ผู้กำกับเผย..ความหมายที่แฝงไว้ในหนังทั้ง 15 เรื่อง กับสิ่งที่พวกเค้าต้องการจะสื่อออกมา

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราไปเจอภาพยนตร์คุณภาพคับแก้วซักเรื่องหนึ่ง เรามักจะรู้สึกว่า มันเป็นอะไรที่..ช่างน่าติดตามเหลือเกิน อยากจะเก็บรายละเอียดเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในหนังซะให้หมด เพื่อที่จะได้เข้าใจถ่องแท้ถึงความหมายของมัน

และส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีแต่ทฤษฏีสมคบคิด ที่เหล่าแฟนๆที่ชื่นชอบหนังเหมือนกัน ออกมาร่วมกันตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความจริงในหนังเรื่องนั้นๆ

เพราะเหตุนี้แหละเราเลยอยากจะพาเพื่อนๆไปไขข้อสงสัย จากความหมายอันลึกซึ้งที่แท้จริง ที่ผู้กำกับต้องการจะสื่อมันออกมาอย่างลับๆ

 

15. Inception (ทีมทำหนัง)

ผลงานอันโด่งดังจากผู้กำกับ Christopher Nolan เรียกได้ว่าหนังแทบจะทุกเรื่องของเค้ามักจะแฝงไปด้วยแง่คิดทางสังคมเสมอ

ซึ่งเรื่องนี้สิ่งที่เค้าต้องการจะสื่อจริงๆก็ไม่ใช่อะไรอื่น นั่นก็คือเบื้องหลังทีมงานการทำหนังนั่นเอง ซึ่งงานนี้ผู้กำกับก็ออกมาชี้แจงเองเลยว่า สำหรับตัวละคร Dom Cobb คือภาพสะท้อนของตัวเค้าเอง ซึ่งในหนังพระเอกจะพยายามขโมยข้อมูลลับด้วยการสร้างความฝันขึ้นมา เปรียบได้ดั่งผู้กำกับสร้างหนัง

ส่วนสมาชิกคนอื่นๆอย่าง Arthur แท้จริงแล้วคือหน้าที่ของโปรดิวเซอร์ในกองถ่าย Ariadne เป็นเหมือนทีมเขียนบทหนัง Eames ก็เปรียบได้ดั่งนักแสดง และตัวละครที่ขาดไปไม่ได้คือ เป้าหมายของ Dom ในหนังเรื่องนี้ Fischer Jr. เขาคือภาพตัวแทนของคนดู

ซึ่งไอเดียทั้งหมดของหนังเรื่องนี้ ก็มาจากการพลิกแพลงสิ่งที่อยู่รอบตัวของผู้กำกับ และนำมาเล่าใหม่โดยแต่งแต้มจินตนาการลงไป ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมมันถึงได้กลายเป็นหนังที่เจ๋งสุดๆอีกเรื่องหนึ่ง

1

 

14. E.T (พระเจ้า)

ผลงานการกำกับของ Steven Spielberg ซึ่งเรื่องนี้เขาได้แรงบันดาลใจมาจากช่วงชีวิตในวัยเด็กหลังจากที่พ่อแม่หย่าร้างกัน และอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่เขาต้องการจะสื่อลงไปนั่นก็คือเรื่องของ ‘พระเจ้า’

เช่นเดียวกับที่คัมภีร์ไบเบิ้ลได้ระบุไว้ว่า พระเยซูได้รับการปกป้องจากชาย 3 คน ในหนังเรื่องนี้เราจะได้เห็น E.T ได้รับการปกป้องจากเด็ก 3 คนเหมือนกัน และภาพถ่าย ส่วนโปสเตอร์ของหนังที่เป็นรูปนิ้วเด็ก และนิ้วของ E.T ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพ ‘The Creation of Adam’ ของไมเคิล แองเจโล

แต่ถึงกระนั้นเจ้าตัวก็บอกว่า ไม่ได้ตั้งใจทำให้เป็นหนังศาสนาหรอกนะจ๊ะ แค่ได้แรงบันดาลใจมาประยุกต์ใส่เข้าไปในหนังเฉยๆ

2

 

