20 เทคนิค “การจัดภาพ” ฉบับมืออาชีพแบบเข้าใจง่าย รับรองว่าจะถ่ายสวยขึ้นเยอะ!!

ปัจจุบันนี้มีคนหันมาถ่ายภาพกันมาขึ้น เพราะว่ากล้องถ่ายรูปเป็นอะไรที่คนเข้าถึงได้ง่าย มีราคาถูก โดยเฉพาะกล้องที่ติดมากับโทรศัพท์ในปัจจุบันก็มีคุณภาพที่สูงมากพออยู่แล้ว

แต่ต่อให้เรามีกล้องที่เทพยังไง ถ้าเราถ่ายออกมาไม่ดี มันก็เป็นภาพธรรมดาๆ ภาพหนึ่ง แต่ถ้าคุณใส่เทคนิค จัดองค์ประกอบภาพให้มันสักหน่อย ปรับแสงปรับโหมดให้เหมาะกับสิ่งที่จะถ่าย ภาพภาพนั้นก็จะกลายเป็นภาพที่มีคุณค่าขึ้นมา

และวันนี้ #เหมียวสามสี จะพาทุกท่านมารูปจักเทคนิคขั้นพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพ นั่นก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั่นเอง ถ้าเรารู้จักมัน ภาพที่เราถ่ายก็จะดูสวยขึ้น แถมยังเป็นเทคนิคที่จำง่าย และใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้มาจากช่างภาพมีอาชีพที่เขาได้เขียนแนะนำไว้ใน bocphotography.com จะมีอะไรบ้าง เราไปชมกันเลย

 

1. กฎแห่งสาม

ถือเป็นเทคนิคง่ายๆ สำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นถ่ายภาพเลยก็ว่าได้ เพราะว่ากล้องใหญ่ๆ ใส่มากก็จะมีฟังค์ชั่นแบ่งภาพออกเป็น 9 ส่วนแบบนี้ ซึ่งจะได้ภาพสี่เหลี่ยมแนวนอน 3 ช่อง และแนวตั้งอีก 3 ช่อง

เทคนิคนี้จะทำให้เราได้เห็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพนั้นๆ อาจจะมีสิ่งเดียวหรือหลายสิ่งผ่านเส้นหรือผ่านจุดที่เส้นตัดกัน ซึ่งปกติเรามักจะจัดสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงกลาง แต่ถ้าเราจัดให้ไม่อยู่ตรงกลางอาจจะน่าสนใจยิ่งกว่าก็ได้

เหมือนตัวอย่างภาพข้างล่างนี้ ได้ลองเอาต้นไม้ใหญ่สุดมาวางไว้ตรงเส้นแนวตั้งด้านขวา ทำให้ภาพดูมีอะไรมากกว่าการจัดเอาต้นไม้มาอยู่ตรงกลาง

rule-of-thirds-composition-57dfc2d64ad27__880

 

เช่นเดียวกับภาพโบสถ์แห่งนี้

rule-of-thirds-cityscape-57dfc2e7ef351__880

 

2. ตรงกลางและสมมาตร

ก่อนหน้านี้ได้บอกไปว่าอย่างวางสิ่งที่จะถ่ายไว้ตรงกลางใช่ไหม ครั้งนี้เราจะให้มันมาอยู่ตรงกลาง แต่ตรงกลางนี้มันไม่เหมือนกับข้างบน เพราะเราต้องดูด้วยว่าถ้ามันอยู่กลางแล้วมันสมมาตรกันทั้งสองข้าง มันก็คือดี

เหมือนอย่างภาพสะพานนี้ถ้าเราถ่ายจากตรงกลางจะเห็นได้ว่าทั้งสองด้านมันเท่ากันอย่างสวยงาม

symmetry-composition-57dfc394566ae__880

 

หรืออย่างในภาพนี้มีการผสมระหว่างเทคนิคกฎแห่งสามกับตรงกลางเข้าด้วยกัน เราจะได้เห็นเงาสะท้อนจากผืนน้ำเป็นแกนกลาง อีกทั้งยังจัดตำแหน่งต้นไม้ให้ไม่อยู่ตรงกลางเกินไปด้วย

symmetry-composition-2-57dfc3b72b3ee__880

 

3. เน้นด้านหน้าพร้อมฉากหลัง

ภาพทั่วไปที่เราถ่ายมักจะเห็นเป็นแบบ 2 มิติ แต่เทคนิคนี้จะทำให้ภาพของเราดูเป็น 3 มิติ ยิ่งขึ้นด้วยการเน้นวัตถุด้านหน้าพร้อมกับทำให้เห็นฉากหลังไปด้วย

