยความช่วยเหลือขององค์กรพัฒนาเอกชนในท้องถิ่น ‘ผู้หญิงหลายคนเกิดที่นี่ โตที่นี่ และพวกเค้าก็ไม่รู้จะไปที่ไหน หากไม่มีเมืองนี้’ Hoyn บอก
โดยผู้ที่ให้การสนับสนุนซ่องแห่งนี้เชื่อว่า งานบริการทางเพศ เป็นงานที่ทำให้ผู้หญิงไม่อยากทำอะไรอีกแล้ว เพราะผู้หญิงได้แสดงออกถึงสิทธิในการทำงาน และในสิ้นปี 2014 สมาคมนักกฏหมายสตรีแห่งชาติของบังคลาเทศ บอกว่า ‘การจำกัดการทำงานด้วยเพศนั้น เป็นเรื่องผิดกฏหมาย’ ผู้หญิงในภาพ (บน) อายุ 17 ปี เธอแต่งงานมาได้ 9 ปีแล้ว และป้าของเธอก็ขายเธอให้กับซ่อง Kandapara เธอมีลูกชายอายุ 9 เดือนคนหนึ่ง หลังจากคลอดได้ 2 อาทิตย์ เธอก็ต้องรับลูกค้าเหมือนเดิม
Bonna หญิงโสเภณี วัย 27 ปี สู้กับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ‘ภายในซ่องนี้ผู้หญิงอาจจะอ่อนแอ แต่พวกเค้าก็มีประสิทธิภาพสูง’ Hoyn กล่าว และขั้นตอนที่เสี่ยงที่สุดคือ เมื่อผู้หญิงเข้ามาทำงานเป็นสาวบริการแล้ว พวกเค้าก็ต้องผูกมัดกับซ่องนี้ทันที
โดยหญิงสาวส่วนใหญ่ มักจะอายุประมาณ 12 ถึง 14 ปี พวกเขามาจากครอบครัวที่ยากจน และมักจะตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ที่สำคัญพวกเขาไม่มีสิทธิเสรีภาพอะไรเลย
พวกเขาอยู่ในฐานะลูกหนี้ และไม่มีสิทธิได้ออกไปไหน หรือแม้แต่การเก็บเงินส่วนตัว พวกเค้าก็ทำไม่ได้ และเมื่อทำงาน 1-5 ปี หนี้ก็จะหมด พวกเค้าก็จะกลายเป็นโสเภณีอิสระ ซึ่งสามารถที่จะปฏิเสธลูกค้าได้ และยังเก็บเงินส่วนตัวได้ด้วย
บางคนสงสัยว่า เป็นอิสระแล้ว ทำไมไม่เลิกเป็นสาวบริการ!? นั่นเป็นเพราะว่า ผู้หญิงเหล่านี้จะถูกตีตราจากสังคม พวกเค้าจึงจำเป็นต้องเป็นโสเภณีต่อไปเพื่อหาเงินให้ครอบครัว
ที่เมืองร้างแห่งหนึ่งใน St Charles ซึ่งเป็นภาพที่แสดงออกถึง ‘ชีวิตปกติ’ ของผู้คนที่นี่
ภาพนี้ถ่ายที่ Mea Shearim ซึ่งเป็นย่านที่ชาวยิวอาศัยอยู่ และมีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอิสราเอล ‘และนี่คือภาพสุดท้ายที่ผมถ่ายในวันนั้น ผมปีนขึ้นเนินเขาเล็กๆ แล้วก็ถ่ายภาพนี้’ ช่างภาพ Ofir Barak บอก
เกษตรกรใน Namibia ต้องเผชิญกับภาวะแห้งแล้ง แต่พวกเขาก็ใช้พืชตระกูลปาล์มเป็นพืชประจำตระกูล และถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับพวกเขา โดยพวกเขาจะมีวิธีและเทคนิคที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำแบบเฉพาะตัว
เป็นอย่างไงกันบ้างคะ แต่ละภาพ แต่ละเหตุการณ์ คงทำให้เราตระหนักกันมากขึ้น ว่าผลกระทบของความขัดแย้งนั้น สร้างความสูญเสียไม่ใช่น้อยเลย ดังนั้น รักกันไว้เถิดเนาะ ที่สำคัญ ต้องปรบมือให้กับช่างภาพเหล่านี้ที่ได้เก็บภาพมาฝากพร้อมเรื่องราวที่เกิดขึ้น
ที่มา metro
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.