มองโลกผ่านเลนส์ของคน “ตาบอดสี” 8 แบบ จะทำให้คุณ เข้าใจสิ่งที่คนเหล่านี้เห็นมากขึ้น

คำว่า “ตาบอดสี” คงจะเคยผ่านเข้ามาในหูของหลายๆ คน ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าคนที่มีภาวะตาบอดสี ก็เหมือนกับอยู่ในโลกที่ขาดสีสัน เพราะมองเห็นแต่ภาพขาว-ดำ

แต่ความจริงแล้ว โรคตาบอดสี ไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดนั้น เนื่องจากคนที่เป็นภาวะดังกล่าว ยังสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นสีอยู่ เพียงแต่มีความบกพร่องในการแยกเฉดสีเท่านั้น

 

color-blind

 

ทางเว็บไซต์ต่างประเทศ Iflscience ได้เผยว่า 1 ใน 12 คนจากผู้ชาย และ 1 ใน 200 คนจากผู้หญิงทั่วโลก เป็นโรคตาบอดสี แต่สำหรับคนที่สามารถมองเห็นสีได้ตามปกติ คงจินตนาการไม่ออกว่าโลกในสายตาของคนตาบอดสีเป็นอย่างไร

ในวันนี้เหมียวขี้อ้อน ได้นำภาพที่แสดงให้เห็นถึงภาวะคนเป็นตาบอดสีมาให้ชมแล้ว และคุณจะเข้าใจคนเหล่านี้มากขึ้นอย่างแน่นอน

(ด้านล่างเป็นภาพเคลื่อนไหว Gif เปรียบเทียบกัน สามารถกดดูได้ค่ะ)

 

1.Protanopia (red-blind)

color-blind1

Protanopia (red-blind) หรือตาบอดสีแดง เป็นภาวะตาบอดสีที่จะถูกพบมากที่สุด ซึ่งจะเห็นสีแดงเป็นสีเหลืองตุ่น และเห็นสีเขียวเป็นสีน้ำตาล

 

2.Protanomaly (red-weak)

color-blind2

Protanomaly เป็นความบกพร่องในการเห็นสีแบบไม่รุนแรง เกิดจากเซลล์ประสาทตารับสีแดงรับรู้ช่วงคลื่นสีผิดปกติไป ทำให้แยกแยะสีแดง-เขียวไม่ได้

 

3.Blue cone monochromacy

color-blind3

Blue cone monochromacy เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาตั้งแต่เกิด ซึ่งจะพบได้ยากมาก โดยผู้ที่มีภาวะนี้ จะมีความบกพร่องในการแยกความแตกต่างของสีอย่างรุนแรง

 

4.Tritanopia (blue-blind)

color-blind4

ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคตาบอดสี Tritanopia จะมีความสับสนระหว่างสีฟ้า กับสีเขียว และสีเหลืองกับสีม่วง ซึ่งเป็นความผิดปกติของการเห็นสีที่พบได้น้อยมาก

 

5.Deuteranomaly (Green-Weak)

color-blind5

Deuteranomaly เกิดจากเซลล์ประสาทตารับสีเขียวรับรู้สีผิดปกติไป ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการแยกแยะสีแดง และสีเขียวเพียงเล็กน้อย

 

6.Achromatopsia (Monochromacy)

color-blind6

Achromatopsia (Monochromacy) เป็นความผิดปกติที่ไม่สามารถรับรู้สีใดๆ ได้เลย ซึ่งผู้ที่เป็นภาวะนี้จะเห็นภาพเป็นสีโทนขาวดำเท่านั้น

 

7.Deuteranopia (green-blind)

color-blind7

Deuteranopia เกิดจากการขาดหายไปของเซลล์ประสาทตารับสีเขียว โดยจะมีผลกระทบต่อการเห็นสีแดงและสีเขียว สำหรับผู้ที่เป็นภาวะดังกล่าวจะแยกความแตกต่างของเฉดสีได้ 2-3 เฉดสี ในขณะที่คนสายตาปกติจะสามารถเห็นความแตกต่างของเฉดสีได้ถึง 7 เฉดสี

 

8.Tritanomaly (blue-weak)

color-blind8

Tritanomaly เป็นภาวะตาบอดสีที่จะสร้างความสับสนในการแยกแยะสีระหว่างสีฟ้า กับสีเขียว และสีเหลืองกับสีม่วง พบได้บ่อยทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง

 

emo-136

เราจะเห็นได้ว่าอาการตาบอดสีไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไร เพียงแต่กลุ่มคนที่เป็นโรคนี้จะมองเห็นสีที่ผิดเพี้ยนไปเท่านั้น ซึ่งพวกเขาก็สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติเหมือนกับคนทั่วๆ ไป

ที่มา : iflscience

Comments

Leave a Reply