อย่างเช่นภาพน้ำตกนี้ใช้เลนส์แบบกว้างในการถ่าย โดยเน้นไปที่กองหินด้านหน้า

sonsbeek-waterfall-arnhem-57dfc3cf4ffdc__880

foreground-interest-rocks-57dfc41d95c76__880

 

หรืออย่างในภาพนี้เราจะสังเหตได้ว่าเขายืนถ่ายที่ท่าเรือแบบใกล้มากๆ และอยู่ตรงจุดด้านล่างของภาพ โดยเน้นไปที่จุดของที่ยึดสมอเรือเป็นหลัก พร้อมกับให้กล้องเห็นภาพข้างหลังอย่างชัดเจน

dublin-docklands-by-night-57dfc42df411e__880

foreground-interest-dock-cleat-57dfc442671d6__880

 

4. กรอบในกรอบ

ตรงตามชื่อเลยก็คือเราถ่ายภาพผ่านกรอบ ให้ภาพนั้นอยู่ในกรอบอีกที เทนนิคนี้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เราได้เห็นความลึกของภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพประตู หน้าต่าง กรอบอะไรก็ตามแต่

piazza-san-marco-archway-57dfc509d468c__880

 

หรือบางทีกรอบก็ไม่จำเป็นต้องเกิดจากสิ่งที่มนุษญ์สร้างขึ้นก็ได้ ธรรมชาติก็สามารถเป็นกรอบได้เช่นกัน ถ้าเรารู้จักหามุมมองให้เจอ เหมือนอย่างภาพต้นไม้นี้ก็สามารถเปลี่ยนมันให้เป็นกรอบได้เหมือนกัน

framing-the-scene-trees-57dfc52d4d8e1__880

 

5. เส้นนำทาง (เส้นนำสายตา)

นำทางในที่นี้หมายถึงการนำทางสายตาคนดูให้ไปสู่สิ่งที่เราอยากให้เห็น ซึ่งเส้นนี้อาจจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น ถนน พื้นหรือกำแพงที่มีลายเป็นเส้น เหมือนอย่างภาพหอไอเฟลนี้ อีกทั้งยังใช้เทคนิคความสมมาตรอีกด้วย

leading-lines-composition-1-57dfc55ad0419__880

 

และไม่จำเป็นว่าเส้นนำทางนั้นจะต้องตรงไปหาจุดหมาย เหมือนอย่างในภาพนี้ที่มีเส้นทางที่คด แต่มันก็นำทางอ้อมต้นไม้ต้นใหญ่ไปได้ อีกทั้งภาพนี้ยังใช้เทคนิคกฎแห่งสามด้วย

leading-lines-composition-2-57dfc57413955__880

 

6. เส้นทแยงและสามเหลี่ยม

เทคนิคนี้จะทำให้ภาพเกิดความตึงแบบไดนามิคขึ้นอย่างชัดเจน งงล่ะว่าว่ามันคืออะไร มันค่อนข้างอธิบายยากนิดหนึง ลอกนึกภาพเส้นแนวตั้งกับเส้นแนวนอน ทั้งสองเส้นนี้ทำให้เรารู้ว่ามันมั่นคง

เหมือนคนออกมาจากร้านเหล้าตอนตี 2 แล้วยืนตรงได้ รู้เลยว่าไม่เมา แต่ถ้าคนนั้นยืนเป๋ๆ เอียงหน่อยๆ นั่นทำให้เรารู้สึกตึง ลุ้น ว่าจะล้มหรือไม่ล้ม นั่นแหละคือเทคนิคนี้ มันทำให้เรามีอารมณ์ร่วมไปด้วย

และสามเหลี่ยมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนั้นได้เป็นอย่างดี เหมือนอย่างภาพสะพานนี้ ตัวสะพานเป็นสามเหลี่ยมอยู่แล้วอย่างชัดเจน แต่ถ้าดูดีๆ การจัดองค์ประกอบทำให้เราได้เห็นสามเหลี่ยมที่มากขึ้นกว่าเดิม

diagonals-photography-composition-57dfc58b35612__880

 

ภาพนี้ก็เช่นกัน มันอาจจะไม่เชิงเป็นสามเหลี่ยมที่สมบูรณ์ แต่ภาพมันก็ทะแยงจนทำให้เกือบเป็นสามเหลี่ยม ซึ่งเราก็สามารถมองด้วยตาเปล่าเห็นได้ว่าภาพนี้เกิดมุมขึ้นมา

composition-implied-driangles-dynamic-tension-57dfc59a40623__880

 

