ว่ากันด้วยเรื่องของวิชาเคมีที่เราเรียนๆ กัน ประสบการณ์ส่วนตัวของ #เหมียวเลเซอร์ ที่จำได้แม่นเกี่ยวกับวิชานี้ก็คือการมานั่งท่องตารางธาตุต่างๆ เพื่อเอาไปสอบปากเปล่ากับคุณครูเก็บคะแนน ดีไม่ดี ตามมาหลอกหลอนจนกระทั่งสอบปลายภาคกันเลย ไม่เคยได้แตะบีกเกอร์ หยอดสารนู่นนี่นั่นเลย
อ่ะ นั่นก็เป็นเรื่องของอดีตกันไป ถึงแม้จะไม่มีโอกาสได้ทดลองด้วยตัวเอง แต่ด้วยพลังของอินเตอร์เน็ตก็สามารถหามาดูได้ไม่ยาก และก็ขอฝาก 16 ปฏิกิริยาเคมีมาให้ทุกท่านได้รับชมกัน จะเจ๋งมากน้อยแค่ไหน…
ปรอททำปฏิกิริยากับอลูมิเนียม
อลูมิเนียมเมื่อนำมาผสมกับออกซิเจนจะได้ออกมาเป็น อลูมิเนียมออกไซด์ ที่ทนทานต่อแรงขีดข่วนได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อนำมาผสมกับปรอทปุ๊บ จะทำหน้าที่ตรงกันข้าม กัดกร่อนสภาพผิวอลูมิเนียมได้อย่างรวดเร็ซ
อลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับไอโอดีน
ปฏิกิริยาระหว่างอลูมิเนียมและไอโอดีนนี้ มีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นน้ำ เมื่อทั้งสามมาผสมกันแล้วไอโอดีนก็จะพวยพุ่งออกมาเป็นประกายพร้อมกับควันสีม่วง (การทดลองนี้อันตรายนะจ๊ะ)
ปฏิกิริยาเบลูซอฟ–จาโบทินสกี (การผสมโพแทสเซียมโบรเมต ซีเรียม(IV) ซัลเฟต และกรดมาโลนิกในกรดซัลฟิวริกที่ถูกเจือจาง)
ปฏิกิริยาเบลูซอฟจาโบทินสกี (Belousov–Zhabotinsky Reaction) หรือ ปฏิกิริยาบีซี (BZ Reaction) เป็นการผสมของสารข้างต้น ส่งผลทำให้เกิดตัวแกว่งสารเคมีไม่เชิงเส้น
การหยดเลือดลงไปในไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
เลือดและเซลล์ประกอบด้วยเอนไซม์ที่เรียกว่า Catalase เมื่อมันมาเจอกับไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ มันจะเปลี่ยนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) เป็นน้ำ (H2O) และก๊าซออกซิเจน (O2)
การสลายตัวเร่งปฏิกิริยาของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
การทดลองนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า Elephant Toothpaste สามารถทดลองได้ง่ายๆ โดยใช้น้ำอัดลมผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และนำยีสต์ที่ผสมในน้ำอุ่นเทตามลงไป ก็จะตู้มกลายมาเป็นโฟมขนาดยักษ์
แม่เหล็กเหลว (Ferrofluid)
แม่เหล็กเหลวก็คือของเหลวที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างเมื่ออยู่ภายใต้สนามแม่เหล็ก โดยจะเปลี่ยนรูปร่างตามทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก
ตอกไฟฟ้าให้กลายเป็นต้นไม้
ปรากฏการณ์ไฟฟ้าก่อนถูกสลายตัวในฉนวนกันความร้อนที่เป็นของแข็ง มันเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าบางส่วนออกไป จนกลายออกมาเป็นลวดลายคล้าบกับกิ่งก้านของต้นไม้
การทำงานของแฟลชกล้อง
หลอดไฟประกอบไปด้วยขดลวดแมกนีเซียม และเมื่อชัตเตอร์กล้องทำงาน กระแสไฟจะถูกส่งผ่านขดลวด โดยไม่กระทบกับตัวแมกนีเซียม จนได้ออกมาเป็นแสงแฟลชสว่าง
การเผาไหม้ของลิเธียม
เส้นอนุภาคอัลฟาจากการสลายตัวของกัมมันตรังสี
การเผาไหม้ของ Mercury (II) thiocyanate
ดีบุกสีขาวกลายมาเป็นดีบุกสีเทาหลังถูกแช่แข็งในอุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส
เมื่อนำพิษงูมาผสมกับเลือด
โซเดียมอะซิเตทตกผลึก
การคายน้ำของน้ำตาลในกรดกำมะถัน
ส่วนอันนี้นึกว่าเป็นตัวอะไรซักอย่างโผล่ออกมาจากนรก บรึ๋ยยยยย!!
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.