หากคุณรู้สึกจิตตกทุกครั้งเมื่อถึงช่วงเย็นของวันอาทิตย์ เพราะรู้ว่าพรุ่งนี้เช้าจะต้องฝืนตัวเองตื่นนอนแต่เช้าเพื่อไปตอกบัตรเข้าทำงานล่ะก็ นี่คือข่าวร้ายสำหรับคุณล่ะ
นักวิจัยในมหาวิทยาลัย Ohio State University ได้นำข้อมูลจากชาวอเมริกัน 6,432 คนที่มีการเข้าร่วมกับ National Longitudinal Survey of Youth 1979 (หน่วยงานสำรวจผลระยะยาวของเยาวชนนานาชาติ) ที่จะติดตามวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 14 – 22 ปี เมื่อปี 1979
ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะถูกถามเพื่อให้คะแนนงานที่ทำอยู่ในระหว่างที่พวกเขามีอายุระหว่าง 25-39 ปี ตั้งแต่ 1 (ไม่ชอบเลย) ถึง 4 (ชอบมาก) และจากนั้นพวกเขาก็จะถูกถามเพื่อให้รายงานปัญหาสุขภาพเมื่อพวกเขามีอายุย่างเข้า 40 ไปแล้ว
ผู้คนถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. พึงพอใจงานที่ทำในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
2. พึงพอใจในงานที่ทำในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
3. ชอบน้อยแล้วค่อยๆ เพิ่มความชอบในตอนหลัง
4. ชอบมากในตอนแรกและเริ่มไม่ชอบในเวลาต่อมา
ในกลุ่มคนที่ให้คะแนนความชอบงานต่ำช่วงตอนเริ่มต้นทำงานนั้น จะมีปัญหาในด้านสุขภาพจิต มีรายงานเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลในช่วงชีวิตหลังจากนั้น
ส่วนผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่ต่ำกว่านั้น (พึงพอใจงานที่ทำในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง) มีรายงานว่าสุขภาพทางกายไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ แต่มันก็ไม่ได้มีผลมากเท่ากับปัญหาสุขภาพทางจิต
แต่น่าเสียดายที่นักวิจัยกล่าวว่าอาการปัญหาทุกอย่างไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะมันอาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
ศาสตราจารย์ฮุย เจิง ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอกล่าวว่า “ปัญหาสุขภาพจิตที่มากขึ้นสำหรับคนที่ไม่ชอบงานแบบต่อเนื่องอาจเป็นการก่อตัวของปัญหาทางด้านกายภาพในอนาคต”
“มันเพิ่มความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า นำไปสู่ปัญหาหลอดเลือด ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่แสดงออกมาจนกว่าพวกเขาจะแก่ตัวลง”
แต่มันก็ไม่ใช่ข่าวร้ายเสียทั้งหมด ถ้าคุณเกลียดงานที่ทำ แต่เรียนรู้และเข้าใจจนรู้สึกดีกับงาน ปัญหาเหล่านั้นก็จะลดน้อยลงไปและไม่รุนแรงเท่ากับกลุ่มผู้คนที่เกลียดงานของตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ศาสตราจารย์ฮุย เจิง ยังบอกอีกว่า “คุณไม่จำเป็นต้องทนทำงานที่ไม่ชอบจนมันส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรอก โดยเฉพาะสุขภาพจิตของคุณ”
ลองพิจารณาหางานที่เหมาะกับตัวเองดูไหม!?
นอกจากจะได้ทำงานที่ชอบแล้ว สุขภาพจิตอาจจะดีขึ้นด้วยนะ
ที่มา metro
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.