7. ลวดลายและรายละเอียด

ธรรมชาติของคนเราแล้วมักจะต้องตากับสิ่งที่มีลวดลาย(แพทเทิร์น)เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือธรรมชาติสร้างขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการถ่ายภาพแพทเทิร์นเหล่านี้จึงออกมาสวย แต่ต้องมาพร้อมกับรายละเอียดของมันด้วย

อย่างภาพข้างล่างนี้เราจะได้เห็นพื้นหิ้นที่มีลวดลายที่ส่งต่อไปยังสิ่งก่อสร้างที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งก็เต็มไปด้วยลวดลายอีกเช่นเดียวกัน แต่ภาพก็ยังไม่ทิ้งรายละเอียดของลวดลาย ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดมาก

domed-building-monastir-1-57dfc5cf99959__880

 

ภาพนี้เราก็จะได้เห็นรายละเอียดของหินที่อยู่บนพื้น อาจจะไม่ชัดเท่ารูปแรก แต่ภาพนี้เล่นกับแสงที่ส่องเข้ามา ทำให้เราได้เห็นแพทเทิร์นจากพื้น กำแพง และเพดาน ถ้าเรามองให้ดีๆ อีกนิดก็จะรู้ว่าภาพนี้ใช้เทคนิคกรอบในกรอบด้วย

man-in-archway-tunisia-1-57dfc5f537973__880

 

8. กฎแห่งเลขคี่

ฟังดูอาจจะแปลกไปนิดสำหรับข้อนี้ แต่มันมีทฤษฎีที่บอกไว้ว่าเลขคี่นั้นเป็นเลขที่ดึงดูดสายตาของเราได้ดีที่สึด เพราะว่ามันมองได้ง่าย ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็แล้วแต่กรณีไป

อย่างเช่นในภาพนี้ เราจะเห็นได้ว่ามีโคมไฟอยู่ 3 ดวงพร้อมกับคนอีก 3 คน ถ้าลองนึกว่ามีแค่ 2 คน ภาพนี้ก็อาจจะไม่ได้สวยเหมือนอย่างภาพนี้ก็ได้ อีกทั้งยังใส่เทคนิคกรอบในกรอบมาอีกด้วย

rule-of-odds-57dfc61f26317__880

 

แล้วมาดูภาพนี้กันบ้าง เราจะเห็นชายสองคนกำลังนั่งคุยกันอยู่ อย่างที่บอกว่ากฎแห่งเลขคี่นั้นใช้ได้บางกรณีเท่านั้น ภาพนี้ก็มีความงามอยู่ในตัวอยู่แล้ว

gondoliers-relaxing-venice-version-2-57dfc632e3b8a__880

 

9. เติมเต็มกรอบ

การถ่ายให้เต็มกรอบก็คือการถ่ายภาพแบบที่ไม่เหลือพื้นที่วิ่งให้อย่างอื่นเลย โดยที่เราจะโฟกัสไปที่วัตถุหลักของเรา ซึ่งจะทำให้ผู้เสพได้เห็นภาพที่เราต้องการจะสื่อจัดเจน แต่เทคนิคนี้ก็ใช้ได้กับบางกรณีเช่นเดียวกัน

อย่างภาพสิงโตตัวนี้ เห็นได้ชัดเลยว่ามาแบบเต็มจอ ทำให้คนที่เห็นภาพไม่ต้องสนใจอย่างอื่นนอกจากสิงโตตัวนี้ และยังได้เห็นรายละเอียดเช่นดวงตา เส้นขนอีกทั้งยังใช้กฎแห่งสามในการถ่ายภาพนี้ด้วย

lion-portrait-57dfc6e176f31__880

 

ภาพนี้ก็เช่นกัน เขาพยายามที่จะครอปให้เหลือขอบนิดๆ แต่จะยังทำให้เห็นรายละเอียดของสิ่งก่อสร้างให้ได้มากที่สุดเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่ากฎข้อนี้เน้นการสื่ออารมณ์ไปยังวัตถุหลักของภาพเพียงสิ่งหนึ่ง และมักจะถ่ายทอดออกมาได้อย่างทรงพลัง

notre-dame-cathedral-front-facade-paris-57dfc70f46972__880

 

