ในแต่ละปีนั้นเรามักจะได้เห็นภาพสวยๆ น่าตื่นตาตื่นใจจาก National Geographic อยู่เสมอ ทำให้เราเห็นถึงความงามของโลกในอีกมุมหนึ่งที่หาชมได้ยาก
และนี่คือภาพส่วนหนึ่งที่ชนะมาจากการประกวดกว่า 100 รายการ ของ National Geographic ประจำปี 2016 ซึ่งเป็นผลงานของช่างภาพทางด้าน ‘ธรรมชาติ’
1. รางวัลชนะเลิศ สาขา Action + Grand Prize :การอพยพของฝูงปลาซาร์ดีน
ในระหว่างการอพยพของปลาซาร์ดีนตามแนวชายฝั่งป่าของแอฟริกาใต้ จะมีปลาซาร์ดีนนับล้านตัวที่ตกเป็นเหยื่อของสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ปลาโลมา นกทะเล เพนกวิน วงศ์ปลากระโทง(sailfishe) และสิงโตทะเล
โดยการล่าจะเริ่มจากปลาโลมาก่อน พวกมันจะมีพัฒนาการล่าที่พิเศษคือ จะต้อนให้ฝูงปลาซาร์ดีนขึ้นไปยังผิวน้ำ เพื่อง่ายต่อการล่านั่นเอง
แต่ในปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าจะมีการล่าปลามากขึ้น บวกกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปลาซาร์กระจัดจายและหาได้ยากมากขึ้น
สำหรับการถ่ายภาพนี้ ช่างภาพได้ใช้เวลากว่า 2 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ภาพฝูงปลาซาร์ดีนมากที่สุด
เจ้าของภาพ Greg Lecoeur
2. รางวัลชนะเลิศ สาขาภาพสัตว์ : ส่วนลึกในป่าใหญ่
ภาพนี้ถ่ายที่ Amboli ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม ปี 2016 ในขณะที่ช่างภาพได้เข้าไปเดินเล่นในป่าฝนของเช้าวันหนึ่ง ซึ่งจะมีฝนตกปรอยๆ เป็นเวลากว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน
ที่นี่มีหมอกหนา มีลมหนาวพักมาตลอดวัน ที่สำคัญมันสงบมาก และด้วยสภาพอากาศเช่นนี้ บางทีก็เดาไม่ออกว่า เป็นช่วงเช้าหรือช่วงค่ำกันแน่
เจ้าของภาพ Varun Aditya
3. รางวัลชนะเลิศ สาขา ประเด็นสิ่งแวดล้อม : ชีวิตและความตาย
หมีขั้วโลกส่วนหนึ่งถูกค้นพบอยู่ทางตอนเหนือของเกาะ Svalbard ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งซากศพหมีขั้วโลกตัวนี้ไม่ทราบสาเหตุว่า ตายเพราะภาวะอดอาหารหรือเพราะการต่อสู้
แต่ปัจจุบันนี้ สาเหตุการตายของหมีขั้วโลกส่วนใหญ่ เป็นเพราะภาวะโลกร้อน และสถานการณ์น้ำแข็งละลายที่มีผลต่อชีวิตของมีขั้วโลก
เจ้าของภาพ Vadim Balakin
4. รางวัลชนะเลิศ สาขา ภูมิทัศน์ : การต่อสู้ของชีวิต
กว่าจะได้ภาพนี้ ช่างต้องกลับมาที่นี่บ่อยๆ และต้องมาในช่วงที่พระอาทิตย์ตกดินแล้วเท่านั้น เพื่อให้ได้แสงที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และต้องใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง โดยต้องกดชัตเตอร์หลายครั้งมาก ที่สำคัญคือปรับโหมดการถ่ายภาพที่ไม่ซ้ำกันจนได้ภาพนี้มา
เจ้าของภาพ Jacob Kaptein
5. ชนะเลิศอันดับสอง สาขา ภูมิทัศน์ : ลานสเก็ตป่า
ภาพนี้ถ่ายในเย็นวันหนึ่ง ซึ่งเป็นวันแรกที่หิมะตกในปีนี้ เดิมนั้นเป็นแอ่งน้ำ แต่เมื่อมีหิมะปกคลุมจึงเผยให้เห็นความงามที่ละเอียดอ่อน
ในสภาวะความกดอากาศต่ำ ลมตะวันออกเฉียงใต้จะทำให้เมฆเกิดการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว ช่างภาพจึงเลือกช่วงเวลาที่เมฆกำลังเคลื่อนตัวนี้บันทึกภาพนี้เอาไว้
เจ้าของภาพ Alessandro Gruzza
6. ชนะเลิศอันดับสาม สาขา ภูมิทัศน์ : พายุแปซิฟิก
