ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมีอยู่ของหน่วยงานที่ชื่อ กยศ. (กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา) ทำให้เด็กไทยเป็นแสนเป็นล้านคนสามารถมีทุนการศึกษาเพื่อเล่าเรียนต่อและต่อยอดโอกาสให้กับตัวเอง
โดยส่วนตัว#เหมียวฟิ้นเองในช่วงมัธยมก็ได้กู้เพื่อมาเรียนเหมือนกัน แต่คนบางคนเห็นว่ามีดอกเบี้ยที่ต่ำก็เลยเอาเงินไปผ่อนมือถือหรือซื้อของใช้ฟุ่มเฟือยเสียมากกว่า
และเมื่อจบการศึกษาไปแล้วกลับไม่ยอมใช้หนี้ กยศ. จนตอนนี้มีรายชื่อผู้ค้างชำระหนี้มากถึง 1.9 ล้านราย
ด้วยเหตุนี้เองทางกยศ.จึงได้เตรียมร่างกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อทำให้การกู้ยืมเงินเป็นไปได้ยากขึ้นและสร้างกฎเกณฑ์เพื่อให้คนหันกลับมาชำระหนี้หลังจากที่จบการศึกษาไปแล้ว โดยในร่างกฎหมายฉบับเดิมระบุว่าผู้มีสิทธิ์กู้คือนักเรียนและนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
แต่ในร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้จะเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีก ว่านอกจากจะขาดทุนทรัพย์แล้วจะต้องเป็นนักเรียนนักศึกษาที่เรียนในสาขาที่มีความจำเป็นพ่อประเทศหรือสาขาที่ประเทศกำลังขาดแคลน (ถ้าเรียนตามใจตัวเองก็จะไม่สามารถกู้ได้) และต้องเรียนดีด้วย
ต่อไปนี้จะเป็นการเปรียบเทียบเงื่อนไขการกู้ยืมเงินแบบเก่าและแบบใหม่ดูว่ามีความแตกต่างกันยังไงบ้าง!?
1. เรื่องผลการศึกษา
แบบเก่า: เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00
แบบใหม่: เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.00
จุดนี้จะเห็นได้ว่าเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีผลการเรียนแย่กว่าเดิมสามารถกู้ได้ เหมือนกับการเปิดโอกาส แต่การที่จะมีคนได้เกรด 1.00 หรือ 1.25 แล้วได้เรียนต่อไป
(จุดนี้ต้องตั้งคำถามว่ายังมีสถาบันที่เปิดโอกาสให้เรียนต่อไปอีกหรือไม่ เพราะบางสถาบันเกรดต่ำกว่า 1.75 หรือ 2.00 ก็จะถูกบังคับออกแล้ว)
2. ดอกเบี้ย
แบบเก่า: ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
แบบใหม่: ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
จากเดิมที่เงินกู้ กยศ. เปรียบเสมือนแหล่งทุนราคาประหยัด พร้อมดอกเบี้ยในเกณฑ์ที่ต่ำจนไม่มีสถาบันการเงินไหนให้กู้แน่ๆ (ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากบางแห่งด้วยซ้ำ) อัตราดอกเบี้ยใหม่นี้ถูกปรับให้มาอยู่ในเกณฑ์ที่สูงพอๆ กับการกู้ยืมทั่วไปในปัจจุบัน
3. การเรียกเก็บเงิน
แบบเก่า: ชำระเงินผ่านธยาคาร
แบบใหม่: นายจ้างสามารถหักเงินเดือนได้
ปัญหาเดิมของทาง กยศ. คือไม่สามารถเรียกเก็บเงินคืนจากผู้กู้ยืมได้ มาตรการเร่งรัดใหม่ที่จะออกมาควบคู่กับระเบียบให้นายจ้างสามารถหักเงินเดือนได้ เพื่อคาดหวังว่าจะสามารถเก็บเงินคืนได้มากกว่าเดิม ที่ต้องรอผู้กู้รายเก่าไปชำระผ่านธนาคารเท่านั้น