10. การทิ้งพื้นที่

จากก่อนหน้าที่แนะนำการทำให้เต็มกรอบ คราวนี้มาลองการทิ้งพื้นที่ดูบ้าง ซึ่งเทคนิคนี้จะทำให้ภาพออกมาเรียบง่ายสไตล์มินิมอล ซึ่งก็จะทำให้คนหันมาโฟกัสที่วัตถุหลักเช่นเดียวกัน

เหมือนอย่างภาพนี้เห็นได้ชัดเลยว่ารูปปั้นนั้นเด่นออกมาจากพื้นหลังที่เป็นฟ้าโล่งๆ ทำให้เราผ่อนคลายเหมือนมีพื้นที่หายใจเยอะมากขึ้น เป็นที่มาว่าภาพแนวนี้ทำให้รู้สึกสบาย ง่ายๆ

composition-negative-space-57dfc7274f7c4__880

 

11. ความเรียบง่าย และ มินิมอล

อย่างที่พูดไปเมื่อสักครูเกี่ยวกับความเรียบง่ายและมินิมอล ซึ่งสองสิ่งนี้มาควบคู่กัน ความเรียบง่ายเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการจัดองค์ประกอบภาพ

อย่างคำพูดที่ว่า ‘less is more’ ก็คือน้อยๆ แต่มหาศาล ในภาพก็จะไม่มีอะไรมากแต่รู้สึกทรงพลัง อาจจะเป็นภาพที่ซูมเหมือนภาพน้ำที่ค้างอยู่บนใบไม้ภาพนี้ มันคือสิ่งธรรมดา แต่ภาพถ่ายทำให้มันทรงพลังขึ้นได้

composition-57dfc768b8b82__880

 

หรือจะเป็นภาพต้นไม้ต้นเดียวในช่วงรุ่งอรุณนี้ก็ถ่ายออกมาให้ดูเรียบง่าย ลองคิดดูว่าถ้ามีต้นไม้มาอีกสองสามต้น ก็คงดูรกไปหน่อย

เต็มไปด้วยเทคนิคมากมายเช่นการทิ้งพื้นที่ อีกทั้งยังมีการใช้กฎแห่งสามและเส้นนำทางอีกด้วย

composition-57dfc77ceb64a__880

 

12. การแยกวัตถุ

การใช้ความลึกตื้นของภาพนั้นเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับการแยกองค์ประกอบของภาพ และวิธีที่ใช้ก็คือทำให้ภาพข้างหลังเบลอไปเลยเพื่อที่จะไม่ให้มันรบกวนวัตถุที่เราต้องการจะสื่อ

อย่างภาพนี้แมวกำลังซ่อนอยู่ในกล่องไม้ เขาได้ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f3.5 ซึ่งกว้างมากๆ และมันทำให้ฉากหลังเบลอด้วย ซึ่งเทคนิคนี้ก็ได้ใช้กับภาพหยดน้ำบนใบไม้ที่เห็นไปก่อนหน้านี้

composition-57dfc7971f6d7__880

 

13. เปลี่ยนมุมมอง

ภาพส่วนมากจะถ่ายจากระดับสายตา ซึ่งมันก็สูง 1-2 เมตรเท่านั้น ลองเปลี่ยนให้สูงขึ้นหรือต่ำลงดูสิ แล้วจะเกิดอะไรใหม่ขึ้นเยอะและมากมาย

เหมือนอย่างภาพนี้ที่ปารีสถ่ายจากดาดฟ้าของตึกสูงอีกที ทำให้เราได้เห็นอีกมุมมองหนึ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก สังเกตว่าจะมีเส้นนำสายตาด้วยถนนด้านล่างไปยังหอไอเฟล ซึ่งตั้งอยู่ค่อนไปทางขวาของภาพเช่นกัน

composition-57dfc7a759640__880

 

หรือจะเปลี่ยนมุมมองไปในที่ที่คนไม่ค่อยยืนถ่ายอย่างเช่นในน้ำแบบนี้ แน่นอนว่าต้องมีเท้าเปียกกันบ้าง แต่ก็ได้ภาพที่งดงามออกมา

composition-57dfc7d41854c__880

 

14. ความสำคัญของสี

ทฤษฎีของสีนั้นใช้ในหลายวงการมากไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ นักออกแบบแฟชั่น ตกแต่งภายใน จึงไม่แปลกที่สีของภาพนั้นจะสำคัญด้วย

ภาพในวงล้อสีนี้เราก็เคยเห็นมาบ้างในวิชาศิลปะ มันใช้ได้กับทุกงานจริงๆ

composition-57dfc8f4be9b8__880

 