พายุคิวมูโลนิมบัส อยู่ทางใต้ของชายฝั่งปานามาซิตี้ ซึ่งห่างจากมหาสมุทรแปซิฟิกเพียงไม่กี่ไมล์ โดยอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะมีการผกผันอยู่ตลอดเวลา และจะมีกระแสลมที่แรงมากจนทำให้ก้อนเมฆกระจายผ่านชั้นบรรยากาศได้
ส่วนภาพนี้ถ่ายในคืนเดือนมืดเมื่อ 16 มิถุนายน 2016 ขณะที่เกิดพายุกระแสแรงพัดพอดี
เจ้าของภาพ Santiago Borja
7. รางวัลชมเชย สาขา ภูมิทัศน์ : ความบังเอิญของดาวตกสีเขียว
ช่างภาพได้เดินทางไปยังเทือกเขาในภาคใต้ของอินเดียที่เรียกว่า Western Ghats โดยใช้ Nikon D600 ใช้เลนส์ 24-70MM และตั้งกล้องไว้
แต่ช่างภาพไม่ได้คิดว่าได้เห็นฝนดาวตก แต่แล้วอยู่ก็เกิดแสงสีเขียวเพียง 15 วินาที และเขาก็เก็บภาพนี้ได้ทันพอดี เขาบอกมันคุ้มจริงๆ ที่เค้าตั้งกล้องต่อเนื่องจนเช้า
จากเหตุการณ์นี้ ใครๆ ก็บอกว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากมาก คนที่ถ่ายไว้ได้ต้องเป็นคนที่โชคดีมากๆ แต่หลังจากผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบพบว่า มันเป็นอุกกาบาตสีเขียว
เจ้าของภาพ Prasenjeet Yadav
8. ชนะเลิศอันดับสอง สาขา ประเด็นสิ่งแวดล้อม : Outside Facebook HQ
80% ของขตพื้นที่ชุ่มน้ำใน San Francisco Bay กว่า 32,000 ไร่ ถูกแปลงสภาพเป็นนาเกลือ ทำให้เกิดเป็นแอ่งขนาดใหญ่ น้ำจึงมารวมกันในที่เดียว แล้วเมื่อเกิดการระเหยก็จะเห็นก้อนเหลือขนาดใหญ่
โทนสีของแอ่งที่เห็นนี้ เป็นการบ่งชี้ถึงความเค็มของเกลือ โดยจุลินทรีย์ภายในบ่อจะเปลี่ยนสีความเค็มตามสภาพแวดล้อม
ที่สำคัญคือ บ่อเกลือที่มีความเค็มสูงนี้ ตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงานใหญ่ของ Facebook ที่มีพนักงานว่า 4,000 คนทำงานทุกวัน
เจ้าของภาพ Chris McCann
9. ชนะเลิศอันดับสาม สาขา ประเด็นสิ่งแวดล้อม : พิษโต๊ะเครื่องแป้ง
นี่เป็นภาพของอนุภาคที่อยู่ในอายไลน์เนอร์ ซึ่งพบเป็นสารเดียวกันกับที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร และสามารถพบได้ทั่วไปในพลาสติกเกือบทุกชนิด
ดังนั้น ถ้าเราล้างเครื่องสำอางไม่สะอาด หรือแม้แต่คนที่ชอบเลียปากเวลาทาลิป จงรู้ไว้ว่า คุณกำลังสะสมสารเหล่านี้ในร่างกาย
ภาพนี้ถ่ายที่มหาวิทยาลัย Falmouth University ในคอร์นวอลล์ สหราชอาณาจักร เดือนพฤษภาคม 2016 โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ถ่ายภาพสะท้อนแสงด้วยกระบวนการแบบพาโนรามา
เจ้าของภาพ Eleanor Ryder
10. รางวัลชมเชยอันดับ 1 สาขา ประเด็นสิ่งแวดล้อม : ไฟป่าที่ชายหาด
หญิงสาวในชุดบิกินี่กำลังยืนมองเครื่องบินพ่นน้ำ ที่กำลังดับเพลิงอยู่ที่ชายหาด Son Serra ของเกาะ Mallorca เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2016
เจ้าของภาพ Sergej Chursyn
11. รางวัลชมเชยอันดับ 2 สาขา ประเด็นสิ่งแวดล้อม : ดอกไม้อเมริกัน #1
ที่แห่งนี้เคยเป็นฐานทัพของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งถูกทิ้งร้างในปี 1947 และทุกอย่างที่ไม่ได้ใช้แล้วก็ถูกทิ้งไว้ที่นี่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงรถ เศษระเบิด และถังน้ำมันกว่า 10,000 ใบ
ช่างภาพเจ้าของภาพนี้ได้เดินทางไปที่นี่ในปี 2014 แต่ตอนนั้นเป็นช่วงฤดูหิมะ เขาจึงได้กลับไปอีกครั้งในปี 2015 ในช่วงที่ไม่มีอะไรมาบดบัง เพราะอยากได้ภาพที่เห็นสภาพแวดล้อมชัดที่สุด
เจ้าของภาพ Ken Bower
12. รางวัลชมเชยอันดับ 3 สาขา ประเด็นสิ่งแวดล้อม : ไม่มีหิมะ ไม่มีน้ำแข็ง?