13. The Lego Movie (ระบบคอมมิวนิสต์)

หลายๆคนอาจจะตีความกันได้อยู่แล้วกับหนังเรื่องนี้ เพราะตัวร้ายของเรื่องก็มีชื่อที่บ่งบอกไว้อย่างชัดเจนว่า ‘Lord Business’ และดูเหมือนว่าผู้กำกับจะสื่อออกมาได้ตรงกับคำภีร์ ‘The Communist Manifesto’ ของ คาร์ล มาร์กซ์ ซะเหลือเกิน

เพราะในหนังเราจะได้เห็นเรื่องราวของพระเอก ที่ลุกฮือขึ้นมาบอกประชาชนทุกคนว่า ทุกคนมีความเท่าเทียม และสามารถเป็นพลังแห่งมวลชนโค่นล้มระบบเอารัดเอาเปรียบได้ ถ้าหากร่วมมือกัน จนทำให้ประชาชนชาวเลโก้ ต่างลุกขึ้นมาต่อสู้กับความอยุติธรรมในหนัง

แหมม…น่าจะแต่งตัวเลโก้ให้ใส่ชุดเหมือนกัน พร้อมมีดาวแดงติดด้วยเลยนะเนี่ย ถ้าจะสื่อได้ตรงขนาดนี้ ฮ่าๆๆ

3

 

12. Maleficent (การข่มขืน)

บ่อยครั้งที่หนังที่ดูเหมือนจะโลกสวยสดใสจากดิสนีย์ มักจะแฝงแง่คิดบางอย่างไว้เสมอ และเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน

ถ้าใครที่เคยดูคงจะจำได้ว่า มีฉากนึ่งที่ ‘Maleficent’ ดันเผลอไปมีอะไรกับชายหนุ่มจากเมืองมนุษย์ที่เธอพึ่งรู้จักได้ไม่นาน ก่อนที่เขาจะทิ้งเธอไปอย่างไม่ใยดี ทำให้เธอต้องสูญเสียปีกนางฟ้าอันเป็นที่รัก (พรหมจรรย์) และทำให้เธอเข้าสู่ด้านมืดของชีวิต

ซึ่งเรื่องนี้ทาง แองเจลีน่า โจลี่ ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เองว่า แนวคิดของหนังเรื่องนี้ที่ทางทีมเขียนบท และผู้กำกับต้องการจะสื่อออกมา เกี่ยวกับปัญหาการข่มขืน

4

 

11. Captain America: Winter Soldier (การแทรกแทรงด้านข้อมูลจากรัฐบาล)

เรียกได้ว่าเป็นหนังอีกเรื่องหนึ่ง ที่พยายามจะสะท้อนถึงปัญหาของรัฐบาลเกือบจะทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกา ที่ดูเหมือนว่าต้องการจะเข้ามาแทรกซึม เพืิ่อเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชน

ในหนังเราจะได้เห็น SHIELD เป็นองค์กรขนาดใหญ่เปรียบเสมือนองค์กรสายลับของรัฐบาล กับการติดตามแทรกแซงข้อมูลของคนที่คาดว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ (ทำไมรู้สึกว่าใกล้ตัวจัง?)

ซึ่งทางสองพี่น้องผู้กำกับ Joe และ Anthony Russo ก็ได้ออกมาชี้แจงว่า แท้จริงแล้วเขาต้องการที่จะแฝงประเด็นดราม่าทางการเมืองเข้าไปในหนังเรื่องนี้ ซึ่งช่วงนั้นกำลังมีข่าวเรื่องโครงการดักข้อมูลททางโทรศัพท์ หรือการเข้ามาสอดส่องดูแลในอินเตอร์เน็ตอย่างโครงการปริซึ่ม

ซึ่งถูกนำมาเผยแพร่โดย Edward Snowden อดีตนักวิเคราะห์ข่าวกรองผู้เคยทำงานให้ส่วนกลางของรัฐบาลสหรัฐฯ

5

 

10. Sausage Party (ศาสนา)

ถึงแม้ว่ามันจะดูเหมือนเป็นการ์ตูนฮาๆ แอบติดความทะลึ่ง และความโหดร้ายนิดหน่อย เลยได้เรต R มา แต่นอกเหนือจากนี้มันยังแฝงประเด็นทางศาสนาไว้

