เราเคยสงสัยมั้ยว่า กว่าจะเกิดมาเป็นหนึ่งชีวิตได้นั้น ต้องมีขั้นตอนและกระบวนการอย่างไร แน่นอนว่า เราคงเคยเห็นมาบ้างแล้วมา ผ่านทางสื่อต่างๆ และจากผลงานของศิลปินหรือนักวิทยาศาสตร์มากย
โดยหนึ่งในผู้ที่จะทำให้เราได้เห็นภาพกระบวนการกำเนิดชีวิตได้ชัดเจนยิ่งกว่านั้นก็คือ Lennart Nilsson ช่างภาพผู้ใช้เวลากว่า 10 ปี ในการบันทึกขั้นตอนการเกิดของมนุษย์ ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์กันเลยทีเดียว
Nilsson เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1965 เมื่อนิตยสาร LIFE ได้ตีพิมพ์ภาพถ่ายของเขาเกี่ยวกับตัวอ่อนของมนุษย์ถึง 16 หน้า ทำให้ภาพเหล่านั้น ถูกนำไปตีพิมพ์ซ้ำทันทีในนิตยสาร Stern Paris, Match, The Sunday Times และสิ่งพิมพ์อื่นๆ อีกมากมาย
Nilsson มีความหลงใหลในกล้องจุลทรรศน์และการถ่ายรูปมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว โดยเขามักจะถ่ายภาพร่างกายของมนุษย์ในระดับจุลภาค เขาพยายามถ่ายภาพทารกเช่นนี้ตั้งแต่ปี 1957 แล้ว แต่ตอนนั้น มันยังไม่ดีพอสำหรับการเผยแพร่เท่าไรนัก
Nilsson จึงพยายามทำภาพให้ออกมาดีที่สุดโดยใช้ Cystoscope ซึ่งเป็นกล้องส่องขนาดเล็กที่ใช้ในการตรวจสอบภายในของกระเพาะปัสสาวะ เขาแนบกล้องพร้อมกับแสงไฟเล็ก ๆ ลงไปในครรภ์แล้วบันทึกภาพของตัวอ่อน
ผลงานของเขา จึงทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของชีวิตว่า กว่าจะเกิดมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้นั้น จะมีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง
ตัวอสุจิกำลังเดินทางไปสู่รังไข่
รังไข่
ช่วงเวลาที่สำคัญที่อสุจิกำลังจะเข้าไปในไข่
มีอสุจิมากถึง 200 ล้านตัว แต่มีเพียงตัวเดียวที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปในไข่ได้
เมื่อซูมไปที่หัวของอสุจิ จะเห็นสารพันธุกรรมทั้งหมด
สัปดาห์ต่อมา ตัวอ่อนจะย้ายมาอยู่ในครรภ์ผ่านท่อนำไข่
หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะยึดติดกับผนังของมดลูก
ในวันที่ 18 ของการพัฒนา หัวใจทารกในครรภ์จะเริ่มเต้น
ตัวอ่อนที่พัฒนา 22 วัน โดยพื้นที่สีเทานั้น จะกลายเป็นสมองของเด็ก
28 วันหลังจากการปฏิสนธิ
ในสัปดาห์ที่ 5 ตัวอ่อนจะมีความยาว 9 มิลลิเมตร โดยจะเริ่มเห็นเป็นใบหน้าที่มีปาก จมูก และตา
40 วันของการพัฒนา เซลล์ภายนอกของทารกในครรภ์ ได้ยึดติดกับพื้นผิวผนังมดลูกในรูปแบบรก
สัปดาห์ที่ 8 ของการพัฒนา
ตัวอ่อน 10 สัปดาห์ เปลือกตาจะเริ่มเปิดครึ่งหนึ่ง และในไม่กี่วันตาจะค่อยๆ เปิดออกได้เต็มที่
และในสัปดาห์ที่ 10 นี้ ทารกเริ่มขยับแขน ขาไปมา เพื่อสำรวจสิ่งรอบๆ ตัว
16 สัปดาห์
เริ่มมองเห็นเส้นเลือดผ่านผิวหนัง
18 สัปดาห์ ทารกเริ่มรับรู้ถึงเสียงจากภายนอกได้
19 สัปดาห์
ใน 20 สัปดาห์ ตัวอ่อนมีความยาว 20 เซนติเมตร และมีเส้นผมขึ้นเล็กน้อย
24 สัปดาห์
.
36 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกครบกำหนดคลอด
A Child is Born เป็นหนังสือของ Nilsson ที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี 1965 และขายหมดในเวลาไม่กี่วัน และยังถูกตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง จนกลายเป็นชุดภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ปัจจุบันแม้เขาจะมีอายุ 91 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังสนใจในวิทยาศาสตร์และการถ่ายรูปไม่ต่างจากวัยหนุ่มเลย
เป็นชุดภาพที่ยอดเยี่ยมจริงๆ เพราะกว่าจะได้ภาพแบบนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แถมยังต้องใช้เวลานานด้วย
ที่มา brightside
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.