ดูตัวอย่างจากภาพนี้ที่เล่นระหว่างสีฟ้าน้ำเงินและสีเหลือง เป็นสองสีที่อยู่คู่กันแล้วดูสวยงามมากๆ (การใช้สีในโทนเดียวกัน)

composition-57dfdfe961518__880

 

อีกคู่สีหนึ่งที่ถูกนำมาจับคู่กันบ่อยๆ ก็คือสีฟ้าน้ำเงินและสีแดง (การใช้สีในโทนตรงข้าม)

composition-57dfdffc612b3__880

 

15. กฎแห่งพื้นที่

เทคนิคนี้จะเชื่อมโยงกับเป้าหมายของภาพที่กำลังจะไป เช่นถ้าเราถ่ายภาพรถที่กำลังวิ่งอยู่ ก็ควรที่จะเว้นที่ข้างหน้าไว้ และตัดพื้นที่ข้างหลังออกไป เพื่อบอกเป็นนัยว่ารถกำลังเคลื่อนไปยังพื้นที่ข้างหน้า

เหมือนอย่างภาพรูปเรือลำนี้ เห็นได้ชัดว่าเรือกำลังวิ่งจากซ้ายไปขวา เพราะว่าเราเว้นที่ไว้ให้มันได้เดินไป ซึ่งสมองของเราสามารถตัดสินได้เองว่ามันจะพุ่งไปทางไหน ถ้าเราถ่ายจากมุมมองนี้

composition-57dfe036adfa5__880

 

ไม่ใช่แค่รถ แต่มันยังสามารถทำให้สายตาสามารถนำทางไปได้ด้วย อย่างเช่นภาพนี้ที่นักดันตรีอยู่ทางซ้าย แต่กำลังหันหน้าไปทางขวา ซึ่งตาเราก็ตะมองตามเขาแล้วผ่านคนที่ยืนพิงราวไปสู่งคู่รักที่กำลังเต้นรำกันอยู่

composition-57dfe05039980__880

 

16. กฎแห่งซ้ายไปขวา

เทคนิคนี้จะทำให้เรา “อ่าน” ภาพจากซ้ายไปขวาเหมือนอย่างที่เราอ่านหนังสือ ซึ่งคนบนโลกส่วนมากก็จะอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา มีส่วนน้อยอย่างอาราบิคที่อ่านจากขวาไปซ้าย

ภาพนี้ก็เช่นกัน เราจะเห็นว่าหญิงสาวที่กำลังเดินกับสุนัขจากทางซ้ายไปขวามันดูไหลลื่นและคล่องตากว่า อีกทั้งยังใช้เทคนิคกฎแห่งพื้นที่เสริมเพื่อทำให้คนดูเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกด้วย ส่วนต้นไม้ที่อยู่ด้านข้างก็เป็นเทคนิคกรอบในกรอบ

composition-57dfe06c939c7__880

 

17. ความสมดุลขององค์ประกอบ

อันแรกที่เราสอนไปก็คือกฎแห่งสาม ที่บอกเล่าถึงองค์ประกอบเพียงชิ้นเดียวในภาพให้มาอยู่ด้านข้าง แต่ถ้ามีหลายวัตถุ ก็ต้องใช้เทคนิคนี้ช่วย

อย่างเช่นภาพนี้ที่มีเสาไฟขนาดใหญ่ ถ้าเราใช้กฎแห่งสาม เสาอาจจะไม่ได้ชิดขอบซ้ายขนาดนี้ แต่ถ้ามีหอไอเฟลอยู่ข้างหลัง ก็จะสามารถปรับให้ภาพสมดุลได้อย่างน่าเหลือเชื่อ

composition-57dfe08b69f56__880

 

ยกมาอีกภาพ เมื่อเสาไฟมันถ่วงภาพไปด้านขวามากเกินไป ก็ต้องใช้โบสถ์ที่อยู่ด้านซ้ายมาช่วยถ่วงไว้ทำให้ภาพดูสมดุล อีกทั้งยังทำให้เราเห็นถึงความลึกของภาพอีกด้วย

composition-57dfe0a0c0bc2__880

 

18. สองสิ่งเทียบกัน

เทคนิคนี้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Juxtaposition ซึ่งแปลได้ว่าการเทียบเคียง นั่นก็คือเอาสองสิ่งที่ดูแตกต่างหรือเอื้อต่อกันมาวางติดกันและให้ภาพได้เล่าเรื่องราวของมันเอง