ซึ่งถ้าหากใครที่ได้ดูตัวอย่างหนังแล้ว จะเห็นได้ว่า เหล่าของกินในห้างสรรพสินค้าต่างก็เฝ้ารอเป็นผู้ที่ถูกเลือกจากผู้บริโภค (พระเจ้า) เพื่อที่จะได้ไปสู่ ‘โลกที่เหนือกว่า’ ตามแบบที่เหล่าอาหารมีชีวิตคิดไว้

จนมีไส้กรอก ‘Frank’ ที่ได้ไปพบความจริงว่า แท้จริงแล้วการถูกเลือกไม่ใช่การเข้าสู่โลกแห่่งแบบของพวกเขา แต่เป็นการถูกนำไปใช้ประโยชน์ อย่างทารุณโหดร้ายซะมากกว่า จนทำให้เหล่าอาหารต้องลุกขึ้นมาต่อสู้

แต่ทั้งนี้ผู้กำกับเค้าก็ไม่ได้ต้องการจะหลบหลู่ความเชื่อของศาสนาใดหรอกนะจ๊ะ เพราะโดยร่วมแล้วเนื้อเรื่องก็ยังเน้นไปที่ความสนุกในแบบการ์ตูนอยู่ดี

6

 

9. Dawn Of The Dead (บริโภคนิยม)

ดูเหมือนว่าแนวคิดเรื่องบริโภคนิยม ที่ผู้กำกับ George Romero จะแฝงเข้ามาในหนังเรื่องนี้อย่างเปิดเผย เพราะเกือบทั้งเรื่องจะเป็นการถ่ายทำในห้างสรรพสินค้า และในส่วนของซอมบี้ทั้งหลายก็เปรียบเสมือนผู้บริโภค ที่ถูกมอมเมาด้วยสินค้า โฆษณา และสื่อต่างๆ

ซึ่งถ้าว่ากันตามหลักแนวคิดบริโภคนิยม ที่อธิบายถึงการนิยมบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย เกินความต้องการของชีวิต และนิสัยของซอมบี้ในหนัง ที่เหมือนคนในยุคปัจจุบัน ดูเหมือนว่ายิ่งมีมากเท่าไหร่ คนเราก็ยิ่งไม่เคยพอซักที…

7

 

8. Jurassic Wolrd (ระบบทุนนิยม)

กลายเป็นหนังเรื่องแรกที่สามารถสร้างกวาดรายได้ทะลุ $500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ภายในอาทิตย์เดียว และแน่นอนว่าเรื่องนี้แฝงไปด้วยการจิกกัดระบบทุนนิยมแบบสุดๆ

สวนไดโนเสาร์ เปรียบเสมือนสถานที่สำหรับคนมีตังค์ และแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าไปท่องเที่ยวได้แบบเอ็กซ์คลูซีฟขนาดนั้น

ในส่วนของการทดลองสร้างไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ ที่ดันกลายเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ ในหนังเราก็จะได้เห็นฉากที่เจ้าของสวนแห่งนี้ มีทีท่าต่อการมองสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นเหมือนสินค้า ที่ดำรงค์อยู่เพื่อสร้างรายได้ให้เขาเท่านั้น

ส่วน Chris Pratt เปรียบได้ดั่งคนดีที่ยังมีอยู่ในสังคม ผู้เคารพต่อความเสมอภาคของทุกชีวิต ที่เข้ามาจัดการปัญหาที่ยุ่งเหยิงครั้งนี้ได้ และแน่นอนว่าไดโนเสาร์ทุกตัว ก็เปรียบเสมือนสัตว์ที่ต้องถูกจองจำชีวิตไว้ในกรงขังของสวนสัตว์

8

 

7. Frozen (รักร่วมเพศ)

ในหนังเราจะได้เห็น เรื่องราวชีวิตของเจ้าหญิง Elsa กับสายสัมพันธ์บางอย่างของเธอและ Anna ที่ดูเหมือนจะเป็นความลับระหว่างคนสองคน

อีกทั้งในตอนสุดท้ายเราจะได้เห็นการตัดสินใจของเจ้าหญิง Elsa เลือกที่จะเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนอาจจะตีความกันไปว่าเธอเป็นชาว LGBT และมันก็ดันสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า เธอคือเจ้าหญิงคนเดียวแห่งโลกดิสนีย์ ที่ยังไม่มีเจ้าชาย