หมีขั้วโลกกำลังอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเกาะอลาสก้า ซึ่งปกติแล้วช่วงนี้ควรจะมีหิมะ แต่มันกลับไม่มี
ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อประชากรหมีขั้วโลกโดยตรง เพราะปกติแล้วในฤดูหนาวนี้ พวกมันจะล่าแมวน้ำเป็นอาหาร แต่เมื่อเป็นแบบนี้ เท่ากับว่า พวกมันไม่มีอาหาร ทำให้หมีขั้วโลกอดตายบ้าง อพยพออกไปบ้าง
เจ้าของภาพ Patty Waymire
13. ชนะเลิศอันดับ 2 สาขา แอคชั่น : นกกระยางกระพือปีกบิน
จากข้อมูลของนักอนุรักษ์นกกระยางพบว่า นกกระยางได้หายไปจากฮังการีจำนวนมาก โดยในปี 1921 มีนกกระยางคู่ผสมพันธุ์เหลือเพียง 31 คู่เท่านั้น
แต่ไม่กี่ปีต่อมา ก็พบว่านกกระยางได้กลับมาเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ซึ่งมีมากกว่า 3,000 คู่ ในฮังการีประเทศเดียว แต่แม้จะเพิ่มขึ้น พวกมันก็ถูกจัดอยู่ในสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อยู่ดี ดังนั้นจึงต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ
ช่วงเวลาที่นกกระยางหาอาหารคือช่วงเช้า ดังนั้นพวกมันจึงมักจะแย่งอาหารกัน เพราะพวกมันอาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่มีอาหารไม่เพียงพอ
เจ้าของภาพ Zsolt Kudich
14. รางวัลชมเชย สาขา แอคชั่น : งานเลี้ยงแมงกะพรุน
ในขณะที่ช่างภาพดำน้ำอยู่ในทะเล Byron Bay ประเทสออสเตรเลีย เขาก็ได้เจอเต่าสองตัวกำลังหากินจากส่วนต่างๆ ของแมงกะพรุน
แม้ว่าช่างภาพจะเข้าไปใกล้แต่เต่าสองตัวนี้ก็ยังคงกินต่อไปโดยไม่สนใจอะไรเลย จริงๆ แมงกะพรุนยักษ์นี้เหลืออยู่น้อยในปัจจุบัน และพวกมันมักถูกสัตว์อื่นรบกวนจนต้องอพยพออกไป
เจ้าของภาพ Scott Portelli
15. ชนะเลิศอันดับ 2 สาขา แอคชั่น : กระบวนการ
พายุทอร์นาโด EF2 เกิดขึ้นที่โคโลราโด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2016 และทันทีที่พายุหายไป พวกเขารีบเข้าไปตรวจสอบบ้านแถวนั้น เพื่อเช็คความปลอดภัยของชาวบ้าน
แต่โชคดีที่ทุกคนไม่เป็นอะไร ้เพราะพวกเขาไปหลบอยู่ในห้องใต้ดิน แต่ในขณะเดียวกันก็ดูเหมือนจะมีพายุลูกใหม่กำลังมา ทีมช่างภาพจึงอำลาและรีบออกจากตรงนั้นทันที
เจ้าของภาพ Tori Shea-Ostberg
16. ชนะเลิศอันดับ 3 สาขา ภาพสัตว์ : มิตรภาพไม่เลือกสี
นี่คือตัวที่เรียกว่า Empusa pennata พวกมันมีสีที่ไม่เหมือนกันแต่หากินในที่เดียวกันโดยไม่ยื้อแย่งกัน ซึ่งพื้นที่นี้อยู่ใกลักับหมู่บ้านที่เรียกว่า Las Rozas ในมาดริด ประเทศสเปน
โดยปกติแล้ว Empusa pennata จะหาได้ยาก แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ช่างภาพคนนี้ได้เห็นมาแล้วถึง 4 ตัว