4. เรื่องข้อมูลส่วนตัว
แบบเก่า: หน่วยงานรัฐไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณได้
แบบใหม่: หน่วยงานรัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณได้
ในร่างกฎหมายฉบับนี้ ทางกยศ.จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ว่าคุณทำงานอะไร อยู่ที่ไหน ได้เงินเดือนเท่าไหร่
5. ผู้ค้ำประกัน
แบบเก่า: หากไม่มีผู้ค้ำประกันก็ยังพอจะสามารถกู้เงินได้
แบบใหม่: หากไม่มีผู้ค้ำประกันจะไม่สามารถกู้เงินได้
เวลาจะกู้กยศ. เราจะเป็นจะต้องมีผู้ค้ำประกัน เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะคืนเงินแก่ กยศ. หลังจากจบการศึกษา แต่ในบางรายก็อาจได้รับข้อยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ แต่ในฉบับใหม่พวกเขาจะปรับให้ทุกคนต้องมีผู้ค้ำประกัน
6. การนำเงินที่ใช้หนี้ไปหาผลประโยชน์
แบบเก่า: กยศ.ไม่สามารถนำเงินที่คุณชำระหนี้ไปหาผลประโยชน์ได้
แบบใหม่: กยศ.สามารถนำเงินที่คุณชำระหนี้ไปหาผลประโยชน์ได้
การใช้หนี้แบบเดิม เมื่อคุณใช้หนี้ไปแล้วเงินก็จะหมุนเวียนกลับไปเพื่อนำไปให้แก่เด็กรุ่นใหม่ๆ แต่ในกฎหมายนี้กยศ.จะสามารถนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นได้ เช่นการลงทุนในกองทุนต่างๆ (ไปต่อยังข้อ 7)
7. การเปิดเผยรายงานการใช้เงิน
แบบเก่า: หน่วยงานต้องเปิดเผยว่านำเงินไปใช้จ่ายอะไรบ้าง
แบบใหม่: หน่วยงานไม่จำเป็นต้องเปิดเผยว่านำเงินไปใช้จ่ายอะไรบ้าง
กยศ.สามารถนำเงินไปใช้จ่ายหรือดำเนินการใดๆ ก็ได้ และไม่มีความจำเป็นที่ต้องต้องเปิดเผยให้ประชาชนได้ทราบ
8. ไม่จำเป็นต้องจน
แบบเก่า: เด็กนักเรียนที่จะกู้ต้องเป็นคนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
แบบใหม่: จะขาดแคลนหรือไม่ก็ได้
กยศ. ได้มีการขยายขอบเขตของการกู้ยืม จากที่เคยอนุมัติให้แก่ผู้ที่ขาดแคลนเท่านั้น ในร่างกฎหมายใหม่จะสามารถอนุมัติให้แก่คนที่ต้องการทุนและเรียนในสาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศได้ด้วย ซึ่งยังไม่มีการระบุว่า สาขาซึ่งเป็นที่ต้องการนั้นมีสาขาอะไรบ้าง
ที่ต้องมีร่างกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมาก็เกิดจากที่รุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้วไม่ยอมใช้หนี้ ทำให้น้องๆ รุ่นใหม่ที่ขาดแคลนทุนทรัย์จริงๆ ไม่สามารถกู้เงินได้โดยง่าย
อันที่จริงแล้วกยศ.จะเริ่มเก็บดอกเบี้ยกับผู้กู้ยืมหลังจากที่จบการศึกษาไปแล้ว 1 ปี นั่นหมายความว่าทันทีที่คุณเรียนจบและหางานทำได้ คุณก็สามารถใช้หนี้ได้โดยที่แทบจะไม่มีดอกเบี้ยอะไรเลย
ยังไงแล้วเราคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าร่างกฎหมาย
ที่กำลังจะกลายเป็นกฎหมายจริงๆ จะส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนยังไงบ้าง
เรียบเรียงโดย เหมียวฟิ้น
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.