9

 

6. Willy Wonka & The Chocolate Factory (บาป 7 ประการ)

เรื่องราวของเด็กหนุ่มชาร์ลี กับการได้ไปผจญภัยในโรงงานช็อคโกแลตสุดมหัศจรรย์ ซึ่งหลยาๆคนอาจจะรู้กันอยู่แล้วว่า ตัวละครหลักทั้ง 7 ตัวในเรื่องนั้น ต่างก็สวมบทบาทเป็นบาปทั้ง 7 ประการตามคำสอนของศาสนาคริสต์เช่นกัน

เราลองมาไล่ดูกันทีละคน…Augustus เด็กที่ตกลงไปในแม่น้ำช็อคโกแลต คือตัวแทนของความตะกละ(Gluttony) Mike เด็กที่ชอบดูทีวีทั้งวันคือความเกียจคร้าน (Sloth) Veruca เด็กคนที่ร้องเพลง ‘I Want It Now’ คือความโลภ (Greed) Violet เด็กขี้อวดคือความเย่อหยิ่ง (Pride)

คุณปู่ Joe คือภาพสะท้อนของความอิจฉาริษยา (Envy) เจ้าของโรงงานช็อคโกแลต Wonka เปรียบเหมือนโทสะ (Wrath) ผ่านการสั่งสอนเด็กด้วยวิธีต่างๆ และ Charlie ตัวเอกของเรื่องคือภาพสะท้อนของราคะ (Lust) ความต้องการอย่างหาที่สุดไม่ได้ ที่มีต่อช็อคโกแลต และของหวานทั้งหลาย

10

 

5. Iron Man 2 (แนวคิดเกี่ยวกับรัฐบาล จากทฤษฏีของ Ayn Rand)

สำหรับหนังเรื่อง Iron Man นั้นต้องขอบอกเลยว่า ผู้กำกับเค้าได้แฝงแง่คิดไว้มากมายเหลือเกิน และในภาคสอง ที่เด่นชัดที่สุดคงจะหนีไม่พ้นเรื่องแนวคิดทางทุนนิยม ของ Ayn Rand ซึ่งถ้าใครเคยเล่นเกม BioShock จะเข้าใจแนวคิดนี้เป็นอย่างดี

ดังนั้นจะขออธิบายแนวคิดนี้ให้รู้จักกันคร่าวๆก่อนล่ะกัน…แนวคิดของเธอค่อนข้างที่จะเอนเอียงไปทางฝ่ายทุนนิยม เพราะเธอเชื่อว่า เราควรที่จะตัดแขน ตัดขา แยกส่วนเอกชนและรัฐออกจากกันอย่างชัดเจน เธอเปรียบรัฐดั่งปีศาจร้าย ที่คอยดูดกินภาษี และคอยควบคุมกลไกการตลาดต่างๆ

ซึ่งในไอร่อนแมนภาคนี้ เราก็จะได้เห็นความขัดแย้งระหว่าง โทนี่ สตาร์ค กับฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการจะควบคุม และยึดต้นแบบชุดเกราะของเขาไปทำวิจัยเป็นของทางการซะเอง

11

 

4. The Shining (จิกกัดการเดินทางสู่ดวงจันทร์ของสหรัฐฯ)

สิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับ Stanley Kubrick พยายามที่จะสื่อเข้ามาในหนังเรื่องนี้ นั่นก็คือการจิกกัดเรื่องที่ว่าสหรัฐฯสามารถนำยาน อพอลโล่ 11 ลงจอดบนดวงจันทร์ได้นั้นเป็นเรื่องโม้ทั้งเพ!!