เหมือนอย่างภาพนี้ส่วนล่างเราจะเห็นแผงขายหนังสืออยู่เต็มไปหมด แต่ฉากหลังนั้นกลับบ้านสานที่สำคัญนั่นก็คือ Notre Dame Cathedral ซึ่งทั้งสองดูขัดกัน แต่พอมาอยู่ด้วยกันกลับเป็นภาพที่ลงตัว สื่อให้เห็นปารีสที่แตกต่างออกไป

composition-57dfe0abec0e6__880

 

หรืออย่างในภาพนี้เราจะเห็นรถรุ่นเก่าที่จอดอยู่พร้อมกับฉากหลังเป็นคาเฟ่ที่ดูเข้ากับยุคของรถคันนี้เป็นอย่างดี ถือเป็นความบังเอิญที่ลงตัวอย่างหนึ่ง

composition-57dfe0b7530e4__880

 

19. สามเหลี่ยมทองคำ

เทคนิคนี้ใช้คล้ายๆ กับกฎแห่งสาม แต่แทนที่จะใช้สี่เหลี่ยมผืนผ้า กลับไปใช้สามเหลียมแทน ซึ่งทำให้จุดโฟกัสจากมุมหนึ่งไปสู่มุมหนึ่ง อีกทั้งยังมีอีกสองเส้นที่มาบรรจบกันที่เส้นตรงกลาง ทำให้เกิดสามเหลี่ยมที่เท่ากัน

ดูจากภาพตัวอย่างนี้ได้ ภาพจะให้ความรู้สึกถึงเส้นที่วิ่งจากมุมบนขวาไปยังล่างซ้าย เส้นสามเหลี่ยมเล็กด้านขวาก็วิ่งใกล้ๆ กับขอบตึก และมุมของสามเหลี่ยมก็ยังไปตรงกับมุมสิ่งก่อสร้างอีกด้วย

composition-57dfe0c80f484__880

 

นอกจากนี้ยังใช้กับกรณีอื่นได้ด้วย เช่นภาพนี้ที่ใช้หัวของรูปปั้นในการกำหนดทิศของเส้นได้อย่างลงตัว เราสามารถมองให้มันเป็นสามเหลี่ยมโดยอัตโนมัติ

composition-57dfe0d71a170__880

 

20. สัดส่วนทองคำ

สัดส่วนทองคำคืออะไร มันก็คือภาพที่ตัดสัดส่วนออกมาได้เท่ากัน แล้วพอลากเส้นจากมุมสู่มุมไปเรื่อยๆ เราก็จะได้เป็นเส้นโค้งที่เหมือนก้นหอยแบบไม่มีสิ้นสุด และถ้าภาพไหนที่มีองค์ประกอบแบบนี้มันก็จะสวยงามมากๆ

สัดส่วนทองคำนี้ถูกค้นพบมานานกว่า 2,400 ปีแล้วตั้งแต่สมัยกรีก และถูกใช้มาในงานศิลปะหลากหลายชนิด และแน่นอนว่ามันซับซ้อนกว่าเทคนิคไหนๆ

ช่างภาพที่ถ่ายภาพนี้ยอมรับว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะให้มันออกมาเป็นสัดส่วนทองคำ แต่พอเอามาเทียบแล้ว มันกลับเข้ากันอย่างลงตัว ซึ่งนี่ก็บอกเหตุผลไม่ได้เช่นเดียวกัน

composition-57dfe18a8125a__880

 

ภาพนี้ก็เช่นกัน อาจจะพูดได้ว่ามันเป็นเรื่องของความรู้สึกด้วย ซึ่งการถ่ายสัดส่วนทองคำนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องไปในทิศทางเดียวกันเสมอไป แต่มันอาจจะออกมาจากช่างภาพที่ฝึกฝนมาอย่างช่ำชอง และตัดสินใจจัดมุมได้ออกมาพอดี โดยไม่ต้องเปิดสเกลอะไรมาเทียบเลย

composition-57dfe19961d51__880

 

 

เห็นได้ชัดเลยว่าภาพเหล่านี้ไม่ได้ใช้เพียงเทคนิตเดียวในการถ่าย เราสามารถจับนั่นผสมนี้ออกมาเป็นภาพที่สวยๆ ในสไตล์เราได้ อย่าลืมจำแล้วนำไปใช้พร้อมกับฝึกฝนตัวเองบ่อยๆ ด้วยล่ะ

emo-161

ที่มา boredpanda

Comments

Leave a Reply