ถ้าหากมีคนใกล้ตัวมาบอกเราว่า เค้ามีอาการตาบอดสี มองเห็นสีไม่เหมือนกับที่คนอื่นๆเห็น เราก็คงจะนึกไม่ออกเลยใช่มั้ยล่ะว่า ภาพที่พวกเค้าเห็นจะเป็นยังไง จะมีโทนสีแบบไหน แล้วมันจะส่งผลกระทบมากน้อยขนาดไหน
วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเรื่องนี้ไปพร้อมๆกัน ซึ่งทางเว็บไซต์ Brightside ได้รวบรวมข้อมูล ความแตกต่างในภาพที่คนตาบอดสีมองเห็น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายธรรมดาทั่วไป
โดยหลักๆแล้วกลุ่มคนตาบอดสี จะแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม ประกอบไปด้วย Deuteranomalia (ตาบอดสีเขียวและแดง) Protanopia (ตาบอดสีแดง) และ Tritanopia (ตาบอดสีเงิน) เอาเป็นว่าเราไปดูรูปภาพเพื่อให้เห็นความแตกต่างแบบชัดๆกันไปเลย
นี่คือตัวอย่างภาพที่คนสายตาปกติมองเห็น จะสามารถแบ่งแยกโทนสีได้อย่างชัดเจน
นี่คือภาพที่คนตาบอดสีประเภท Deuteranomalia มองเห็น จะสังเกตุได้ว่าภาพที่พวกเขาเห็นจะขาดความสดใสของสี โดยเฉพาะโทนสีเขียว และแดง ซึ่งทำให้ดูออกมาหม่นมากกว่าปกติ
อีกทั้งตาบอดสีประเภทนี้ พบว่ามีจำนวนผู้ชายทั่วโลกเป็นมากถึงร้อยละ 4.63% และคาดว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมากที่อาจจะยังไม่รู้ตัว
ต่อไปเป็นภาพที่คนตาบอดสีประเภท Protanopia มองเห็น ซึ่งถือว่าเป็นเคสที่หายากกว่าประเภทแรก จากจำนวนประชากรพบมีผู้ชายเป็นตาบอดสีประเภทนี้ร้อยละแค่ 1% เท่านั้น
ดูเหมือนว่าตาบอดสีประเภทนี้จะส่งผลให้ เฉดสีเขียว และแดงดูเลือนลางสุดๆ แต่ถูกแทนที่ด้วยโทนสีน้ำเงิน และเหลืองแทน
และต่อไปเป็นภาพของคนตาบอดสีประเภท Tritanopia ซึ่งถือได้ว่าเป็นเคสที่เกิดขึ้นได้ยากกว่า 2 ประเภทแรก โดยมีอัตราการเกิดเท่ากันในระหว่างหญิง และชาย
ซึ่งตาบอดสีประเภทนี้จะทำให้พวกเขาไม่สามารถมองเห็นโทนสีน้ำเงินได้ อีกทั้งพวกเค้าจะมองเห็นโลกทั้งใบออกเป็นโทนเขียว ผสมชมพู ดูมีความเป็นสีพาสเทลเบาๆ
แต่เชื่อมั้ยว่า มีกรณีที่ตาบอดทุกสีอยู่จริง แต่โอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งจากสถิติพบว่ามีเปอร์เซ็นต์เพียง 0.00003% ต่อประชากรทั้งหมดของโลก!! ซึ่งภาพที่เห็นแน่นอนว่าจะกลายเป็นสีขาวดำไปโดยปริยาย (ดูเฉาๆไงไม่รู้เนาะ)
เราลองมาเปรียบเทียบกับภาพอาหารบนจานหลากสีสันกันบ้าง
.
ตามด้วยภาพสัญญาณไฟจราจร เชื่อว่าหลายคนต้องเคยสงสัยกันบ้างแหละ ว่าเค้าจะมองเห็นทั้ง 3 สีนี้ในรูปแบบใด
.
ลองมาเทียบกับโลโก้สินค้า ที่พบเห็นได้บ่อยๆดูบ้าง
.
ภาพรุ้งกินน้ำ สามารถนำมาใช้ทดสอบการมองเห็นสีได้ดีเลยทีเดียว
.
นี่คือโทนสีที่พวกเขาเห็น ในกิจวัตรประจำวัน
.
และสุดท้าย ลองทดสอบกันด้วยภาพสีของ ฟรีดา คาห์โล ศิลปินหญิงชื่อดังจากเม็กซิโก
.
ทีนี้เราก็ได้รู้ซักที เวลาที่เพื่อนๆ หรือคนใกล้ตัวบอกว่าเห็นสีไม่เหมือนที่เราเห็น ที่แท้มันก็เป็นแบบนี้นี่เอง
ที่มา: Brightside, colorblindness
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.