ซึ่งในหนังเราจะได้เห็นสิ่งที่ผู้กำกับแอบหยอดเข้ามาเล็กๆน้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเลขห้องพักในโรงแรม 237 ซึ่งมีที่มาจากระยะทาง 237,000 ไมล์ จากโลกสู่ดวงจันทร์ หนุ่มน้อย Danny ใส่เสื้ออพอลโล่ 11 อีกทั้งยังมีฉากที่เราจะได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า Tang (เสบียงสำหรับนักบินอวกาศ) โผล่เข้ามาในที่เก็บอาหารอีกด้วย

12

 

3. The Wizard Of Oz (นโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ)

หนังคลาสสิคชื่อดังเรื่องนี้ ดูเผินๆเหมือนจะเป็นการผจญภัยในโลกเวทมนตร์ของกลุ่มเด็ก แต่เชื่อมั้ยว่าแท้จริงแล้ว เดิมทีผู้เขียนวรรณกรรมเรื่องนี้ ต้องการจะสะท้อนถึงนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ

ย้อนกลับไปซักนิด…วรรณกรรมเรื่องนี้ถูกเผยแพร่ในปี 1900 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่สหรัฐฯ ต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างหนัก จนส่งผลต่อชาวไร่ ชาวนาทั่วทั้งประเทศ

Dorothy เปรียบเป็นประชาชนทั่วไป หุ่นไล่กา คือตัวแทนของชาวไร่ชาวนาในสหรัฐฯยุคนั้น สิงโตขี้ขลาดเปรียบเป็น William Jennings Bryan นักการเมืองผู้เสนอไอเดียนโยบายประชานิยม

พวกเขาทั้งหมดล้วนเดินทางบนถนนอิฐสีเหลือง ซึ่งหมายถึง ทองคำของสหรัฐฯ เพื่อตามหาพ่อมดจอมลวง (ประธานาธิบดี) Oz ซึ่งย่อมาจาก ‘ออนซ์’ หน่วยวัดทองคำ

13

 

2. Who Framed Roger Rabbit? (การเหยียดผิว)

เป็นหนังที่มีการดำเนินเรื่องระหว่าง คน และโลกของการ์ตูน ที่สะท้อนปัญหาการเหยียดสีผิวได้อย่างดีเยี่ยม

ในหนังเราจะได้เห็น โลกของคน และโลกของการ์ตูนอยู่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เชื่อมั้ยล่ะว่า..นี่คือภาพสะท้อนชีวิตการเป็นอยู่ของคนผิวสีในอเมริกาช่วงยุค 40s อีกทั้งในเรื่องจะพาเราไปที่ Ink and Paint Club สถานที่ๆการ์ตูนโชว์การแสดงให้แก่ผู้ชม (มีแค่มนุษย์เท่านั้น)

และถือว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆอย่างเช่น New York’s Cotton Club ในอดีตสถานที่ๆคนผิวสีจะขึ้นแสดงอะไรบางอย่าง เพื่อมอบเสียงหัวเราะ และความสนุกให้แก่คนดูที่มีแต่คนผิวขาวเท่านั้น

14

 

1. Man of Steel (ชีวิตของพระเยซู)

หนังเรื่องล่าสุดของซุเปอร์ฮีโร่ขวัญใจมหาชนตลอดกาล ‘Superman’ เป็นอีกเรื่องที่ผู้กำกับพยายามจะสื่อนัยยะถึงเรื่องราวของพระเยซู

เรื่องราวของ Jor-El พ่อของซุเปอร์แมนเปรียบเสมือน ‘พันธสัญญาเดิม’ ตามแบบของชาวคริสต์ ซึ่งเราจะได้เห็นเขาเป็นเหมือนคนที่รู้ทันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และพยายามต่อสู้เพื่อให้ดวงดาวของตัวเอง ไม่ถูกทำลายล้างจนสูญสิ้นอารยธรรม

อีกทั้งในเนื่อเรื่อง ตอนที่ซูเปอร์แมนได้ตัดสินใจที่จะเสียสละตัวเอง เพื่อเข้าต่อสู้กับนายพลซ็อต เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษยชาติ เป็นช่วงที่เขาอายุได้ 33 ปี ซึ่งตรงกับเรื่องราวของพระเยซู ที่ทรงเสียสละตัวเองเพื่อล้างบาปมนุษย์ทุกคน

5555

 

พอได้รู้ว่าผู้กำกับแฝงความหมายอะไรไว้ในหนังเหล่านี้ ยิ่งรู้สึกอยากจะกลับไปย้อนดูให้หมดซะจริงๆ

emo-114

ที่มา: Therichest

Comments

Leave a Reply