เมื่อเดือนที่ผ่านมา #เหมียวหง่าว ได้นำเสนอผลการศึกษาและวิจัยของสาธารณสุขประเทศอังกฤษไปแล้วว่าจริงๆ แล้วมันช่วยให้คนเลิกบุหรี่จริงได้ (เพื่อนๆ สามารถกลับไปอ่านบทความแบบเต็มๆ ที่ ลิงค์นี้ ได้เลย )
และในวันนี้เราลองไปฟังความเห็นของนายแพทย์ชาวกรีก คุณ Konstantinos Farsalinos ที่เป็นนักวิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหัวใจ จากมหาวิทยาลัย University of Patras ได้ออกมาให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในงานประชุม COP7 ที่กำลังจัดขึ้นในประเทศอินเดียกันบ้างดีกว่า
เริ่มแรกนั้นนายแพทย์ Konstantinos บอกว่าเขาเริ่มรู้จักมันเมื่อปี 2011 หลังจากที่เพื่อนของเขาที่เป็นสิงห์อมควันส่งรูปภาพมาให้ดูว่าเขาได้เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้วนะ
ซึ่งตอนนั้นเขาก็ยังไม่รู้จักมันดี รู้แค่ว่ามันมีบุหรี่ไฟฟ้าแล้วนะ มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้ แต่ยังไม่รู้ว่ามันทำงานอย่างไร หรือจริงๆ แล้วมันคืออะไร? นั่นทำให้เขาสนใจและเริ่มที่จะทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับมัน
ซึ่งเขาก็ให้สัมภาษณ์ต่ออีกว่า การที่สินค้า ยา หรืออะไรก็ตามแต่ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคนั้นจะต้องมีการศึกษาและวิจัยมาแล้ว และต้องคอนเฟิร์มว่ามันปลอดภัยจึงจะนำมาขายสู่ตลาดได้
หลังจากนั้นก็ต้องทำการสังเกตุการณ์ในระยะยาวต่อไปว่าผลของการใช้งานนั้นมันจะเป็นไปในทางที่ดีกันแน่
และสำหรับการใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้นคุณหมอ Konstantinos ก็ได้บอกว่าหากเราสนับสนุนให้ผู้คนหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนนั้นในระยะยาวอีก 50 ปี จะสามารถช่วยชีวิตคนได้นับล้านคนเลยล่ะ
ทั้งนี้เขาก็ได้ให้เหตุผลว่าหลายๆ คนที่สูบบุหรี่นั้นมักจะสูบมานานและวิธีการที่พวกเขาเลือกในการใช้ที่จะเลิกก็มักจะเป็นการค่อยๆ ลดการสูบบุหรี่ลงมากกว่า ซึ่งวิธีนี้มักจะทำให้คนสูบบุหรี่ยืดระยะเวลาการสูบออกไปอีก
ยกตัวอย่างง่ายๆ การให้เด็กที่ติดของเล่นมากๆ ลองไปใช้อุปกรณ์อย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันเพื่อให้เลิกเล่นของเล่นซะ มันก็เป็นหลักการเดียวกันกับการเลิกบุหรี่จริงโดยเสนอให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนนั่นเอง
ซึ่งทุกวันนี้แต่ละประเทศที่ทำการอนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างถูกกฎหมายก็ยังไม่มีผลกระทบต่อจำนวนประชากรแต่อย่างใด เขาก็ไม่เข้าใจว่าเหตุใดในบางประเทศถึงต่อต้านที่จะทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย
และในช่วงสุดท้ายทางพิธีกรก็ได้ตั้งคำถามกับคุณหมอ Konstantinos ว่ามีคำแนะนำใดๆ ที่จะให้กับเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาร่วมประชุมอย่างไรบ้าง?
ทางคุณหมอก็ตอบกลับไปว่า “จริงๆ แล้วในการจัดงานประชุมในครั้งนี้นั้นเขาหวังไว้ว่าตัวแทนในแต่ละประเทศนั้นน่าจะเป็นนักวิชาการ นายแพทย์ ที่มีความรู้เกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์ มาเข้าร่วมประชุมถกเถียงกัน แต่ที่ประชุมกลับให้นักการเมืองที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถในเรื่องของวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นผู้แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
และนั่นเองก็เป็นเหตุผลว่าทำไมผมและผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ถึงมาอยู่ที่นี่ และเอาข้อมูลจากที่ได้จากการศึกษามาบอกให้ทุกๆ คนรู้ว่าในความเป็นจริงแล้วมันเป็นอย่างไร มันมีผลอย่างไรเมื่อนำมาใช้จริงๆ บ้าง ซึ่งมันก็ไม่มีเหตุผลใดๆ เลยที่จะถูกห้ามไม่ให้ใช้”
ไปชมคลิปการให้สัมภาษณ์แบบเต็มๆ ที่ข้างล่างนี้ได้เลย…
สำหรับหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ เพจชื่อดัง Drama-Addict ได้นำเสนอว่า ในตอนนี้เองก็ได้มีการจัดการประชุม COP7 ขึ้นที่ประเทศอินเดีย โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ซึ่งในการประชุมนั้นก็จะมีการหยิบยกวาระสำคัญต่างๆ มาถกกันในระดับนานาชาติ
และหนึ่งในเรื่องนั้นก็คือเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าว่าสามารถนำมาใช้ในการลดหรือเลิกสูบบุหรี่ได้หรือไม่? ซึ่งแนวโน้มในที่ประชุมต่างก็ยอมรับว่ามันสามารถใช้ได้จริงและปลอดภัย โดยอิงจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ก็ยังมีการเปิดประเด็นเกี่ยวกับบางประเทศที่มีการสร้างภาพพจน์ให้กับบุหรี่ไฟฟ้าจนน่ากลัวเกินจริง
และมีประเด็นเกี่ยวกับประเทศที่กำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายอย่างเช่น ไทย อินเดีย ไนจีเรีย และเคนย่า ที่ได้มีการเสนอประเด็นเกี่ยวกับประเด็นในเรื่องกฎหมายนี้ในที่ประชุม แต่ก็ถูกตัวแทนจากฝั่ง EU โต้ว่าเป็นการออกกฎหมายที่ไม่มีพื้นฐานบนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
ลองไปอ่านโพสต์เต็มๆ ที่ข้างล่างนี้
ก็ไม่แน่ว่าหากการประชุมจบลงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่างก็เป็นได้ แล้วเพื่อนๆ ชาวเหมียวของเรามีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้บ้าง? ก็ลองคอมเม้นท์กันเข้ามาได้เลยนะ
ที่มา : Rebel Media, Drama-Addict
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.