เขาจึงได้ติดตั้งชุดแมโคร เพื่อจับภาพเจ้าสองตัวนี้ และต้องถ่ายหลายภาพกว่าจะได้ภาพที่สมบูรณ์แบบเช่นนี้
เจ้าของภาพ Jose Pesquero Gomez
17. ชนะเลิศอันดับ 3 สาขา ภาพสัตว์ : สตูดิโอพัฟฟิน
ภาพนี้ถ่ายในช่วงฤดูร้อนปี 2015 ที่เกาะ Skomer ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและฝูงนกพัฟฟิน และถือว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร
ในภาพพัฟฟินตัวนี้กำลังอยู่อย่างสงบในขณะที่ฝนตกอยู่ และเพราะมันรู้ว่าตรงนี้เป็นถิ่นของมัน ดังนั้นเมื่อช่างภาพเข้าไปใกล้ๆ มันจึงไม่มีอาการเกรงกลัวเลยสักนิด
ทั้งแสงและฝนที่ตกลงมาในวันนี้ ช่วยทำให้ช่างภาพคนนี้ได้ภาพตามที่ต้องการ และเขาก็ไม่ได้ตั้งขากล้องด้วย แต่เขาถือเอง ซึ่งมันก็เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับช่างภาพ
เจ้าของภาพ Mario Suarez Porras
18. รางวัลชมเชย สาขา ภาพสัตว์ : อีกาไล่นกฮูกอ้วน
ภาพนี้ถ่ายในช่วงบ่ายของวันหนึ่งเมื่อต้นเดือนกันยายน ที่ Pasir Ris Park ในภาคตะวันออกของประเทศสิงคโปร์
ช่างภาพได้เข้าป่า พร้อมอุปกรณ์ถ่ายภาพมากมายเพื่อถ่ายรูปสัตว์ที่ต้องการ ในขณะเดียวกันเขาก็เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วย
และโชคดีที่อยู่ดีๆ เค้าก็เห็นอีกาตัวหนึ่งกำลังไล่นกฮูก ซึ่งทั้งสองถือเป็นสัตว์ที่มีนิสัยก้าวร้าวเหมือนกัน แม้จะเหตุการณ์จะเกิดขึ้นแค่ 2 วินาที แต่ช่างภาพก็ถ่ายไว้ได้ เพราะเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว
เจ้าของภาพ Lawrence Chia Boon Oo
19. ชนะเลิศอันดับ 2 สาขา ภาพสัตว์ : ความภูมิใจของแม่
แม่ปลาพีค็อกแบสกำลังปกป้องลูกๆ ในไมอามี่ รัฐฟลอริด้า ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืด มันคอยระวังอันตรายให้ลูกๆ เพราะอาจมีสัตว์นักล่าเข้ามาเมื่อไรก็ได้ และลูกของมันก็ไม่โตพอที่จะดูแลตัวเองได้
ปลาพีค็อกแบสอยู่ในสกุล Cichla เป็นปลาหมอที่มีความใหญ่โตที่สุดในอเมริกาใต้ เนื่องจากแม่น้ำอเมซอนมีหลากหลายสาขาแบ่งย่อยออกไปทำให้ปลาในสกุลนี้มีความหลากหลายตามไปด้วย
ด้วยปากที่มีขนาดใหญ่ สายตาที่ดีเยี่ยม ลำตัวที่แข็งแกร่ง พละกำลังอันมหาศาล ทำให้พวกมันอยู่ในห่วงโซ่อาหารลำดับต้นๆ ของแม่น้ำนี้เลยก็ว่าได้ แต่ตอนที่ยังเล็ก มันก็ตกเป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่ได้ง่ายๆ เหมือนกัน
เจ้าของภาพ Michael O’Neill
ถ้าไม่ใช่ช่างภาพเหล่านี้ เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นความสวยงามแบบนี้แน่
ที่มา designyoutrust
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.